ไปนั่งแป่ว ๆ (แกร่ว ๆ + เปื่อย ๆ) อยู่ร้านหนังสือสองชั่วโมง
เดินไปชั้นบนสุด แผนกหนังสือภาษาอังกฤษ หยิบหนังสือสามเล่ม แล้วก็ผลุบหายไปในโซฟา ...
เบื่อ ๆ
design by committee sucks.
compromisation often bring us all the “ok” things, with a final outcome that nobody likes it.
สามเล่มที่ว่า
The Clash of Civilization .. หยิบมางั้น ๆ แหละ ไม่ได้เปิดอ่านด้วยซ้ำ อยากดูปกเฉย ๆ
The Economist Business Miscellany .. พลิก ๆ ข้ามไปข้ามมา ขำ ๆ ก็ได้รู้อะไรแปลก ๆ เยอะดี อย่างเช่น ชื่อเงิน บาท มันมีที่มาจาก เมื่อก่อน เงิน (แบบ แว๊บ ๆ น่ะ ไม่ใช่แบบ กุ๊งกิ๊ง) ที่มีค่า 1 tical (ชื่อหน่วยเงินไทยสมัยก่อน .. อ่านว่าอะไรอ่ะ ?) มันน้ำหนักประมาณ 1 บาท (15 กรัม) ... หรือความรู้อย่าง แม้ market cap ของตลาดหุ้นสิงคโปร์จะใหญ่กว่าเราเกือบ 2 เท่า (ข้อมูลปี 2004) แต่มูลค่าการซื้อขายของตลาดบ้านเราเยอะกว่า ... หรือคำว่า boss ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษาดัชต์ bass หมายถึง เจ้านาย .. ก็เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เศรษฐกิจนี่แหละ สนุก ๆ (แต่ก็มีที่ผิดนะ เช่นในหมวดเกี่ยวกับ ชื่อบริษัทมีที่มายังไง เค้าว่าชื่อ Sun Microsystems มาจาก Stanford University Systems .. จริง ๆ มันมาจาก Stanford University Network ตะหาก)
ที่ชอบใจ ก็คงเป็น In Praise of Slow .. แค่ชื่อก็เหมาะกับคนเฉื่อย ๆ เมื่อย ๆ อย่างเราเต็มทีแล้ว
คนเขียนตั้งคำถามว่า เราจะเร็วไปถึงไหน เร็วกว่าหมายถึงดีกว่าเสมอ ? .. [ปลาใหญ่กินปลาเล็ก] ปลาซิ่งกินปลาอืด ทุกครั้งไป ?
เรื่องเริ่มจากที่คนเขียนกำลังต่อแถวขึ้นเครื่องบิน แล้วก็ไม่รู้จะทำอะไรดี จะยืนเฉย ๆ มันก็ดูไม่ productive เอาเสียเลย ก็เลยอ่านหนังสือพิมพ์ละกัน แล้วก็ไปสะดุดกับข่าวที่ว่า มีคนประดิษฐ์ "นิทานก่อนนอนฉบับ 1 นาที" ขึ้นมา เพื่อความสะดวกของพ่อแม่ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาอ่าน ...
ทีแรกคุณคนเขียนก็ดีใจไปกับเขาด้วย เพราะตัวเองก็มีลูกชายสองขวบอยู่ที่บ้าน แล้วก็เจอปัญหาลูกชายชอบให้อ่านนิทานก่อนนอน ซึ่งก็ขัดไม่ได้ แต่ใจน่ะก็อยากจะไปไปเคลียร์งานอื่น ๆ ที่ค้าง ๆ อยู่ เป็นอย่างนี้ทุกคืน แล้วจะเร่ง ๆ อ่านให้จบก็ไม่ได้ เพราะถ้าทำงั้น เจ้าลูกชายก็จะร้องไห้โวยวาย บอกว่าพ่ออ่านเร็วไป หรือไม่บางทีอ่านจบเรื่องนึงแล้ว ก็ยังมีขอแถมอีกเรื่อง ... ถ้าได้เจ้านิทาน 60 วิ นี่มา ก็คงจะเข้าที เล่าคืนละ 6-7 เรื่องยังได้เลย
แต่ทันใดนั้น เค้าก็นึกอะไรขึ้นมาได้ เฮ้ย นี่มันจะเกิดไปแล้วรึเปล่า เค้าบ้าไปแล้วรึเปล่าเนี่ย ...
