นายประจิณ แสดงความเห็นต่อกรณีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพว่า คดีนี้น่ากลัว แต่ก็ท้าทาย เพราะคิดว่า คนไทยหลายคนอึดอัดกับคดีอย่างนี้เหมือนกัน น่าจะมีซักคนต่อสู้คดีนี้แบบยุติธรรมซักตั้ง
“โลกเปลี่ยนแล้วไม่ควรมีกฎหมายแบบนี้ ขนาดสมัยพระพุทธเจ้ายังไม่มีกฎหมายแบบนี้ ที่บอกว่าห้ามว่า ตอนที่ออกพรรษา พระพุทธเจ้ายังปวารณากับพระภิกษุ ว่าถ้ามีข้อบกพร่องให้พระภิกษุตำหนิได้ ขนาดพระพุทธเจ้ายังให้ตำหนิได้ ยุคสมัยนี้น่าจะคุยกันได้ ถ้าผิดก็ใช้กฎหมายหมิ่นประมาท ไม่ใช่ห้ามวิจารณ์เลย” นายประจิณ กล่าวและว่า จะลองดูกับคดีนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์กับคนไทยในภายภาคหน้า แต่เสี่ยงหน่อย
จากข่าว: กองปราบเรียกสอบ ‘พยาน’ คดีกระทู้ประชาไทอาจเข้าข่าย ‘หมิ่นฯ’
กฎหมายที่ประหลาดที่สุดในระบบกฎหมาย ในแง่ที่ว่า ผู้ฟ้องไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหายก็ได้ ใครอยากฟ้องก็ฟ้องได้เลย
ที่สุดกฎหมายนี้ก็เลยกลายเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมืองมาโดยตลอด
ผมเห็นว่าประเทศนี้อ่อนแอเรื่องวัฒนธรรมการวิจารณ์เหลือเกิน
ตัวอย่างใกล้ ๆ ตัว ที่เห็นก็คือ มีอยู่ช่วงหนึ่งน่าจะครึ่งปีได้แล้ว ที่ผมเข้าดู ๆ ในวิกิพีเดียไทยบ่อยหน่อย
ผมเห็นผู้ใช้รายหนึ่งชื่อ patiwat พยายามจะแสดงความเห็นชี้แนะเกี่ยวกับบทความจำนวนหนึ่ง ทั้งเรื่องของความถูกต้องของข้อมูล เรื่องความน่าเชื่อถือ และการอ้างอิง
บ่อยครั้ง ที่เสียงตอบรับที่ได้จากคนกลุ่มหนึ่งในวิกิพีเดียไทย ถ้าไม่ใช่เทมเพลต {{ก็แก้ซะ}}
ก็จะเป็นคำถากถางเหน็บแนม หรือไม่ก็พฤติกรรมประหลาด ๆ
(ผมคิดว่าคนทำเขาก็คงจะมีเหตุผลมีตรรกะของเขา เพียงแต่ผมยังไม่รู้ไม่เข้าใจเท่านั้นเอง - อยากจะเข้าใจกันมากกว่านี้)
วิกิพีเดีย เป็น สารานุกรม-เสรี ที่ได้รับอิทธิพลแนวคิดอย่างมากมาจากวัฒนธรรมโอเพนซอร์ส/ซอฟต์แวร์เสรี
(กระทั่งตัวสัญญาอนุญาตที่วิกิพีเดียเลือกใช้ ก็ริเริ่มโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี)
แน่นอนว่า ในวัฒนธรรมโอเพนซอร์ส/ซอฟต์แวร์เสรี เราให้ความสำคัญกับการลงมือทำอย่างมาก ใครอยากได้อะไรก็ลงมือทำเอาเอง
“show me the code”
แต่ก็ชุมชนโอเพนซอร์ส/ซอฟต์แวร์เสรีนี้แหละ ที่ให้ความสำคัญกับการติชมอย่างตรงไปตรงมาเช่นกัน
“given enough eyeballs, all bugs are shallow”
“ขอให้มีสายตาเฝ้ามองมากพอ บั๊กทั้งหมดก็เป็นเรื่องง่าย”
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโค้ดนี้ทำงานได้ดีหรือไม่ ถ้าเราไม่ฟังเสียงวิจารณ์ติชม ? เราจะแก้บั๊กซอฟต์แวร์กันอย่างไร ถ้าไม่มีคนแจ้งว่ามีบั๊ก ?
