ย้ายบล็อกไปที่ bact.cc แล้วนะครับ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
หยุด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ฟรี 2GB จาก Dropbox (sync กับ Windows, Linux, Mac, iPhone, Android ฯลฯ ได้)

2008-06-24

ทฤษฎีเก่า "Old Theory" - Thailand Bill of Rights

(น่าจะเก่าอยู่ล่ะ ตั้ง 76 ปี แล้ว วันนี้วันที่ 24 มิ.ย. ครบรอบการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง)

“เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ
เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา”

หลัก 6 ประการของคณะราษฎร

หลัก 6 ประการของคณะราษฎร

24 มิถุนายน 2475

สิ่งที่ “ทฤษฎีใหม่” และลูก ๆ พอเพียงต่าง ๆ เสนอ คือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อาจจะโยงไปได้ถึงเอกราช แต่ขาดเรื่อง เสมอภาค และ เสรีภาพ

ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่มีใน “ทฤษฎีเก่า” เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา

76 ปีแล้ว ดูเหมือนเราจะยังไปไม่ถึงหลักหกประการนั้นสักที โดยเฉพาะประการที่ 4 และ 5

หลัก 6 ประการของคณะราษฎร

  1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
  2. จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
  3. จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
  4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
  5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
  6. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร

ประเทศไทยถ้าจะมีสิ่งไหนเทียบเคียงได้กับ “คำประกาศสิทธิ” (Bill of Rights) ซึ่งเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญของประเทศอย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ก็เห็นจะเป็น หลัก 6 ประการของคณะราษฎร นี่แหละ

ถึงรัฐธรรมนูญจะถูกฉีก แต่ คำประกาศสิทธิ 6 ประการนี้ จะต้องคงอยู่

และรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่จะร่างใหม่ จะต้องมีพื้นฐานมาจากและไม่ขัดกับคำประกาศสิทธิ 6 ประการนี้

งานฉลองรัฐธรรมนูญ

(24 มิ.ย. ปีนี้ ส.ว. เลือกตั้ง 50% แต่งตั้ง 50% และ พันธมิตร เสนอ ส.ส. เลือกตั้ง 30% - สรรหา แต่งตั้ง 70% ... ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกันไหม ?)


เขียนเมื่อปีที่แล้ว: 75 ปีผ่านไป
และอัพเดทจากเพื่อนพลเมือง

technorati tags: , ,

2008-06-23

small, yet unneglectable, voices from consumers who don't want to pay for things they will never use

คุณซาจาล ชาวอินเดียในไทย กำลังเลือกซื้อโน้ตบุ๊กเครื่องใหม่ และพบว่าโน้ตบุ๊กรุ่นต่าง ๆ ที่เขาสนใจนั้นล้วนรวมราคาวินโดวส์มาด้วยแล้ว คุณซาจาลรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับใช้จ่ายค่าไลเซนส์วินโดวส์ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้จะใช้ จึงเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นมาเป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ที่บล็อกของเขา ผมเห็นว่าน่าสนใจ และก็รู้สึกเช่นเดียวกันในตอนเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก จึงขออนุญาตแปลมาเป็นภาษาไทยให้เราอ่านกันครับ โดยตีพิมพ์ลงที่ Blognone:
จดหมายเปิดผนึกถึงไมโครซอฟท์และผู้จำหน่ายโน้ตบุ๊กในเมืองไทย

มีความเห็นน่าสนใจจำนวนมากที่ Blognone ขอเชิญอภิปรายที่นั่นจะสะดวกกว่าครับ

technorati tags: , ,

CiteULike serious-crash course

ในชั้นเรียนเมื่อวันพุธแรกของวิชา อาจารย์แนะนำให้ใช้ EndNote สำหรับเก็บเอกสารอ้างอิง และช่วยเขียนอ้างอิง citation ทำบรรณานุกรม

ผมเองซึ่งใช้ EndNote (ของบริษัท Thompson Reuters) ไม่ได้ เพราะมันรันได้เฉพาะบน Windows และ Mac OS X ไม่มีลีนุกซ์ ก็เลยเสนอไปว่า มันมีทางเลือกอย่าง CiteULike (www.citeulike.org) อยู่นะ ซึ่งก็มีความสามารถพวกนั้นเหมือนกัน อาจจะสะดวกไม่เท่าในแง่การผนวกกับ Microsoft Word แต่ก็โอเคนะ

