ย้ายบล็อกไปที่ bact.cc แล้วนะครับ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
หยุด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ฟรี 2GB จาก Dropbox (sync กับ Windows, Linux, Mac, iPhone, Android ฯลฯ ได้)

2008-08-19

[review] Doing Ethnographies. (assignment)

ส่งการบ้านวิจารณ์หนังสืออีกแล้ว

Doing Ethnographies. โดย Mike Crang และ Ian Cook (Sage Publications, 2007)

ด้วยรูปร่างหน้าตาเผิน ๆ เหมือนหนังสือ “ฮาวทู” แต่เมื่ออ่านช่วงต้นก็รู้สึกแว่บว่า “ต่อต้านฮาวทู” จนอ่านต่อก็รู้สึกว่า “อาจจะฮาวทู”, Doing Ethnographies เป็นหนังสือที่ควรอ่านมากกว่าหนึ่งรอบ ในวาระ วิธี ลำดับ และทิศทางต่าง ๆ กัน. ด้วยการสะกิดผู้อ่านให้นึกถึงทางเลือกยุ่บยั่บย้อนแย้งอยู่ทุกระยะ แครงก์และคุกสองผู้เขียนไม่เพียงแต่เล่าเรื่องราวยุ่งเหยิงในการ(จะไป)ทำชาติพันธุ์วรรณนาที่ไม่ค่อยจะมีใครเล่านัก แต่ยังทำให้เรารู้สึกสับสน อย่างที่เราควรจะรู้ว่ามันจะสับสนอย่างไรในสนาม. ผู้เขียนเสนอว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นก็คือตัว ความสัมพันธ์ของมนุษย์ นั้นเอง. ไม่เพียงผู้ไขประตูสู่สนามเท่านั้นที่เป็นมนุษย์ แต่รวมถึงผู้ที่ถูกศึกษาและผู้ศึกษาด้วย, เหล่านี้นำไปสู่ประเด็นจริยธรรมและความเป็นภววิสัยของการศึกษา และสิ่งที่ผู้เขียนย้ำคือ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ข้อมูลดิบ” ทุกอย่างล้วนถูกประกอบสร้าง-โดยตัวผู้สังเกตก็มีส่วนกำหนด ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมีอิทธิพลในการประกอบสร้างข้อมูลดังกล่าวเสมอ และความคิดต่าง ๆ ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากความคิดก่อนหน้าอื่น ๆ. จงเป็นมนุษย์ที่ปรับตัวและรู้ตัวในทุกขณะ อาจเป็นคำแนะนำที่ไม่มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวของหนังสือ “อาจจะฮาวทู” เล่มนี้.

บทวิจารณ์ (PDF, 5+1 หน้า จัดหน้าใหม่ เพิ่มขนาดฟอนต์ กลายเป็น 7 หน้า) เป็น CC-by-3.0

ฉบับดั้งเดิมของหนังสือเล่มนี้ (1995 เขียนระหว่างที่ผู้เขียนทั้งสองกำลังทำวิทยานิพนธ์อยู่) สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่ Durham e-Prints

technorati tags: , ,

6 comments:

Beamer User said...

ยังมีคะแนนเหลือให้ได้เีอกเหรอ ส่งช้าปานนั้น

bact' เนี่ยเป็นวิศวกรปะ

bact' said...

fat dog father: คิดว่าคงไม่เหลือแล้ว :p

เขียนคร่าว ๆ ไปรอบนึงแล้ว แต่ไม่ได้ทำให้จบ
เจอประเด็นที่คิดว่าน่าสนใจ เลยเปลี่ยนไปค้นอันอื่น (บางอันที่เพิ่มมาในอ้างอิง)
แล้วเขียนใหม่ หน้าตาสุดท้ายออกมาไม่เหมือนตอนแรก

ทำไปทำมาไม่ได้เน้นเรื่องส่ง-ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่เน้นสำหรับ "การบ้าน"-ไปเน้นเรื่องอยากซะมาก

bact' said...

วันนี้ได้คืนมาละ (โดนปรับตามคาด)

Beamer User said...

ปกติควรจะได้ศูนย์นะน้อง

งานที่ส่งไม่ทันกำหนดถึงจะดีแค่ไหนก็ไร้คุณค่า

bact' said...

