ย้ายบล็อกไปที่ bact.cc แล้วนะครับ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
หยุด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ฟรี 2GB จาก Dropbox (sync กับ Windows, Linux, Mac, iPhone, Android ฯลฯ ได้)

2007-07-29

magic number 22

เราชอบเลข 22

หลายสิ่งที่เราชอบรอบตัวเกี่ยวข้องกับเลขนี้

22 me.

technorati tags: ,

2007-07-28

Prachatai Night = Pecha Kucha Night Bangkok Special !

Blogazine ประชาไท จับมือ Pecha Kucha Night Bangkok
ดัน ประชาไทไนท์ เป็น เพะชะคุชะไนท์ “รอบพิเศษ”
ลบภาพ เพะชะคุชะ ต้อง “ฮิป”

ทีมงานเพะชะคุชะ บ่น “เซ็ง”
สู้ปั้นงาน หวังเป็นพื้นที่อิสระเสรี สำหรับทุกคนปล่อยความคิดไม่ติดกรอบ
จัดไปสามครั้ง ภาพงานออกมากลายเป็น ต้อง “เก๋ เท่ ฮิป”
จน “คนตัวเล็ก ๆ” ขยาด ไม่กล้าขึ้นเวที เพราะมีแต่คนดัง ๆ
ทีมงานเซ็งจัด แต่โชคชะตาฟ้าฝนเป็นใจ ให้พบ ประชาไทไนท์
ร้องเฮ หนุนเต็มที่ หวังให้เป็นพื้นที่ของคนตัวเล็ก ๆ จริง ๆ

ประชาไทไนท์ ตอนแจ็คผู้ฆ่ายักษ์
พฤหัส 2 สิงหา ห้าโมงครึ่ง
@ โรงละครมะขามป้อม สี่แยกสะพานควาย (BTS สะพานควาย)

(มีความรู้สึกว่าตัวเองกำลังเขียนนสพ.แทบลอยด์ พวกข่าวบันเทิง :P)

technorati tags: , ,

Thongchai Winichakul Reader

รวมงานเขียนของ ธงชัย วินิจจะกูล
โดย BioLawCom.de

technorati tags: , ,

2007-07-24

National Security Act in Southeast Asia

“ถ้าคุณไม่กล้าพูดต่อต้าน พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ คุณกำลังให้อำนาจทุกอย่างกับรัฐบาล คุณกำลังให้อำนาจรัฐบาลในการมาเคาะประตูบ้านคุณและนำตัวคุณไป คุณกำลังยอมสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไป และ...คุณกำลังยอมสูญเสียสิทธิของคุณไป”

— ไมเคิล แชง จากสิงคโปร์ ประเทศที่มี พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ บังคับใช้

“ผมไม่สามารถจิตนาการได้ในเวลานั้นว่า อำนาจในการคุมขังนี้...จะถูกใช้ต่อกลุ่มฝ่ายค้านทางการเมือง แรงงานที่เรียกร้องสวัสดิการ และประชาชนทั่วไปที่ดำเนินกิจกรรมเรียกร้องสิทธิอย่างสันติ”

— เรจีโนล ฮุจ ฮิคลิง ทนายอังกฤษที่เป็นผู้ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน เขียนใน ค.ศ. 1989

“กฎหมายความมั่นคงในมาเลเซียได้ถูกคงไว้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องเพราะมันเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้อย่างง่ายดายโดยรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นเครืองมือในการสร้างความกลัวโดยรัฐ และใช้อย่างต่อเนื่องกับนักกิจกรรมที่ต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของประชาชนมาเลเซีย”

— ดร. คัว เคีย ซูง นักสังคมศาสตร์และคณะกรรมการบริหารขององค์กรเสียงของประชาชนมาเลเซีย (SUARAM)

ประชาไท, การเคาะประตูที่ตัดสินอนาคต : พ.ร.บ. ความมั่นคงฯกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

technorati tags: , ,

calling

“อาทิตย์”

and one another...

2007-07-23

Jacks the Giant Killer - Prachatai Night

ประชาไทไนท์ ตอน แจ็คผู้ฆ่ายักษ์(เขียวตาเดียว)
พฤหัส 2 สิงหา 17:30
@ โรงละครมะขามป้อม BTS สะพานควาย

ขอเชิญเหล่า “แจ็ค” ตัวเล็ก ๆ ร่วมปันไอเดียมัน ๆ ในสไตล์ 20x20
จะทำยังไงกับ “เจ้ายักษ์” ดี
จะอยู่ร่วมกัน จะสนุกกับมัน จะหลบหลีกมัน จะจัดการมันเสีย หรือจะอะไรยังไงดี ?
ในปาร์ตี้สบาย ๆ สไตล์ชาวบ้าน ๆ แสนเอกขเนก

คงมีแต่ “ชาวบ้าน” อย่างแจ็คเท่านั้นที่จะช่วยเหล่าชาวบ้านด้วยกันเองได้
... ก็ “ยักษ์” อื่น ๆ ที่ไหนจะมาสนใจ ?

