รายงาน เสวนา ร่าง พรบ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2549 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รายงานโดยประชาไท: ไม่ชอบธรรมตั้งแต่การออกกฎหมายโดย สนช.
นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภากทม.:
“รัฐบาลนี้ควรจะแค่รักษาการ ไม่ใช่ออกกฎหมาย”
“เพียงแค่อ่านมาตรา 13 ก็เห็นแล้วว่า เป็นร่างกฎหมายที่จะทำให้เสรีภาพทางอินเตอร์เน็ต แย่กว่าสื่อสิ่งพิมพ์หลายเท่า”
“หากตีความตาม มาตรา 13(2) แล้ว หากเพียงมีข่าวลือในอินเตอร์เน็ต เช่น ข่าวลือว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร กำลังจะกลับมาเมืองไทย ก็อาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้ หรือแม้แต่มีข่าวลือว่าจะเกิดรัฐประหารก็มีความผิดตามข้อนี้แล้ว เมื่อพูดว่าเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศนั้น มันกว้างมาก และไม่รู้ว่าความมั่นคงคืออะไร”
“มาตรา 13 นี้จะต้องตัดทิ้งไปเลย อย่างไรก็ดี ร่างกฎหมายฉบับนี้จะแก้ที่รายมาตรายากมาก สิ่งที่ต้องทำคือต้องต่อสู้เพื่อคว่ำกฎหมายฉบับนี้ ให้รอรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องมีกระบวนการที่ถามความเห็นวงกว้างในสังคม แต่ทุกกฎหมายที่เข้าสภา กลับทำแบบงุบงิบ ไม่เปิดประชาพิจารณ์”
- รายงานโดยพลวัต: เรื่องจำเป็นที่ไม่มีใครใส่ใจ
นายพิชัย พืชมงคล สำนักกฎหมายธรรมนิติ :
“ผมคิดว่า หัวใจที่สำคัญมากในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน คือการให้ศาล — ไม่ใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ — มีอำนาจในการ ค้น ยึด และอายัดตาม มาตรา 16.
เพราะในกระบวนการของศาล ก่อนที่จะออกหมายให้เจ้าพนักงานไปดำเนินการดังกล่าว จะต้องมีการตรวจหรือไต่สวนพยานหลักฐาน ตามสมควรแก่กรณีก่อนข้อนี้ ผมว่าคงต้องสู้กันอย่างหนัก และถ้าแพ้ หมายความว่าเป็นไปตามร่างเดิม — ก็มีเหตุผลและความชอบธรรมเพียงพอที่ ไม่ควรจะเอาทั้งร่างฯ”
ความเห็น เกี่ยวกับ ร่าง พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในสื่อต่าง ๆ ที่ เนคเทคพีเดีย
[ผ่าน FACT]
tags: computer crime | law | legistration | freedom
No comments:
Post a Comment