ไปประชุมมาหลายวัน (วีร์ก็ไป) กลับมามีเรื่องเยอะแยะ
พร้อมเพรียงโดยสันติ — พุธ 19 ธ.ค. 8:00-19:00 น. — หน้าสภาของเรา
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)
สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย (สค.ปท.)
เครือข่ายสลัมสี่ภาค
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนและองค์กรภาคประชาชนทุกเครือข่าย
รวมพลังปิดสภาครั้งที่ 2
ด้วยโซ่มนุษย์ล้อมสภา
ร่วมกันยุติบทบาทของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการเร่งออกกฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
พุธ 19 ธ.ค. 8:00-19:00 น.
ยึดหลักสันติวิธีโดยเคร่งครัด
ยืนยันไม่เป็นเครื่องมือกลุ่มผลประโยชน์อำนาจทางการเมืองใด ๆ
และไม่ยอมให้มีการสร้างสถานการณ์ยกเลิกการเลือกตั้ง
เริ่มการเลือกตั้งแล้ว กำลังจะมีสภาผู้แทนของประชาชน แต่สภาแต่งตั้งยังเร่งรีบออกกฏหมายที่ละเมิดสิทธิของประชาชนอย่างรุนแรงเช่นร่างพรบ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร เป็นเรื่องที่ขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิงและเป็นการปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณากฎหมาย
กฎหมายที่สนช.ต้องหยุดพิจารณา:
1. ร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร มีสาระสำคัญเป็นการขยายอำนาจให้กองทัพควบคุมสังคม โดยปราศจากการตรวจสอบจากสถาบันตุลาการ อันเป็นภัยคุกคามต่อหลักสิทธิเสรีภาพ หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
2. ร่างกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรน้ำ มีสาระสำคัญเป็นการให้รัฐมีอำนาจบริหารจัดการน้ำแบบเบ็ดเสร็จใน 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำ การผันน้ำ การทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำในยามน้ำท่วม, รูปแบบการบริหารจัดการหรือการใช้น้ำ และรูปแบบการกำหนดการใช้ที่ดิน รวมทั้งไม่รับรองสิทธิของชุมชนที่จัดการน้ำที่มีอยู่เดิม ซึ่งได้รับการรับรองตามมาตรา 66 ของรัฐธรรมนูญ ตลอดจนผู้ใช้น้ำต้องเสียค่าใชัน้ำ
3. ร่างกฎหมายการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มีสาระสำคัญเป็นการคุ้มครองคลื่นความถึ่ให้กับหน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของสื่อวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน เช่นคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ของทหาร กรมประชาสัมพันธ์ ไม่สามารถถูกจัดสรรใหม่ และการให้รัฐมีอำนาจควบคุม หรือห้ามเสนอข่าวสารโดยการสั่งการด้วยวาจาหรือหนังสือระงับรายการ
4. ร่างกฎหมายว่าด้วยเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ มีสาระสำคัญเป็นการให้อำนาจรัฐนำรัฐวิสาหกิจมาเปลี่ยนสภาพให้เป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด และการกระจายหุ้นแก่เอกชน อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ และทำให้ประชาชนเสียสิทธิที่จะเข้าถึงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
5.-7. ร่างกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง มีสาระสำคัญเป็นการแปรรูปมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เข้าสู่การบริหารโดยอาศัยกลไกตลาด อันจะมีผลกระทบต่อสิทธิการเข้าถึงการศึกษาของประชาชน อิสรภาพทางวิชาการ การศึกษารับรู้ของประชาชนทางด้านสังคม และหลักประกันทางด้านสวัสดิการของบุคลากรของมหาวิทยาลัย
8. ร่างกฎหมายสภาการเกษตรแห่งชาติ มีสาระสำคัญเป็นการให้อำนาจผู้แทนหน่วยงานของรัฐร่วมกับผู้แทนองค์กรธุรกิจการเกษตรในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนาการเกษตรเป็นสำคัญ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการเกษตรดังกล่าว
จอน อึ๊งภากรณ์
ประธานกป.อพช.
ผู้ประกาศ
ลงชื่อ ปิดสภานิติบัญญัติรักษาการ หยุดกฎหมายละเมิดสิทธิประชาชน
http://prachatai.com/petition/stopnla
พร้อมเพรียงโดยสันติ
พุธ 19 ธ.ค.
8:00-19:00 น.
หน้าสภาของเรา
No comments:
Post a Comment