(มานั่งนึก ๆ ทีหลัง บางทีทางเลือกนี้คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเท่า EndNote ... ถ้าพูดในแง่ราคา ตราบใดที่ยังเป็นนักศึกษาหรือทำงานในมหาวิทยาลัย เขาก็มีสัญญาอนุญาตของมหาวิทยาลัยให้ใช้อยู่แล้ว ... ถ้าพูดในแง่ความสะดวกที่อยู่บนเว็บ เดี๋ยวนี้มันก็มี EndNoteWeb ให้ใช้ ... แต่ถ้าคิดถึงเรื่องว่า สักวันหนึ่งเราก็คงไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยต่อไป แล้วอยากจะใช้ข้อมูลเก่า ๆ ที่เราเก็บไว้ล่ะ คิดว่าคุ้มไหมที่จะซื้อ EndNote ในตอนนั้น หรือว่าใช้ CiteULike ไปเสียตั้งแต่ตอนนี้เลย ?)

เว็บ CiteULike นี้ หลายคนก็คงรู้จักกันอยู่แล้ว แต่ในชั้นเรียนประมาณ 15 คนนั้น รวมอาจารย์เป็น 16 มีผมรู้จักอยู่คนเดียว — ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับผมเรียนคอมพิวเตอร์มาคนเดียวรึเปล่า ที่เหลือเขาเรียนสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์กันหมดเลย

วิธีใช้อย่างละเอียด รวมถึงวิธีใช้งานกับ EndNote โดยห้องสมุดของโคโลราโด เดนเวอร์ (ภาษาอังกฤษ)

จะใช้ CiteULike ต้องสมัครสมาชิกก่อนถึงจะใช้ได้ สมัครฟรี ใช้ฟรี

แต่ละคนก็จะมีหน้าของตัวเอง มีประมาณว่าห้องสมุดของตัวเอง นี่ตัวอย่างหน้าของผม http://www.citeulike.org/user/arthit/

จะเห็นมีรายการเปเปอร์อยู่ยาว ๆ นั่นคือที่ผมใส่เข้าไปเอง พร้อมกับรายละเอียดสั้น ๆ เช่น ชื่อคนเขียน เราอ่านไปรึยัง มีคนอื่นอ่านอยู่มั๊ย-กี่คน ฯลฯ

เราใส่ป้ายเพื่อแบ่งหมวดหมู่ได้ด้วย เช่น anthropology ethnography thai อะไรก็ว่าไป

แต่ละอันกดเข้าไปดูได้ เช่น อันนี้

ที่สะดวกคือ สำหรับคนที่จะเขียนเอกสารวิชาการ เราสามารถเลือกรูปแบบการอ้างอิงได้ด้วย ว่าจะเอาแบบไหน ตรงใต้ชื่อบทความ ลองกดเปลี่ยนจาก Plain เป็นอย่างอื่นดู เช่น APA, Elsevier, Harvard, Oxford ฯลฯ

ถ้าใครใช้โปรแกรมอย่าง EndNote หรือ LaTeX สามารถสร้าง RIS record หรือ BibTeX record เพื่อเอาไปใช้ในโปรแกรมพวกนั้นได้ด้วย

แล้วถ้าเรามีแฟ้ม pdf เราสามารถอัพโหลดไปเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ได้ด้วย ก็จะช่วยจัดการเรื่องเก็บเปเปอร์ให้เราได้ (มันเปลี่ยนชื่อแฟ้มให้ด้วย เป็นรูปแบบ ชื่อคน ปี ให้ดูง่าย ๆ) ไปใช้เครื่องไหนที่ไหนก็ยังมีเปเปอร์ที่เราเคยเก็บไว้อยู่ (ตัวแฟ้ม pdf ส่วนตัวนี่แชร์ไม่ได้ เว้นว่าเรามีสิทธิเผยแพร่)

ส่วนเวลาเพิ่มเปเปอร์นี่ไม่ยาก แค่กด ๆ ไม่กี่ที ลองไปที่ post จะมีอธิบายอยู่ (ต้องล็อกอินก่อน)