[ ลิงก์ ประชาไท ]

technorati tags: , ,

Thai in Firefox 3

ร่วมพัฒนาส่วนตัดคำไทยด้วย Native API ใน Firefox 3
(ATSUI สำหรับ Mac OS X และ Uniscribe สำหรับ Windows,
ส่วน Linux นั้นใช้ Pango ซึ่งพี่เทพซัดนำไปแล้ว)

ใครสนใจก็ไปดูกันได้ครับ คันไม้คันมือ ก็ลองแกะ ๆ แก้ ๆ ดูครับ
ในนั้นมีแนะแนวไว้แล้วนิดหน่อย ไปเขียนเพิ่มเติมก็ได้ เป็นวิกิ

ดูเพิ่มเติมที่ codenone

[ ลิงก์ Firefox Thai | ผ่าน openil ]

technorati tags: , , ,

Freedom (as defined by somebody else...)

Freedom as defined by someone else

ข่าวดี รัฐธรรมนูญปี 50 ให้ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ เต็มที่

แล้วข่าวร้ายล่ะ ?

ทั้งนี้ ตามแต่ ผอ.กอ.รมน. จะกำหนด

...

[ ลิงก์ ประชาไท ]

technorati tags:

2007-07-20

Thailand Punkcore

Thailand Punkcore
punk scene ส่วนหนึ่งในเมืองไทย, Oi!Merry แนะนำมาทางเอ็ม

มีเพื่อนคนนึงที่เบอร์ลิน ชื่อ “แฮ็ค” ประกาศตัวชัดเจนด้วยเสียงอันดังว่า เป็นพังค์ (พังค์ที่ตาตี่ที่สุดในโลก)
วัยรุ่นยุโรปดูจะเป็นพังค์กันเยอะ ดูน่ากลัวในทีแรก แต่ส่วนใหญ่พวกเขารักสันตินะ - peace punk

เป็นพังค์ ไม่จำเป็นต้องเป็นอนาธิปัตย์ (anarchist)
เป็นอนาธิปัตย์ ไม่จำเป็นต้องเป็นพังค์
แต่สองสิ่งนี้ ก็มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง และมีอิทธิพลต่อกันและกัน

เพราะ พังค์ ไม่ได้เป็นแค่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หรือ พังค์ร็อก นี่นา
ในบทเพลง หากเราไม่ได้ยินเรื่องราว มันก็คงเป็นเพียงเสียงหนวกหูเท่านั้น

Anarcho-punk (อนาธิป-พังค์ ? :P)

ที่ ประชาไท มีเรื่อง Anarcho-Punk ให้อ่านกัน (พร้อมแนะนำอัลบั้มของวง Anti-Flag, อ่ะฮ่า นสพ.ออนไลน์ฉบับนี้มีแนะนำเพลงด้วยนะ!!)
(via สถาบันต้นกล้า)

“ มาถึง Anarcho-punk (อะนาร์โค-พังค์) กันเลยดีกว่า คงไม่ต้องอธิบายไปมากกว่านี้ครับว่า แนวดนตรีของกลุ่มนี้คือกลุ่ม Punk ที่สร้างงานดนตรีโดยเสนอเนื้อหาเชิง อนาธิปไตย ซึ่งจริง ๆ แนว Punk ก็เป็นแนวที่ต่อต้านระบอบแบบแผน และต่อต้านสังคมอนุรักษ์นิยมอยู่แล้ว เนื้อหาที่พูดถึง Anarchy นั้นมาจากงาน Single ชุด "Anarchy in the U.K." ของ วงพังค์ยุคต้น ๆอย่าง Sex Pistol ที่เนื้อหาออกแนวทำลายล้างแบบทีเล่นทีจริง โดยวง Sex Pistol เองก็ยังไม่ได้จัดว่าเป็นวงแนวAnarcho-Punk วงที่น่าจะจัดว่าเป็นแนวนี้วงแรกคือ Crass อันมีป้ายฉลากเพิ่มเติมว่าเป็น anarcho-pacifism หรือ เหล่าอนาธิปปัตย์ผู้รักสันติ เท่าที่ผมได้ฟังมารู้สึกว่าเป็นวงที่เน้นเนื้อหา ส่วนงานดนตรีจะตรงไปตรงมามาก (และแน่นอนใช้ Chord น้อย เมโลดี้เรียบ ๆ ในแบบพังค์) Peter Rimbaud ผู้ก่อตั้งวง Crass ร่วมกับ Steve Ignorant ยังบอกอีกว่า วงพังค์อย่าง Sex Pistols, The Clash, The Damned เป็นแค่หุ่นเชิดของวงการธุรกิจดนตรี ”

