ซอฟต์แวร์สำหรับทำ mind mapping/concept mapping นี่มีเยอะมาก
ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีก็เยอะ หรือที่เป็นฟรีแวร์ (แต่ไม่เปิดซอร์สโค้ด) ก็เยอะเช่นกัน
ลองไปดูได้ที่: WP: list of mind mapping software
ตัวที่นิยมใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย คือ FreeMind เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่เปิดให้เอาไปใช้เอาไปแก้ไขเพิ่มเติมได้โดยเสรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ใช้ได้กับหลายระบบปฏิบัติการ ทั้ง Windows, Mac OS X, GNU/Linux ฯลฯ (เป็นจาวา) — อธิบายสรรพคุณ / ดาวน์โหลด / mk: วิธีติดตั้งสำหรับคนใช้ลีนุกซ์ Ubuntu
ส่วนโปรแกรม Semantik (เดิมชื่อ Kdissert) ก็น่าสนใจสำหรับคนที่อยากจะทำเอกสาร ทำรายงาน โดยใช้ mind map เป็นเครื่องมือ โดยมันสามารถสร้างเอกสารจากแผนที่ความคิดให้เราได้ด้วย (pdf, latex, odt, txt, html) เจ๋งดี (ตัวนี้เป็น Python/Qt)
ส่วนใครใช้ Ubuntu อยู่จะลง Kdissert จาก apt-get/Synaptic เลยก็ได้ (แต่จะเป็นรุ่นเก่ากว่า)
แนวความคิดเรื่อง “mind map”/“concept map” หรือ “แผ่นที่ความคิด” นี้ เป็นแนวความคิดที่ใช้กันมานานแล้ว หลายศตวรรษ โดยวิกิพีเดียยกตัวอย่างงานของ Porphyry of Tyros นักคิดคนสำคัญในคริสตศตวรรษที่ 3 (ราว 1,700 ปีก่อน):
Mind maps (or similar concepts) have been used for centuries, for learning, brainstorming, memory, visual thinking, and problem solving by educators, engineers, psychologists and people in general. Some of the earliest examples of mind maps were developed by Porphyry of Tyros, a noted thinker of the 3rd century as he graphically visualised the concept categories of Aristotle. Ramon Llull also used these structures of the mind map form.
สำหรับตัวอย่างของไทย อันหนึ่งน่าจะเป็นงานของท่านพุทธทาส ดังภาพนี้:
(จากหนังสือ พุทธทาสลิขิตข้อธรรม บันทึก นึกได้เอง ผังนี้ท่านพุทธทาสบันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. 2495)
ใครสนใจเรื่อง data visualization ลองไปดู
Milestones in the History of
Thematic Cartography, Statistical Graphics, and Data Visualization
มีภาพและผังต่าง ๆ เยอะมาก แสดงวิวัฒนาการและการพัฒนาในสาขานี้ น่าสนใจมาก (ลิงก์จากคุณคนชายขอบ – ขอบคุณครับ)
technorati tags: free software, mind mapping, FreeMind
1 comment:
น่าสนใจดี :)
Post a Comment