ไปดูการศึกษาว่าโค้ดต่าง ๆ ใน FLOSS (ซอฟต์แวร์เสรี/ซอฟต์แวร์ต้นรหัสเปิด) มีที่มาจากไหนกันครับ การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานที่จัดทำโดยสหภาพยุโรป
Rishab Aiyer Ghosh (November 20, 2006).
Study on the: Economic impact of open source software on innovation and the competitiveness of the Information and Communication Technologies (ICT) sector in the EU [PDF]
the European Communities.
การศึกษานี้ ใช้ Debian 3.1 (รุ่นปี ค.ศ. 2005) ซึ่งเป็นชุดลีนุกซ์ยี่ห้อหนึ่ง เป็นกรณีศึกษา
ตารางแรก ดูว่ามหาวิทยาลัย/ศูนย์วิจัยที่ไหน ที่มอบโค้ดให้กับ FLOSS (Debian) เยอะที่สุด
(ผมคงเลขตารางไว้เหมือนกับต้นฉบับ เพื่อให้ง่ายต่อการอ้างอิง)
คำว่า “Regents Of The University of California” ในตาราง คือองค์กรที่ดูแลมหาวิทยาลัยในระบบ University of California ทุก ๆ มหาวิทยาลัย (Berkeley, San Diego, ...) ในตารางนี้จะนับทั้งหมดรวมกัน
Table 4: Contribution of FLOSS code by selected universities Rank Person-months University / research institution 1 4955 Regents Of The University Of California 2 4774 Massachusetts Institute Of Technology 3 1687 Carnegie Mellon University 4 1340 University Of Chicago 5 1009 INRIA (France) 6 982 University Of Amsterdam (the Netherlands) 7 870 Stichting Mathematisch Centrum Amsterdam (the Netherlands) 8 551 Ohio State University 9 518 University Of Utah 10 505 University Of Notre Dame
จากตารางจะเห็นว่า อันดับ 1 และ 2 คือ UC กับ MIT นั้นใกล้เคียงกัน (ถ้าดูตามประวัติของ UNIX-based OS และ GNU แล้ว ก็คงไม่แปลก) และทิ้งอันดับถัดมาไปไกลทีเดียว
จาก 10 มหาวิทยาลัยแรก มีที่ไม่ใช่้มหาวิทยาลัยในสหรัฐอยู่ 3 แห่ง คือจากฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ (อันดับ 5, 6, 7)
ตารางต่อมา ดูว่าบริษัทไหน ที่มอบโค้ดให้กับ FLOSS (Debian) เยอะที่สุด
Table 5: Cost estimate for FLOSS code contributed by firms Total contribution from firms Number of firms 986 Source lines of code 31.2 million Estimated effort 16444 person-years Estimated cost 1.2 billion Euro Top contributors Rank Name Person-months Cost (mil euro) 1 Sun Microsystems Inc. 51372 312 2 IBM Corp. 14865 90 3 Red Hat Corp. 9748 59 4 Silicon Graphics Corp. 7736 47 5 SAP AG 7493 46 6 MySQL AB 5747 35 7 Netscape Communications Corp. 5249 32 8 Ximian Inc. 4985 30 9 RealNetworks Inc. 4412 27 10 AT&T 4286 26
ตารางนี้อันดับ 1 (Sun) กับ 2 (IBM) ห่างกันมาก ชนิดที่ว่า เอาอันดับ 2-7 มารวมกัน ถึงจะได้เกือบ ๆ เท่าอันดับ 1
หลัก ๆ ที่ Sun อยู่ตรงนี้ คงเป็นเพราะตัว OpenOffice.org (เต็ม ๆ) และ Mozilla กับ XFree86 (เข้าไปช่วยอยู่หลายส่วน)
ส่วน IBM ตัวหลักเลยน่าจะเป็น Linux kernel
ดูตารางข้างล่างประกอบ
Table 3: Production cost estimate for 5 largest FLOSS software products Software package Lines of code Months Person-months Cost (million Euro) openoffice.org 5181285 130 79237 482 kernel-source-2.6.8 4033843 160 145036 882 mozilla (firefox) 2437724 87 25339 154 gcc-3.4 2422056 113 54048 329 xfree86 2316842 90 27860 169
แล้วโค้ดมาจากส่วนไหนบ้างของโลก ?
ตารางข้างล่างนี่ บอกว่าภูมิภาคไหนมอบโค้ดมาเป็นสัดส่วนเท่าไหร่
Figure 29: Share of code contribution by region (number of commits) EU25 45% US Canada 41% China India Korea Japan 2% Others 12%
ถ้าคิดขนาดของภูมิภาคเข้าไปด้วย อียูนี่คงพุ่งปรี๊ดขึ้นไปอีก
ไม่น่าแปลกใจ ที่ภูมิภาคนี้จะเป็นผู้ริเริ่มหลายสิ่งหลายอย่างใน FLOSS โดยเฉพาะเรื่องของการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง
เห็นตัวเลขต่าง ๆ ข้างบนแล้ว ก็เยอะดีนะครับ ทั้งแรงงานและทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปใน FLOSS จากทั้งมหาวิทยาลัยและบริษัท ตีออกมาเป็นตัวเงินได้เป็นระดับพันล้านยูโรเลยทีเดียว
แต่ดูนี่ก่อนครับ
Figure 28: Distribution of code output by individuals, firms, universities Individual Author 61.98% Company 19.22% Foundation 7.89% University 5.62%
สุดท้ายแล้ว แม้ว่าองค์กรต่าง ๆ ไม่้ว่าจะเป็น บริษัท มหาลัย มูลนิธิ ฯลฯ จะสนับสนุน FLOSS เป็นจำนวนมหาศาล แต่ท้ายที่สุดแล้ว มากกว่าครึ่ง 60% ของโค้ด ก็ยังมาจาก “บุคคลทั่วไป” (เช่น คุณ) อยู่ดี
“เรา” มีพลังถึงขนาดนี้
technorati tags: free software, open source, you
4 comments:
มาจากทฤษฎีจำนวนเฉพาะต่างหากเฟ้ย
ข้อมูลเจ๋งว่ะ
เอาไปลง blognone ได้เลยเนี้ยะ
เอาเลย ๆ เอาไปลงได้เลยนะ
ลิงก์ไปหาต้นฉบับได้เลย
ข้อมูลตรงนี้นี่ เมื่อปี 2005 นะครับ
ถึงตอนนี้ก็คงมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีก
อย่าง Microsoft ก็ทำโอเพนซอร์ส
Novell ก็ไปเทคโอเวอร์บริษัทโอเพนซอร์สมาเยอะ
หรือ Sun เอง ก็เปิดซอร์สจาวาแล้ว
ตัวเลข/อันดับอะไรคงเปลี่ยนบ้าง
Post a Comment