เราโยกหัวได้ เพราะเรามีหัวให้โยก

technorati tags: , ,

CUIR - Chulalongkorn University DSpace

CUIR - คลังปัญญาจุฬาเพื่อประเทศไทย

รวบรวม งานวิจัย (Technical Reports), วิทยานิพนธ์, บทความวิชาการ, ชุดการเรียนการสอน, การบรรยาย และ วารสารอิเล็กทรอนิกส์

ใช้ซอฟต์แวร์จัดการคลังข้อมูลดิจิทัล DSpace - เป็นโอเพนซอร์สด้วย (สัญญาอนุญาต BSD)

update: oakyman บอกว่า ถ้าไม่ได้อยู่ในจุฬา จะดูได้แต่บทคัดย่อ (abstract) / thx :) ... แต่ก็ดีกว่าของธรรมศาสตร์อยู่ดีอ่ะ หน้าตาห่วย ๆ ค้นด้วยคำสำคัญก็ไม่ได้ :(

technorati tags: ,

2007-07-19

pairing

สมัยเด็ก ๆ เราไม่กิน ผักชี ต้นหอม หอมใหญ่

ทุกวันนี้ เราจะรู้สึกไม่ครบ ถ้าขาด ผักชีในกระเพาะปลา ต้นหอมในซุป และหอมใหญ่ในยำหมูยอ

คงต้องมีอะไรที่คู่กับอะไรซักอย่าง

technorati tags:

2007-07-18

National Security - Nation of Who ?

พ.ร.บ. ความมั่นคง (ยังเป็นร่างอยู่ กำลังจะผ่าน) จะสร้าง ‘ความถูกต้องและชอบธรรมทางกฎหมาย’ ให้กับกองทัพ ในการใช้อำนาจกดขี่ประชาชน ซึ่งรวมถึง:

  • อำนาจในการโยกย้ายข้าราชการ
  • อำนาจในการจับใครคุมขังก็ได้โดยไม่ต้องพึ่งหมายศาล — โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน รวมถึงขยายเวลาควบคุมต่อได้อย่างไม่สิ้นสุด
  • อำนาจในการห้ามมิให้มีการชุมนุม
  • อำนาจในการกักกันบริเวณ
“ สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นฝันที่เป็นจริง หากประชาชนไม่สามารถต้านทานพลังทหารและพวกเชลียร์ทหารได้ในอนาคตอันใกล้ ใครก็ตามหากถูกทหารจับไปซ้อมสักอาทิตย์สองอาทิตย์ก็อาจสามารถพูดอะไรก็ตาม ที่ทหารอยากให้ ‘สารภาพ’ ก็ได้ ซึ่งไม่น่าเป็นเรื่องแปลกและคาดไม่ถึง และคงจะเกิดขึ้นหาก พ.ร.บ. นี้ประกาศใช้ ”
— ประวิตร โรจนพฤกษ์

กลุ่มผู้ที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. นี้ อ้างว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ ก็มีกฎหมายลักษณะนี้ และประเทศทั้งสองก็ดู ‘สงบเรียบร้อย’ ดี
(หากรู้ไหมว่า ความสงบเรียบร้อย(ราบคาบ) ของสองประเทศนี้ อยู่บนพื้นฐานของการกดขี่ ละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง)

และข้อแตกต่างสำคัญ ระหว่างร่างของเรา กับกฎหมายของเขาที่อ้างมานั้น ก็คือ
อำนาจตามกฎหมายของเขานั้น อยู่กับ นายกรัฐมนตรี (พลเรือน, ฝ่ายบริหาร, มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน)
แต่ในร่างของเรา อำนาจอยู่กับ ผู้บัญชาการทหารบก (ทหาร, กองทัพ, มาจาก..??..โดย..??..)
ซ้ำร้าย ยังเป็นอำนาจที่ตรวจสอบการใช้ไม่ได้เสียอีกด้วย (ไม่ว่าศาลหรือใคร ก็ไม่มีอำนาจตรวจสอบ ... อภิสิทธิ์ชนเต็มขั้น! ... อีกหน่อยเราคงต้องมี wristband เรารักผบ.ทบ.! ทำเป็นเล่น)

พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าพ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่าน ประเทศของเราก็จะเหมือนอยู่ในภาวะฉุกเฉินใต้กฎอัยการศึกอยู่ตลอดเวลา ทั้งปีทั้งชาติ 24 ชั่วโมง คือทหารเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