ก็เชื่อว่าสามารถเป็นอย่างนั้นได้ครับ
เช่นโครงการซอฟต์แวร์ที่ deploy ได้ไม่ทันวันกำหนดเปิดตัว เนื่องจากคุณค่าอันนั้นอาจจะเป็นการเปิดตัวให้ทันแผนการตลาด ซึ่งเชื่อมกับแผนธุรกิจ อันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความต้องการโครงการซอฟต์แวร์นั้นแต่แรก

ในกรณีของผม คุณค่าที่ผมให้กับงานชิ้นนี้ ผมเห็นว่า ที่อาจารย์ให้อ่านและวิพากษ์ เพราะว่ามันจะเป็นตัวปูพื้นไปสู่การทำงาน fieldwork ที่อาจารย์จะมอบหมายให้สัปดาห์ถัดไป
แต่พออ่านพ้นส่วนแรกของเล่มที่เป็นประเด็นถกเถียงหลักของหนังสืออย่าง ความรู้/อำนาจ แล้ว
ในส่วนที่สองของหนังสือ ผมพบว่ามันไม่ได้ตอบโจทย์อันนั้น คือผมคิดว่าผมเอาเรื่องในบท 4-7 ไปใช้กับงานภาคสนามของผมไม่ได้ (ดังที่ได้วิพากษ์ไว้ในตัวบทวิจารณ์) ก็เลยไปค้นเล่มอื่นมาอ่าน -- เพื่อเป็นฐานในการวิจารณ์ + เพื่อปูพื้นตัวเองในการไปทำงานภาคสนาม (ในสัปดาห์ถัดไปและอื่น ๆ) ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่ผมให้คุณค่าด้วย นอกเหนือจากการส่งงาน

ผมดีเฟนต์จุดนี้เฉพาะงานนี้นะ ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ 'เหตุผล' อันนี้ได้กับงานอื่น ๆ

และจริง ๆ แล้ว ถ้าอาจารย์เขาให้คุณค่ากับการให้งานนี้ เพราะว่าอยากจะวัดว่าสามารถทำอะไรได้เท่าไหนในเวลาที่กำหนด - ซึ่งแสดงว่า ถ้าส่งเลยกำหนดก็จะทำให้ไม่สามารถวัดได้ เท่ากับเหตุผลในการให้งานตั้งแต่ทีแรกนั้นได้เสียไปแล้ว = คุณค่าของงานเป็นศูนย์ ผมก็โอเคนะ

คือก็แล้วแต่จะให้คุณค่ามันยังไงน่ะ
ในฐานะการบ้าน มันมีคุณค่าเป็นศูนย์ หน่วย A
ในฐานะผมได้ explore แนวคิดชุดหนึ่งที่ผมสนใจ ก็มีคุณค่าอีกอย่าง สมมติ 5 หน่วย B
ในฐานะที่ทำให้ fat dog father มาช่วยวิพากษ์วิธีการทำงานของผม ก็มีคุณค่าอีกอย่าง สมมติ 10 หน่วย C

ส่วนอาจารย์ประจำวิชาเขาจะให้คุณค่ามันยังไง ก็มีความเป็นไปได้ต่าง ๆ นานาเช่นกันน่ะครับ



ฟังดูจะเป็นการเรียนตามอัธยาศัยไปหน่อย
แต่ผมก็อยากให้มันก็เป็นอย่างนั้นน่ะครับ ถึงได้มาเรียน

Beamer User said...

โหเครียด

ผมมองในจุดนี้นะ (อาจจะแรง ได้โปรดอย่าโกรธ)
1. เราต้องแยกให้ออกว่าอะไรคือการบ้าน อะไรคืองาน
วิจัย อะไรคือข้อสอบ

ถ้าการบ้านมีผลกับคะแนนแบบอิงกลุ่ม อะไรคือความ
ยุติธรรม ในเมื่อเราส่งช้าแล้วได้คะแนน โกงโดยไม่รู้
ตัวหรือ อาจารย์ก็ร่วมมือด้วย

2. ถ้าเราเรียนแล้วบอกว่าไม่สนคะแนน งานที่เราทำคือ
งานวิจัย ไม่ต้องมีอาจารย์ตรวจ คนที่ตรวจคือเวทีวิจัย
อยากเป็นอย่างนั้นก็ไม่เห็นต้องเรียน เขียนบทความส่ง
มติชน ไม่ดีกว่าเหรอ ได้ประโยชน์กว่า บรรณาธิการจะ
ตรวจให้ด้วย

ผลเสียของการยอมให้มีการส่งงานช้า
1. เมื่อหนึ่งคนทำได้ คนอื่น ๆ ก็ทำได้ ระบบนี้ฝังราก
ในจิตใจของคนในประเทศไทยมาก ๆ เพราะบ้านเรา
ไม่มีสงคราม อุดมสมบูรณ์ ไม่มีภัยพิบัติมากนัก

สมมติว่าเราดี ช้าเพราะอยากได้ดี แต่คนทั่วไปหล่ะ

2. การล่มสลายของมือถือ Siemens เป็นการตอบ
โจทย์ของความเสียหายของความช้าได้เป็นอย่างดี
การบินไทยเป็นตัวอย่างถัดไป (ซื้อเครื่องใหม่ช้า)

3. การยอมให้ส่งการบ้านช้า ก็ไม่ต่างอะไรกับการ
เลื่อนตารางเวลาการบิน เพราะท่านนายกฯ มาสาย
หรอก