นอกจากก็เก็บไว้ดูเองคนเดียวแล้ว ก็ยังสามารถสร้างกลุ่มได้ด้วย เอาลิงก์มาแบ่ง ๆ กันได้ เช่นในห้องสมุดของกลุ่มนี้ จะเห็นว่ามีหลาย ๆ คนเอาลิงก์มาใส่

เช่นผมลองสร้างกลุ่มของรุ่นไว้ เอาไว้เก็บเปเปอร์ที่พวกเราต้องอ่านกัน หรือว่าที่มันเกี่ยว ๆ

สำหรับคนที่จะตามงานในวารสารต่าง ๆ สามารถค้นหาได้ที่หน้า Journals: Current Issues

ค้นหาได้ด้วย เช่นค้นคำว่า "cultural studies" ก็จะเป็นรายการวารสารต่าง ๆ ที่มีคำว่า cultural และ studies

แต่ละอันเลือกกดเข้าไปดูได้ ว่าล่าสุดมีบทความอะไรตีพิมพ์แล้วบ้าง เช่นลองกด "Cultural Studies" ก็จะเป็นรายการบทความในวารสาร Cultural Studies

ถ้าดู ๆ แล้ว มีอะไรน่าสนใจ สามารถเพิ่มบทความที่ต้องการ ลงในห้องสมุดของเราเองได้ โดยการกดที่ลิงก์ [copy]

(ปรับปรุงจากอีเมลที่ส่งหาเพื่อน ๆ และอาจารย์ ในชั้นเรียน)

technorati tags: , ,

2008-06-22

Bigger Better Bottle Bill for Bigger Greener Apple

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2551 ที่ผ่านมา รัฐสภานิวยอร์กได้เห็นชอบให้ปรับปรุงรัฐบัญญัติการมัดจำขวด “Bottle Bill” ของเดิม ซึ่งกำหนดให้มีการมัดจำขวดน้ำอัดลม ขวดละ 5 เซนต์ ให้ครอบคลุมเครื่องดื่มไม่อัดลม เช่น น้ำดื่มบรรจุขวด และ เครื่องดื่มเกลือแร่ ด้วย พร้อมทั้งระบุให้นำเงินมัดจำที่ไม่ได้ถูกแลกคืนส่งแก่กองทุนเพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Fund - EPF) ของนิวยอร์ก

กฎหมายที่ถูกปรับปรุงใหม่นี้ (A-8044-A/Sweeney) มีชื่อเล่นว่า “Bigger Better Bottle Bill” และผ่านสภาไปด้วยคะแนน สนับสนุน 91 เสียง ไม่สนับสนุน 54 เสียง (สภาของนิวยอร์กมีบันทึกการประชุมและการลงคะแนนให้ดูในเว็บไซต์ด้วย ดูได้เลยว่าผู้แทนคนไหนโหวตอะไรไปบ้าง)

ในตอนที่กฎหมายเดิมผ่านใช้ใน พ.ศ. 2525 นั้น ยังไม่มี น้ำดื่มบรรจุขวด ชาพร้อมดื่ม และเครื่องดื่มเกลือแร่ จำหน่าย แต่ตอนนี้พวกมันมีส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 25

ในบันทึกประกอบรัฐบัญญัติระบุว่า กฎหมายนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในการลดเศษขยะและเศษแก้วต่าง ๆ ในที่สาธารณะ ตามถนนหนทาง สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ ชายหาด รวมทั้งลดภาระการจัดการขยะที่แบกรับโดยองค์การปกครองท้องถิ่นและผู้เสียภาษีอีกด้วย

การขยายขอบเขตกฎหมายออกไปให้ครอบคลุมบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มอื่น ๆ ด้วย จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และช่วยประหยัดจากการรีไซเคิล

ประมาณกันว่า กฎหมายฉบับปรับปรุงนี้ จะสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐเข้ากองทุนปกป้องสิ่งแวดล้อมดังกล่าว

กฎหมายนี้ถูกต่อต้านจากบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ ร้านชำ และร้านขายเหล้า ซึ่งจะต้องเสียค่าดำเนินการเพิ่มขึ้น แต่อีกด้านก็ได้รับการสนับสนุนอย่างท้วมท้น จากทั้งองค์กร สมาคม สหภาพแรงงาน และหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ โดยแคมเปญสนับสนุนนี้มีหน้าเว็บอยู่ที่ http://www.nypirg.org/enviro/bottlebill ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มวิจัยประโยชน์สาธารณะนิวยอร์ก - New York Public Interest Research Group (NYPIRG)