การให้อำนาจกับทหารมากอย่างนี้ (เช่น โยกย้ายข้าราชการได้!) และเป็นอำนาจที่ไม่ต้องรับผิดชอบ (เพราะไม่มีการตรวจสอบ) จะทำให้ประเทศไทย ไม่ต่างอะไรจากรัฐทหาร อย่าง พม่า ต่างหาก
(ปัจจุบันนี้ก็ใกล้เคียงอยู่แล้ว เพราะประธาน คมช. ส่งปลดนายกฯ ได้! ... ช่างเป็นการรัฐประหารเพื่อความก้าวหน้าของประชาธิปไตยเสียนี่กระไร)

กฎหมายฉบับนี้ไม่มีการถ่วงดุลอำนาจเลย คือ เมื่อเจ้าหน้าที่ของกอ.รมน.หรือผบ.ทบ.เห็นว่ามีภัยคุกคาม จะใช้กฎหมายได้ทันทีโดยไม่ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน

ซึ่งตรงจุดนี้ ต่างกับภาวะปัจจุบันซึ่ง การประกาศภาวะฉุกเฉินต้องผ่านมติ ครม.ซึ่งอาจจะมีการท้วงติงว่าไม่จำเป็นก็จะประกาศไม่ได้ และหากครม.เห็นชอบให้ประกาศก็จะต้องมีการพิจารณาทบทวนสถานการณ์ความจำเป็น ทุก 3 เดือน หากมีการท้วงติงว่าหมดภาวะความจำเป็นแล้วก็จะต้องยกเลิกไป

แต่ร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ให้อำนาจผบ.ทบ.เหนือครม.ที่จะสั่งการในภาวะ ฉุกเฉินได้ทันที เท่ากับเป็นการรวบอำนาจตามกฎอัยการศึกและ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ภาวะฉุกเฉินมาไว้กับผบ.ทบ.ในตำแหน่งผอ.รมน .

หมายความว่ากฎหมายฉบับนี้ถ้าผ่านสนช.จะให้อำนาจผบ.ทบ.สูงสุด เสมือนอยู่ในภาวะเผด็จการทหารเลยทีเดียว ครม.รัฐสภา หรือศาลหมดความหมายอย่างสิ้นเชิง

— ผาสุก พงษ์ไพจิตร

นี่ไม่ใช่เรื่องกลัวเกินกว่าเหตุ หากดูประวัติของทหารในประเทศนี้ในอดีต เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เช่น การจับ/ควบคุมตัวผู้ต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับทหาร (อาทิตย์ที่แล้ว) และ การจับสมาชิกกลุ่มสมัชชาผู้ใช้แรงงาน (เมื่อวานนี้)

ประธาน คมช. คนปัจจุบัน (ทหาร) กำลังจะลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จะมาถึง เพื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แค่ พ.ร.บ.นี้ผ่านตัวเดียว ก็จะแย่อยู่แล้ว ... แต่อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเขาคนนั้นได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกด้วย ?

ผบ.ทบ. (ทหาร) + นายก (ทหาร)

เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด คู่หู คู่ฮา

สงบเรียบร้อยอย่างที่หวังแน่ ๆ :)

คุณอยากให้เป็นอย่างนั้นไหม ?


เรียบเรียงจาก ประวิตร โรจนพฤกษ์ : พ.ร.บ. ความมั่นคง: เมื่อพล.อ.สนธิกำลังทำให้ฝันของทักษิณเป็นจริง, 18 ก.ค. 2550, ประชาไท (อ่านบทความโดยละเอียดที่ประชาไท)

เพิ่มเติม:

technorati tags:

2007-07-17

2007-07-16

GATE experiment at KIND Lab, SIIT

งานทดลองสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

POS-tagged document in GATE

เมื่อวานทดลองเขียน wrapper ครอบ Stanford Log-linear Part-Of-Speech Tagger ให้กลายเป็นปลั๊กอินสำหรับใช้กับ GATE (หลังจากตั้งท่ามานาน)

pipeline ในรูป มี 3 Processing Resources คือ tokensier, splitter และ tagger

tokensier คือ net.siit.gate.DictionaryBasedTokeniser เป็นตัวตัดคำธรรมดา ๆ ใช้พจนานุกรม1 และออกแบบให้ตัดได้คำที่ยาวที่สุด (longest-matching) ทำงานกับ AnnotationSet ของ GATE โดยตรง — จะสร้าง AnnotationSet ชื่อ “Token” ขึ้นมา

splitter คือ ANNIE Sentence Splitter เป็นตัวแบ่งประโยค โดยใช้กฎ (ภาษา JAPE เป็นลักษณะ regular expression over annotation) ตัวนี้มากับ GATE อยู่แล้ว และไม่ได้ออกแบบมาสำหรับภาษาไทย — เราเอามาใช้ไถ ๆ ไป เพื่อให้สร้าง AnnotationSet ชื่อ “Sentence” เท่านั้น (เป็นการ “สมมติว่ามี” จะได้ทดลองขั้นต่อไปได้)