อันนั้นก็เป็นจุดเริ่ม ในหนังสือเค้ายกตัวอย่างเยอะแยะ พร้อมสถิติ ตัวเลขต่าง ๆ พอหอมปากหอมคอ อ่านข้าม ๆ (ยังไม่ได้ซื้อ) ไปได้ประมาณยี่สิบหน้า ... ชักจะอยากได้แล้วล่ะสิ แต่ขอเคลียร์ที่ซื้อ ๆ ไว้เยอะ ๆ เดือนที่แล้วก่อนนะ - -"
ในเล่มยกกรณีของทนายคนนึง ที่เมื่อก่อนนัดเจอลูกความครั้งแรกแค่ 10 นาที รับเอกสาร คุยนิด ๆ หน่อย ๆ แล้วก็จบ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ เขาก็ทำกัน แต่เขาก็พบว่า ไม่นานหลังจากพบกัน เขาก็ต้องโทรกลับไปหาลูกความรายนั้นอีกหลายครั้ง เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือบางครั้งเขาก็พบว่า การได้คุยกันแค่แป๊บ ๆ นั้น ทำให้เขาไม่รู้เลยว่าจริง ๆ แล้วลูกความต้องการอะไร มีแรกบันดาลใจอะไรลึก ๆ ในคดีนี้ หรือมีอุปนิสัยใจคอเป็นอย่างไร ซึ่งสำคัญมากในการทำคดี หลายครั้งที่เขาต้องเริ่มทำคดีใหม่หมด เพราะในตอนแรกเริ่มไปผิดทาง ... สุดท้าย เขาตัดสินใจ เปลี่ยนการนัดพบลูกความครั้งแรกใหม่ เป็น 2 ชั่วโมงเต็ม คุยกับลูกความอย่างไม่รีบร้อน ค่อย ๆ เก็บรายละเอียด ... แล้วก็พบว่า ในกรณีของเขานั้น การยอมไปอย่างช้า ๆ ทำให้มีผลิตภาพ (productivity) มากขึ้นเสียอีก (ซึ่งคงฟังค้านหูในทีแรก ถ้าเราเชื่อว่า ทำเร็วกว่า ก็ย่อมต้องได้งานมากกว่า)
ถ้าเราตั้งใจเขียนหนังสือขึ้นมาหนึ่งเล่ม แล้วคนอ่านอ่านด้วยวิธี speed reading .. ก็คงเคือง ๆ
... "ระหว่างบรรทัด" เป็นเรื่องเสียเวลา ... เศร้านะ
ญี่ปุ่นดูจะเป็นชาติที่มีคนตายจากการทำงานหนักเกินไป (overwork) มากที่สุดในโลก (ในหนังสือเขาว่า มีคำเรียกโดยเฉพาะในภาษาญี่ปุ่นด้วย จำไม่ได้แล้วว่าอะไร kurashi หรืออะไรแนว ๆ นี้แหละ)
ช่วงทศวรรษ 1980 ตอนที่ตลาดหุ้นโตเกียวบูมสุด ๆ มีโบรกเกอร์คนนึง (จำชื่อไม่ได้เช่นกัน รู้แต่ว่าเป็นคนญี่ปุ่น :P) ทำงาน 90 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ได้รับการสรรเสริญจากบริษัท และผู้คนในอาชีพเดียวกัน ยกให้เป็นบุคคลตัวอย่าง
ปี 1989 ตลาดหุ้นโตเกียวตก โบรกเกอร์คนเดียวกันนี้ ทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม ผลคือ วันนึงเขาหัวใจวายเฉียบพลัน ตายทันที ... ตอนอายุ 26 ปี (26 ปี)
สงสัยตอนเด็ก ๆ ไม่เคยดูอิคคิวซัง
ชีวิต ยิ่งรีบใช้ ก็ยิ่งหมดเร็วรึเปล่า ?
3 comments:
ชีวิต รีบใช้... กับใช้ชีวิต มันเหมือนกันปะ
แล้วถ้าพรุ่งนี้มีคนบอกว่าโลกแตก ..ใครที่จะได้ประโยชน์หรือ utility มากกว่ากัน ระหว่างคนที่ชีวิต รีบใช้ ..กับคนที่ใช้ชีวิต ???
(ถามเองงงเองวะ)
เทอมนี้เรียนวิชาเทคนิคการทำงาน
อาจารย์สั่งให้อ่านเนื้อหาในเว็บนึง เกี่ยวกับการจัดการเวลา ก็มีเรื่องนี้เหมือนกันนะ
Stan Nadolny เขียนหนังสือไว้เมื่อปี1983
ชื่อว่า Die Entdeckung der Langsamkeit
มีเวอร์ชั่นแปลออกมา คือ The Discovery of Slowness
>> market cap ของตลาดหุ้นสิงคโปร์จะใหญ่กว่าเราเกือบ 2 เท่า (ข้อมูลปี 2004) แต่มูลค่าการซื้อขายของตลาดบ้านเราเยอะกว่า
ตลาดหุ้นไทยมีสภาพคล่องมากกว่า แต่ตลาดหุ้นสิงคโปร์มีเสถียรภาพมากกว่า รึเปล่า???
สภาพคล่องมันคำนวณจาก Current Asset/ Current Liability อะ
ก็ลองคิดดูล่ะกันวะ
Post a Comment