สำหรับคนที่สนใจเรื่องกฎหมายการมัดจำบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ BottleBill.org

----

ตอนที่อยู่เยอรมนี ผมเห็นว่าการมัดจำขวดนี่ มันได้ผลดีจริง ๆ นะ ขวดทุกอย่างที่มีมัดจำ จะถูกเก็บเอาไว้รอไปแลกเงินคืน คือน้ำหมดไปแล้ว เราก็ยังใส่มันลงในกระเป๋าได้ครึ่งวันค่อนวัน เพื่อรอหาที่ที่จะไปแลกเงินคืนได้ ถ้าหาไม่ได้ ก็เอากลับบ้าน เอาไปรวมกับขวดที่บ้าน รอเอาไปแลกคืนที่ซูเปอร์ใกล้ ๆ บ้านพร้อมกันทีเดียว ขวดแก้ว 8 ยูโรเซนต์ (4 บาท) ขวดพลาสติก 25 ยูโรเซนต์ (12.50 บาท) บางครั้งเอาไปแลกด้วย+ซื้อของกลับบ้านด้วย ยังมีเงินเหลือ :P

อย่างไรก็ตาม มันก็จะมีขวดมีกระปุกจำนวนนึง ที่ไม่ได้มีมัดจำ ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ใครจะจัดการยังไง โดยหลักแล้วก็เอาไปทิ้งลงในถังแยกขยะ ซึ่งมันก็จะมีหลาย ๆ สี สำหรับกระดาษลัง สำหรับพลาสติก-เหล็ก-ของที่เอาไปรีไซเคิลได้ สำหรับแก้ว (ซึ่งบางที่ก็จะต้องแยกสีแก้วด้วย ใส สีชา สีเขียว) ขยะเปียก-ย่อยสลายได้ บางคนก็ฟิตมาก พวกกระปุกที่มีฉลากอะไรต่าง ๆ เขาก็เอาไปแช่น้ำ ลอกมันออกมา ก่อนเอาไปทิ้งในถังแก้ว ฟิตมาก ๆ

คนเยอรมันหลายคนที่เห็น เกือบทุกคนเลยดีกว่า แยกขยะโดยธรรมชาติ ทำเหมือนกับเป็นเรื่องปกติ คือผมเวลาอยู่บ้านตัวเอง (ที่โน่น) บางทีก็ทำอย่างนั้นไม่ได้ ขี้เกียจ เวลาอยู่ในครัว บางครั้งรีบ ๆ ถุงที่ควรจะทิ้งลงไปมันเต็มเพราะยังไม่ได้เอาไปทิ้ง ก็โยนรังไข่ลงลงถุงขยะเปียกบ้าง โยนขวดน้ำมัน (เป็นพลาสติก แต่ไม่มีมัดจำ) ลงไปบ้าง ไม่ได้เคร่งครัดมากเท่าไหร่ แล้วเวลาไปบ้านเพื่อนก็จะ โห มึงขยันอ่ะ บางบ้านมีห้าถังหกถัง แยกย่อย มีถังหมักขยะจากครัวเอาไปทำปุ๋ยด้วย เห็นแล้วนับถือใจ แต่ยังไม่คิดจะทำเอง ของผมอย่างมากก็คือตามถังในอพาร์ตเมนต์น่ะ เพราะถ้าทิ้งผิดประเภทจะโดนด่าแน่ อพาร์ตเมนต์เค้ามีถัง 4 ประเภท ผมก็แยก 4 ประเภท แค่นั้น

เขียนยาว (เดือนนี้เพิ่งโพสต์ไป 5 อันเอง อันนี้อันที่ 6) ก็แค่จะบอกว่า ใจผมอยากให้เมืองไทย อย่างน้อยก็เมืองใหญ่ ๆ มีกฎหมายลักษณะนี้บ้าง บังคับมัดจำขวด บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อลดจำนวนขยะ แต่อีกทาง ก็สงสัยว่า หรือวิธีที่เหมาะกว่าสำหรับบ้านเรา ก็คืออย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ทิ้ง ๆ ไปเถอะ เดี๋ยวก็มีคนเก็บขยะขาย มาแยกเอาขวด เอากล่อง ที่มีราคาออกไปให้เอง ประเทศไทยอาจจะต้องใช้ระบบไทย ๆ แบบนี้ก็ได้ ?