ผมไม่รู้ว่าสังคมไทยทั่วไปมีทัศนคติอย่างไร กับการวิพากษ์วิจารณ์ หรือเห็นว่า การวิพากษ์วิจารณ์ ก็เป็นเหมือนกับการ “เอาเท้าราน้ำ” ในสุภาษิต “มือไม่พายอย่าเอาเท้าราน้ำ” ? ไม่ทำก็ห้ามวิจารณ์ ?
ท่าทีบางส่วนในสังคมออนไลน์ที่ผมเจอมา ดังกล่าวไปข้างต้น กับท่าทีหลายอย่างของรัฐที่เจอในข่าว รวมถึงท่าทีของคนในระบบยุติธรรมไทยบางคนที่ฟ้องปิดเว็บ ThaiJustice.com เพราะหาเว็บนั้น 'หมิ่นศาล' เนื่องจากไปวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาล ทำให้ผมอยากจะเชื่อว่าสังคมไทย โดยเฉพาะคนในระบบราชการ-อนุรักษนิยม คงจะรับไม่ได้กับการวิพากษ์วิจารณ์จริง ๆ
อย่างไรก็ตาม สกว.ทำให้ผมสบายใจขึ้นมาบ้าง เพราะดูแล้วคงจะไม่ได้คิดอย่างนั้นแน่ อีกทั้งยังเห็นความสำคัญของการวิจารณ์ จึงได้สนับสนุนโครงการวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมการวิจารณ์ในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 พร้อมทั้งตีพิมพ์หนังสือในชุดนี้ออกมาเป็นจำนวนมาก ก็ขอให้โครงการบรรลุผลดังที่ตั้งไว้ด้วยเถอะครับ ผมเอาใจช่วย!
จะทำ ก็ต้องพร้อมถูกวิจารณ์
ถ้าไม่พร้อมถูกวิจารณ์ ก็ไม่ควรจะมีสิทธิ์ได้ทำอะไร
จะเอาแค่อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ มันต้องมาคู่กัน
ถ้าจะมีอำนาจ ก็ต้องพร้อมมี ความรับผิด (accountability) ความรับผิดชอบ (responsibility) และพร้อมถูกวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งรวมถึงในสื่อและในงานวิชาการด้วย
พวก ultra-royalist น่าจะคิดตรงนี้เสียบ้าง
technorati tags: criticism, lese majeste, Thailand
3 comments:
ผมว่าบางทีคุณอาจจะมกอยู่กับตัวเองมากไป หัดออกมาคุยกับคนอื่นเขาบ้างจะได้ตาสว่างขึ้น สิทธิของคุณหรือทำอะไรก็ได้ที่ไม่กระทบสิทธิคนอื่น ไม่ใช่ว่ากูจะทำอะไรก็ได้มันคงไม่ใช่แบบนั้น คุยกับคนที่เขาเห็นต่างจากคุณมั่งก็ดี ไม่ใช่คุยกับพวกเดียวกันกันก็ยิ่งไปกันใหญ่มองมุมเดียวมันก็ เพ้อไปกันใหญ่
นักวิทยาศาสตร์ดัง ๆ หน้าใหม่เกิดขึ้นน้อยเพราะว่า เก่งอย่างไรก็ไม่่ถูกยกย่องเท่าเขาคนนั้น บางทีอาจจะเก่ง
กว่า
นักคิดนักเขียน กี่ปีกี่ชาติก็มีอยู่ไม่กี่คน อ้างถึงกันแต่คนเดิม ๆ จะทำให้วัฒนธรรมการวิจารณ์เปลี่ยน
คงทำไม่ได้ เพราะต้องรอถามคนเดิม ๆ นั้น ๆ ก่อน
anonymous: ขอบคุณมากครับ
isudonto2000: เกิด แต่ไม่ดัง
จริงนะ อย่างถ้าพูดถึงในทีวี ถ้าจะมีรายการไหนที่คุยเรื่องจีน ก็จะมีวิทยากรรับเชิญเวียนไปเวียนมาหน้าเดิม ๆ ไม่กี่คน (คนที่เป็นนักเขียนผู้หญิงคนนึง กับคนที่เป็นตัวเล็ก ๆ ชอบใส่เสื้อจีน ๆ สีน้ำตาล ๆ คนนึง)
ทั้ง ๆ ที่คนรู้เรื่องจีนมีมากมาย
Post a Comment