tagger คือ net.siit.gate.StanfordPOSTagger เป็นตัวกำกับชนิดของคำ (Part-of-Speech) เป็น wrapper ไว้เรียกใช้/แปลงข้อมูลจาก edu.stanford.nlp.tagger.maxent.MaxentTagger ซึ่งเป็นตัวกำกับชนิดของคำแบบเรียนรู้จากชุดตัวอย่าง2 ตัว MaxentTagger จะรับข้อมูลเข้า/ส่งข้อมูลออกเป็น List<Sentence> ก็ต้องแปลงให้กลายเป็น AnnotationSet (เอาคำจากชุด “Token” โดยใช้ชุด “Sentence” ระบุขอบเขตประโยค3) เพื่อให้เข้ากับ GATE — ในขั้นตอนสร้าง List<Sentence> ตัว wrapper นี้ จะทึกทักเอาเองว่า Annotation ทั้งหมดใน AnnotationSet นั้น ไม่ทับซ้อนกัน (overlapping), ซึ่งจริง ๆ แล้ว ใน GATE นั้นอนุญาตให้ Annotation มันทับซ้อนกันได้ เช่น ถ้า Token ดันมีซ้อนกันเป็น [ab{cd]efg} แบบนี้ ตอนที่ตัว tagger (wrapper) แปลงเป็น Sentence จะได้ Sentence ที่บรรจุ Word = { "abcd", "cdefg" }

ทั้งหมดเป็น Java (ในส่วนที่พัฒนาเอง ใช้ NetBeans)

ทั้งหมดนี้ ไม่มีอะไรเป็น “ของใหม่” เป็นเพียงการทดลองหยิบชิ้นส่วนหรืออัลกอริธึมที่คนอื่นทำไว้แล้ว มาลองประกอบเข้าด้วยกันในกรอบ (framework) ของ GATE เท่านั้น (ส่วนที่มีเสริมเข้าไป ก็เพื่อให้ประกอบสนิทกันเท่านั้น)
แต่คาดหวังว่า การมีกรอบที่ชัดเจนแบบนี้ จะช่วยลดงานที่ไม่จำเป็นในการทดลอง/วิจัยในอนาคตไปได้บ้าง เพื่อจะได้มีเวลาไปเน้นเรื่อง “ใหม่ ๆ” จริง ๆ

1 สามารถระบุพจนานุกรมตอนสร้าง instance ใหม่ได้ ปัจจุบันคำส่วนหนึ่งมาจากคลังข้อมูลเอกสารการแพทย์ที่ KIND Lab, SIIT ทำร่วมกับ เภสัช ศิลปากร อีกส่วนหนึ่งมาจากตัวตัดคำ KU Wordcut ของเกษตร (สุธี สุดประเสริฐ), ใช้ Trie เป็นโครงสร้างข้อมูลขณะตัดคำ (org.speedblue.util.Trie)

2 ชุดตัวอย่างนำมาจากคลังข้อความ ORCHID โดยเนคเทค (ทดสอบแปลงข้อมูลโดยใช้สคริปต์ Groovy บน JVM)

3 จริง ๆ แล้ว เราสามารถใส่คำทั้งหมดเข้าไปประมวลผลทีเดียวได้ (คือมี 1 ประโยคใน List<Sentence> และทุกคำในเอกสารบรรจุอยู่ในประโยคนั้น) แต่การทำแบบนั้น คิดว่าน่าจะเปลืองหน่วยความจำ อีกเรื่องคือ ยังไม่ได้ศึกษาโดยละเอียดว่า ขอบเขตของประโยค มีส่วนต่อการคำนวณหาค่าความน่าจะเป็นในการกำกับชนิดของคำของคลาส MaxentTagger หรือไม่ (ตั้งสมมติฐานไว้ว่า น่าจะมี จึงพยายามแบ่งประโยค)

technorati tags: , , ,

2007-07-15

NODE101 - vdoblogging how-to

สอนทำ Videoblogging: NODE101

ลูกค้าของคนสอน เช่น Google, Socialtext, Technorati, PBWiki

technorati tags:

The Fifth Horseman Is Fear

คนป่วยแนะหนัง
The Fifth Horseman Is Fear
“ความกลัวคือเครื่องมือ”

นอกจากภาพ หนังยังเต็มไปด้วยเสียงรบกวนตลอดเวลา ทั้งนาฬิกาปลุก โทรศัพท์ กริ่งประตูบ้าน เสียงเด็กทารก ในหนังเรื่องนี้แทบไม่มีใครได้ทำกิจกรรมที่กำลังทำอยู่สำเร็จเสร็จสิ้น เพราะพวกเขาล้วนถูกรบกวนจากเสียงเหล่านี้ เสียงเตือน เสียงร้องหา เสียงที่เป็นเสมือนอำนาจรัฐจับตาทุกการกระทำของทุกตัวละคร