วิธีลดขยะอื่น ๆ นอกจากขวด ก็มีเช่น การพับกล่องนม เพื่อลดปริมาณตอนจัดเก็บ เคยเห็นครั้งแรกจากบล็อกแถว ๆ Planet TLWG เข้าใจว่ามาจากทางญี่ปุ่น

[ ผ่าน Social Design Notes ]

technorati tags: , ,

2008-06-18

Failfox 3.0

fwd @31o5

“get more Failfox images from here : http://twurl.nl/db85xu

หมาเน่า 3.0 เลย :P

technorati tags: , ,

2008-06-08

Two Bits (book)

หนังสือ Two Bits: The Cultural Significance of Free Software โดย Christopher M. Kelty อาจารย์มานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยไรซ์

อ่านฟรี (PDF - ครีเอทีฟคอมมอนส์ by-nc-sa)

คำบรรยายสรรพคุณ จากใบปลิว:

Drawing on ethnographic research that took him from an Internet healthcare start-up company in Boston to media labs in Berlin to young entrepreneurs in Bangalore, Kelty describes the technologies and the moral vision that bind together hackers, geeks, lawyers, and other Free Software advocates. In each case, he shows how their practices and way of life include not only the sharing of software source code but also ways of conceptualizing openness, writing copyright licenses, coordinating collaboration, and proselytizing. By exploring in detail how these practices came together as the Free Software movement from the 1970s to the 1990s, Kelty also considers how it is possible to understand the new movements emerging from Free Software: projects such as Creative Commons, a nonprofit organization that creates copyright licenses, and Connexions, a project to create an online scholarly textbook commons.

[ ผ่าน anthropologi.info ]

technorati tags: , ,

2008-06-02

Schmap!! interactive guide map

ได้อีเมลจากเว็บไซต์ที่ไม่เคยรู้จัก Schmap

แจ้งว่า ได้เอารูปของเราใน Flickr ที่เป็นครีเอทีฟคอมมอนส์ ไปใช้ในแผนที่นำเที่ยวอันนี้

กดไปเล่น เออ มันก็โอเคนะ รู้สึกยังใช้ยากอยู่ แต่ข้อมูลมันก็โอเคเลย ไม่ได้ละเอียด แต่ก็บอกที่สำคัญ ๆ พร้อมกับตำแหน่งในแผนที่ (ที่เว็บไซต์ใช้ของ Yahoo! ถ้าเป็น widget ใช้ของ Google แปลกดี)

ที่ดีคือ มันดาวน์โหลดมาใช้ในเครื่องได้นะ แบบไม่ต้องออนไลน์ แต่ที่แย่คือ มีเฉพาะ Mac OS X กับ Windows เท่านั้นนะ GNU/Linux อดหมดสิทธิ์

iPhone ก็หมนุ ๆ เล่นได้

ลองเล่นดู Amsterdam, Berlin, Edinburgh, Prague

โอ๊ย อยากเที่ยวววว

technorati tags: , ,

I'm a Comma and best get along with a Question Mark

หลายคน moleculark, escribitionist, thanr, pruet, pradt, lewcpe เล่น - เล่นด้วย (ทำคอมม่ามันหัวกลับอ๊ะ ?)

You Are a Comma
You are open minded and extremely optimistic.
You enjoy almost all facets of life. You can find the good in almost anything.

You keep yourself busy with tons of friends, activities, and interests.
You find it hard to turn down an opportunity, even if you are pressed for time.

Your friends find you fascinating, charming, and easy to talk to.
(But with so many competing interests, you friends do feel like you hardly have time for them.)

You excel in: Inspiring people

You get along best with: The Question Mark

นึกขึ้นมาได้ว่า พิมเคยเรียกเราว่า “พี่ลูกน้ำ” ประมาณว่าตัวผอม ๆ หัวโต ๆ - -" (ส่วนคุณพิมเรียกตัวเองว่า “จุด” เออ คิดได้)

technorati tags: ,