พบสิ่งบันเทิงใจจาก Planet TLWG
พี่เทพ โพสต์เล่าเรื่องบทความ การคิดแบบโอเพนซอร์ส
(Open Source Thinking) ใน วารสาร OpenSource2Day ฉบับที่ 13 และย้อนอ้างถึงโพสต์ที่พี่เทพเคยเขียนไว้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมโอเพ่นซอร์ส
อาจารย์ [อ.ธวัชชัย เอี่ยมไพโรจน์ แห่ง ม.บูรพา] ได้เปรียบเทียบพฤติกรรมของนิสิตนักศึกษาบางกลุ่มที่ไม่ค่อยลงแรงอะไรกับวิชาเรียน กับ mindset ของ "ผู้ที่มีความเชื่อในโอเพนซอร์ส" ว่าแตกต่างกันปานใด ซึ่งอาจารย์ได้สาธยาย mindset ดังกล่าวไว้ได้ชัดเจนครบถ้วน เลยขอยกมากล่าวถึงในที่นี้บางส่วน ตัวอย่างเช่น:
ผู้ที่มีความเชื่อในโอเพนซอร์ส จะใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แม้จะมีซอฟต์แวร์ที่ดีกว่าให้ใช้ เพราะเขาต้องการซอร์สโค้ด (อันที่จริง อาจจะพูดได้อีกอย่างว่า ต้องการเสรีภาพ สำหรับผม ผมใช้คำว่า "ใช้แล้วสบายใจ" เพราะการมีซอร์สโค้ดก็หมายความว่า ผมจะสามารถดัดแปลงซ่อมแซมอะไรเองได้ ซอฟต์แวร์เป็นของผมอย่างเต็มที่)
ผู้ที่มีความเชื่อในโอเพนซอร์ส จะมีปฏิกิริยาเชิงรุกเมื่อพบปัญหา โดยจะพยายามค้นหาวิธีแก้จากอินเทอร์เน็ต อ่านเอกสาร ทดลองทำ หรือกระทั่งนั่งดีบั๊ก แต่ก็ไม่ได้ทำอย่างนี้กับทุกเรื่อง จะทำเฉพาะในโปรแกรมที่สนใจ
คนโอเพนซอร์สจะเข้าร่วมวงสนทนา เช่น mailing list เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคนอื่น และทุ่มเทเวลาให้กับการสร้างทักษะการแก้ปัญหา
ก็พอดีกับที่ วีร์ โพสต์เรื่อง double click เพื่อเลือกคำเดียวใน Firefox หลังจากที่ไปถามไว้ในเมลกลุ่ม Thai Linux/FOSS developers
----
ผมเคยรวบรวมข้อเขียน บทความ บทแปลต่าง ๆ เกี่ยวกับชุมชนโอเพ่นซอร์สในไทย ที่หลาย ๆ คนเคยเขียนเคยพูด เอาไว้ที่ Thailand, FOSS, and Community และพี่เทพเคยสรุปประเด็นที่หลาย ๆ คนเคยมาแชร์กันไว้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ในงาน TLUG: TLUG Resurrection (ในลิงก์ก่อนหน้านี้ มีวีดิโอบางส่วนจากงานนี้ด้วย)
ขยับมาใกล้กว่านั้น เคยคุยกับพี่เทพและอีกหลายคนผ่านบล็อกโพสต์แบบมาเป็นชุด Postcardware → The Condition of Free Culture → Free Culture
และเร็ว ๆ นี้เอง พี่เทพได้โพสต์เรื่องกลุ่มผู้ใช้ซอฟต์แวร์สามกลุ่ม ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องโอเพ่นซอร์สด้วย พร้อมรูปประกอบ ผมว่าอธิบายภาพได้ชัดเจนดี Romance of the Three (Software) Kingdoms
... ผมคิดว่าการสื่อสารเรื่องเหล่านี้และพูดคุยลักษณะนี้นี่แหละ ที่ไม่ได้อยู่ในโครงการส่งเสริมโอเพ่นซอร์สต่าง ๆ ที่รัฐได้สนับสนุนในช่วงผ่านมา เรามีฮาร์ดแวร์แล้ว มีซอฟต์แวร์แล้ว ขาดก็แต่อะไรซักอย่างแวร์ในหัวเรานี่แหละ ...
technorati tags: mindset, free culture, FOSS, free software
3 comments:
ผมคิดว่า กระบวนการที่ทำให้เกิดสังคม Opensource ได้นั้น คือ
1. ผู้คนเห็นคุณค่าของงานที่ทำขึ้น ไม่ใช่ขโมยของกันจนเป็นปกติ
2. จากข้อ 1. ทำให้เกิดระบบลิขสิทธิ์ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
3. ผู้คนพยายามลดค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธ์ โดยใช้ซอฟแวร์ทดแทน (Freeware/Opensource) ซึ่งต้องยอมรับในข้อจำกัด และยอมรับในการพึ่งตัวเอง
4. สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ มีอิสระในการแก้ไขสิ่งต่างๆ เกิดการแลกเปลี่ยนและพัฒนา และตอบแทนสังคม Opensource ด้วยปัจจัยต่างๆ
เมืองไทยขาดข้อไหนเอ่ย? :P
non-technical person ไม่มีทาง มี mindset แบบนี้ แน่ๆ
มี source แล้ว สบายใจ ตรงไหน
ก็ต้อง จ้าง คนอื่น แก้ source ให้ อยู่ดี
Post a Comment