ชื่อหนังขยายความมาจากตอนหนึ่งในพระคัมภีร์ [ไบเบิ้ล] ที่พูดถึง มนุษย์บนหลังม้าสี่คน ที่หมายถึงสี่ประการที่จะทำลายความเป็นมนุษย์ของผู้ชายลง สิ่งนั้นประกอบด้วย ม้าสีขาวคือ โรคระบาด ม้าสีแดงคือ สงคราม ม้าสีดำคือ สตรี และม้าสีเทาคือ ความตาย และหนังเรื่องนี้ยั่วล้อถึงม้าตัวที่ห้า นั่นคือ – ความกลัว - ความกลัวนี้เองที่ทำให้คนตกเป็นเครื่องมือของอำนาจรัฐ เพื่อนกลายเป็นศัตรู คนที่เคยช่วยเหลือกันกระทั่งศพก็ยังไม่เหลียวมอง และเป็นความกลัวนี้เองที่ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำลายมนุษย์

และแม้ว่าในเวลาปัจจุบัน นาซีได้ล่มสลายไปยาวนานแล้ว แต่เผด็จการยังคงเกิดใหม่ทุกวัน หนังคือภาพร่างคร่าวของประชาชนที่ตกอยู่ภายใต้ความกลัวอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐใช้เสมอมา ความกลัวถึงสถานะที่ไม่มั่นคง ความกลัวที่จะไม่ได้เลือกตั้ง ความกลัวที่จะไม่มีรัฐธรรมนูญ ความกลัวคือเครื่องมือเสมอ

ฉากสุดท้ายของหนังพาเราย้อนกลับมาที่ป้ายประกาศนั้นอีกครั้ง ตัวหนังสือบนป้ายเขียนว่า เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชนหากเห็นสิ่งไม่ชอบมาพากลให้โทรแจ้ง เบอร์ 44811 เพื่อรัฐ ตัวหนังสือบนป้าย ทำให้ผมใคร่ครวญไปถึงบางป้ายที่ออกมารณรงค์ให้คนไปรับร่างรัฐธรรมนูญในบ้านเรา เป็นเด็กดีของพ่อแม่ เป็นเครื่องมือของเครื่องมือที่อำนาจรัฐใช้กับเรา เครื่องมือที่อาศัยเชื้อเพลิงชื่อ ความกลัว

technorati tags: ,

Stanford SemLab

Stanford's Computational Semantics Laboratory

technorati tags:

2007-07-11

Thailand Illustrated

ดูหนังอย่างคนป่วย (ในสังคมป่วย ๆ)

แนะนำเพิ่มเติมได้ครับ ...

[ ผ่าน filmsick, RerngIT ]

technorati tags: ,

Why NO ?

19 สิงหาใกล้มา หลายคนอาจมีข้อกังขาเหล่านี้อยู่ในใจ ...

  1. โหวตล้มรัฐธรรมนูญ ผิดกฎหมายหรือไม่ ?
  2. โหวตล้มรัฐธรรมนูญ จะได้อะไร ?
  3. โหวตล้มรัฐธรรมนูญ ร่วมกับใคร ?
  4. โหวตล้มรัฐธรรมนูญ เลือกตั้งล่าช้าหรือไม่ ?
  5. โหวตล้มรัฐธรรมนูญ อาจจะได้รัฐธรรมนูญที่ถอยหลังกว่าเดิม ?

รับฟังข้อมูล หาคำตอบ และตัดสินใจให้ตัวคุณเอง ที่เว็บ wevoteno.net

[ ลิงก์ wevoteno.net | ผ่าน wonam ]

technorati tags: ,

2007-07-09

Democracy under Martial Law ?

“....ใน ภาวะของการประกาศกฎอัยการศึก จะมีประชาธิปไตยได้อย่างไร ถ้าประชาชนไม่มีโอกาสได้คุยกันและทำความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ และปล่อยให้ สสร. ได้รณรงค์ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อยู่แต่ฝ่ายเดียว...มิพักต้องกล่าวถึง ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ล้มไปได้เลย....”

“ภายใต้กฎอัยการศึก เราไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยได้” – สมบัติ บุญงามอนงค์
ฐิตินบ โกมลนิมิ, สำนักข่าวชาวบ้าน

อัยการทหารที่ “รวบและกักตัว” นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มพลเมืองภิวัตน์ อ้างว่าใช้อำนาจตาม พ.ร.บ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457

(โปรดสังเกตว่า ประเทศของเราเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 !)

ประชาธิปไตย ... อธิปไตยจะเป็นของประชาได้อย่างไร หาก(เรายังยอมให้)ทหารหรือใครมีอำนาจเหนือประชา

เพียงเห็นต่าง ก็ถูกจับกุม และเราจะคุยกันยังไง ?
และเมื่อคุยกันไม่ได้ แล้วจะหาข้อตกลงร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตยกันยังไง ?

[ ลิงก์ สำนักข่าวชาวบ้าน | ผ่าน ประชาไท ]

technorati tags: ,

2007-07-08

"Civil and Political Rights" - we have it, well, at least on the paper!

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งแปรข้อบทใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights - UDHR) ให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองสนธิสัญญานี้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519

ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540

technorati tags: , ,

Can You Tell Heaven From Hell ?

“ So, so you think you can tell
Heaven from Hell,
Blue skies from pain.
Can you tell a green field
From a cold steel rail?
A smile from a veil?

Do you think you can tell? ”

“ สำหรับคุณแล้ว คุณคิดว่า
คุณสามารถพูดถึงสวรรค์ จากนรกได้งั้นหรือ
พูดถึงฟ้าครามสดใส จากความเจ็บปวด
พูดถึงพื้นหญ้าเขียวขจี
จากรางรถเหล็กเยียบเย็นได้หรือไร
พูดถึงรอยยิ้มจากผ้าคลุมปิดบังใบหน้า

คุณคิดว่าจะพูดถึงสิ่งเหล่านี้ได้ล่ะหรือ ”

Pink Floyd – Wish You Were Here (คำแปลเพลงโดย ประชาไท)

technorati tags:

2007-07-07

BEHAVE! - Big Brother Is Watching You!

รายงาน จับตา ไอซีที : ออก กม.ลูก บังคับเก็บประวัติคนเล่นเน็ต เลข 13 หลัก เลขบัญชี เลขบัตรเครดิต (ประชาไท)

ประกาศกฎกระทรวง เกี่ยวกับข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์
(เพื่อประกอบใช้กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์)

ข้อ 6 ผู้ให้บริการ มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ดังนี้

(1) ข้อมูลที่สามารถระบุและติดตามถึงแหล่งกำเนิด ต้นทางของการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
(2) ข้อมูลที่สามารถระบุปลายทางของการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
(3) ข้อมูลที่สามารถระบุพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เช่น วันที่ เวลา ปริมาณการติดต่อ และระยะเวลาของการติดต่อสื่อสารระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

ทั้งนี้ ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ให้บริการเก็บเพียงเฉพาะในส่วนที่เป็นข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการของตน

พี่ใหญ่เค้าอยากจะรู้ทุกอย่าง

ดูข่าวเพิ่มเติม ฐาน, blognone, ประชาไท


หลักพื้นฐานทั่วไปอันหนึ่ง ที่น่าจะใช้เป็นแนวทางพิจารณาตรวจสอบขอบเขตอำนาจกฏกระทรวงอันนี้ได้ ว่าล้ำเส้นเกินไปหรือไม่ คือ หลักการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ OECD ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ (อ้าง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง):

  1. หลักข้อจำกัดในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection Limitation Principle)
  2. หลักคุณภาพของข้อมูล (Data Quality Principle)
  3. หลักการกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ (Purpose Specification Principle)
  4. หลักในการนำไปใช้ (Use Limitation)
  5. หลักการรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Security Safeguards Principle)
  6. หลักการเปิดเผยข้อมูล (Openness Principle)
  7. หลักการมีส่วนร่วมของบุคคล (Individual Participation Principle)
  8. หลักการความรับผิดชอบ (Accountability Principle)

ช่วยกันดูครับ พูด ตอนที่ยังพูดได้

ตอนนี้พ.ร.บ.กำหนดให้ต้องเก็บ และได้ระบุระยะเวลาเอาไว้
ส่วนกฎกระทรวงกำลังจะระบุว่า จะให้เก็บอะไร เยอะแค่ไหน
(ซึ่งดูแนวแล้วเป็นลักษณะ เก็บไว้เยอะๆ ก่อน - ไม่ใช่แนว "น้อยที่สุดเท่าที่จะใช้ได้")

แต่ไม่มีใครบอกว่า ใครมีสิทธิขอดู เมื่อไหร่ ในสถานการณ์ไหน และสามารถถูกปฏิเสธได้หรือไม่ (เช่น ผู้ให้บริการสามารถปฏิเสธเจ้าหน้าที่รัฐได้หรือไม่ ในกรณีไหน หรือ ผู้ใช้บริการสามารถปฏิเสธไม่ให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลส่วนไหนได้บ้าง ในกรณีไหน)

เรื่องทำนองนี้ ส่วนหนึ่ง มีอยู่ใน ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ....
ซึ่งร่างฉบับนี้ ในตอนแรกร่างขึ้นโดยยึดแนวทางของ EU Directive เป็นหลัก แต่ต่อมาเมื่อพบปัญหาทางเทคนิคว่าอาจจะยากต่อการบังคับใช้ ก็ได้เปลี่ยนมาใช้รูปแบบของออสเตรเลีย ซึ่งแนวทางของ OECD ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของ OECD ภายใต้การดูแลของประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายออสเตรเลีย จึงอาจกล่าวได้ว่า ร่างพ.ร.บ.นี้ของไทย ก็มีแนวทางคล้ายคลึงกับของ OECD

ร่างดูดี แต่ไม่คลอดซักทีครับ :)

พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล เป็นพ.ร.บ.พี่น้องกับ พ.ร.บ.ความผิดคอมพิวเตอร์ — ตัวหนึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่วันแล้ว อีกตัวหนึ่งถูกดอง และคงจะถูกลืม...


อ้างอิง

technorati tags: , ,

Free Thai Cinema - Revise the Film & Video Act

Free Thai Cinema Movement

ความเป็นมา และการเคลื่อนไหวเรียกร้อง ให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ ฉบับ พ.ศ....

[ ลิงก์ filmsick ]

technorati tags: ,

2007-07-06

Big Brother State

ข้อความจาก คณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (จัดตั้งตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544)

แผนการดำเนินงานและข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ ที่ควรเร่งผลักดัน

คณะอนุกรรมการฯ มีแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นลำดับ โดยการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีผลใช้บังคับ ทางคณะอนุกรรมการฯ ได้ศึกษาและพิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความพระราชบัญญัติฯ แล้วเสร็จ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำพระราช บัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. .... รวมถึงการพิจารณายกร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหน่วยงานธุรการและผู้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการ และการร่วมพิจารณาให้ข้อคิดเห็นกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่อยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... , ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ พ.ศ. ....

จากข้อมูลในหน้าเว็บนั้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย สำหรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์นั้น ประกอบไปด้วยกฎหมายหลายฉบับ

และที่ควรเร่งผลักดันและอยู่กระบวนการนิติบัญญัติแล้ว (ในขณะนั้น) ก็มีอยู่ 3 ฉบับ 3 เรื่อง
“ควบคุม” “คุ้มครอง” “พัฒนา”

บรรยากาศทุกวันนี้ ทุกคนรู้สึก

รัฐบาลนี้เร่งแต่จะ “ควบคุม” ไม่สนใจ “คุ้มครอง” และ “พัฒนา”

ประชาชน “ไร้ความมั่นคงปลอดภัย” ประเทศชาติ “ล้าหลัง”

technorati tags: , ,

personal is personal

ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา เป็นของเรา

เราต้องการ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ....

เดินเข้าร้านกาแฟ ต้องลงเวลาเข้าออก
เดินเข้าโรงหนัง บันทึกว่าดูเรื่องอะไร
เดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต ขอดูบัตรประชาชน

จะเก็บนั่นเก็บนี่ ตรวจตราสอดส่อง(แส่)ไปทุกเรื่อง - แล้วคุ้มครองป้องกันอะไรให้เราไหม ? มีหลักประกันอะไรให้เราไหม ?

ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ

ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ

ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ

technorati tags:

2007-07-01

remotely connected

ผมมีพี่น้องสี่คน

ผู้หญิง ผู้ชาย* ผู้ชาย ผู้ชาย
*นั่นคือผม

เป็นเวลาหลายปีแล้ว สิบปี ที่พวกเราเริ่มจะอยู่บ้านไม่พร้อมกัน - “อยู่” ในความหมายว่า นอนบ้าน

ผมเข้ามหาลัยปี 39 ไปอยู่หอ

ไม่นาน พี่ผมไปเรียนต่อ และน้องคนกลางเข้ามหาลัย ไปค้างบ้านเพื่อนทำงานบ่อย ๆ

ผมจบกลับมาอยู่บ้าน - น้องคนเล็กเข้ามหาลัย ไปอยู่หอ

ฯลฯ

ล่าสุดผมกลับมาบ้าน พี่ผมไปทำงานประเทศเพื่อนบ้าน น้องคนเล็กทำงานที่ต้องบินไปบินมา

เราคุยกันไม่ค่อยมาก

มีอยู่ช่วงนึง ผมมักคุยกับน้องคนเล็กผ่านเว็บบอร์ดคณะ (เราเรียนที่เดียวกัน)

และรุ่นพี่ผม มาโพสต์หาผมในเว็บบอร์ด บอกว่าให้ติดต่อน้าด้วย เค้าติดต่อผมไม่ได้

อินเทอร์เน็ต...

เราเป็นพี่น้องกันแบบข้ามชาติ ... เอ่อ ผมหมายถึงประเทศ

technorati tags: ,