ย้ายบล็อกไปที่ bact.cc แล้วนะครับ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
หยุด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ฟรี 2GB จาก Dropbox (sync กับ Windows, Linux, Mac, iPhone, Android ฯลฯ ได้)

2006-11-20

Safe is Unsafe

“We reject every form of legislation”
“เราปฏิเสธการออกกฎหมายทุกรูปแบบ”
Mikhail Bakunin บิดาแห่งลัทธิอนาธิปไตยสมัยใหม่

ไม่มีป้าย ไม่มีสัญญาณไฟ ไม่มีถนน ไม่มีทางเท้า และไม่มีกฎ — ผู้ใช้เส้นทางเคารพซึ่งกันและกัน
เมือง 7 เมืองในยุโรป ปลดป้ายจราจรทิ้ง

“กฎหลายอย่างได้ฉวยเอาสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งไปจากเรา: ความสามารถในการ คิดถึงความคิดของผู้อื่น. เราได้สูญเสียความสมรรถภาพในการมี พฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม”
ฮานส์ มอนเดอร์มาน ผู้เชี่ยวชาญการจราจรชาวดัตช์, หนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ, กล่าว
“จำนวนคำสั่งที่ยิ่งมาก ความรู้สึกรับผิดชอบต่อตัวเองของผู้คนยิ่งหดลง”

ผลลัพธ์ก็คือ ผู้ขับขี่พบว่าตัวพวกเขานั้นถูกล้อมรอบไปด้วยคำสั่งต่าง ๆ ที่บีบรัด, ดังนั้นพวกเขาจึงได้พัฒนา “สายตาแบบท่อ” [tunnel vision - อาการพิการทางสายตา มองไม่เห็นสิ่งรอบข้าง]:
พวกเขาจะค้นหาช่องทางที่จะได้เปรียบอยู่เสมอ และความประพฤติที่ดีก็จะไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขา


แนวคิดเรื่องไม่มีป้ายจราจรนี้ เคยอ่านเจอเมื่อสองสามปีก่อน ในหนังสือชื่อ
Emergence: The Connected Lives of Ants, Brains, Cities, and Software โดย Steven Johnson
เค้าพูดอยู่ตอนหนึ่ง เท่าที่จำได้นะ ถ้าไม่ผิด เขาพูดถึงเมือง ชีวิตของเมือง ข้อเปรียบเทียบระหว่างเมืองที่มีผู้คนเดินไปมา กับเมืองที่มีถนนใหญ่วิ่งผ่าน (และไม่ค่อยมีคนเดิน) แล้วก็มีพูดถึงเมืองเล็ก ๆ (ในเนเธอร์แลนด์?) ที่ไม่มีทางเท้าไม่มีถนน คนและรถใช้ทางร่วมกัน ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ที่สี่แยกก็เป็นวงเวียนแทน ตรงไหนจะให้ขับช้า ก็ทำผิวถนนเป็นอีกแบบ ฯลฯ คือใช้ลักษณะทางกายภาพมาบังคับ/เตือนแทนที่จะเป็นคำสั่ง — แล้วมันก็ทำงานของมันได้ — คุณไม่ต้องไปสร้างกฎอะไรให้ฝูงชนหรอก ขอให้ฝูงชนเหล่านั้นสามารถสื่อสารกันเองได้ ที่สุดฝูงชนก็จะสร้างข้อตกลงเฉพาะหน้า ที่จะทำให้ปัญหาถูกแก้ไขไปได้ทีละเปลาะเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นไปแบบพลวัติ (dynamic)

อ่านเรื่อง “กฎเยอะ ๆ” แล้วนึกถึงบทสัมภาษณ์ อ. เกษม เพ็ญภินันท์ นักวิชาการด้านปรัชญา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ประชาไท: คุยกับนักปรัชญา: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง:

“ผมคิดว่าปัญหาศีลธรรมในสังคมไทยคือ การมีข้อบังคับมากกว่าหลักปฏิบัติ มีข้อบังคับห้ามโน่นห้ามนี่ตลอดเวลา สิ่งที่น่าสนใจคือ เวลาที่คนไทยสอนศีลธรรมหรือสอนเนื้อหาทางศาสนา คุณเน้นศีลมากกว่าธรรม เวลาที่คุณห้าม นั่นหมายความว่า อะไรที่ไม่ถูกห้าม คุณก็ทำไป คุณทำได้ ในขณะที่ธรรม ในความหมายของแนวทางปฏิบัติ กลับไม่ได้ถูกสอน ไม่ได้บ่มเพาะให้กับสังคม”

ผมเห็นด้วย


เกี่ยวข้อง: ทาสของกฎ โดย wonam

[ ผ่าน slashdot ]

updated 2007.05.28: Thai Friend Forum เปลือยถนน จนน่าเดิน (มีรูปถนนเปลือยในลอนดอน)

tags: , , ,

3 comments:

jittat said...

อึดอัดกับการตั้งกฎเหมือนกัน

เคยเขียนไว้ทีตอนที่นิสิตชมรมคอม (กลุ่มหนึ่ง) ตั้งกฎกันใหญ่ แต่ตอนนั้นรู้สึกว่าคุยกับพวกเขาไม่รู้เรื่องนะ: ทาสของกฎ

Anonymous said...

จริงๆ คนไทยชินกับการอยู่ในกรอบในระเบียบรึเปล่า โดนกันมาตั้งแต่เล็กๆ ตั้งแต่เข้าโรงเรียน ผมต้องยังไง เสื้อผ้าต้องยังไง รองเท้าต้องมัน ... แต่เหตุผล ไม่มีใครบอก ทุกอย่างเรียนรู้ได้เอง ..แต่เมื่อไรไม่รู้

เช่นเดียวกัน ในเรื่องศีลกับธรรม .. คนสอนอาจจะคิดว่า บอกกฎไป เดี๋ยวมันทำ มันก็สามารถเรียนรู้กันไปเรื่อยๆ ได้เองรึเปล่า ไม่ต้องอธิบายมากหรอก แนวใครแนวมัน

แต่จริงๆ คุ้นๆ ว่าตอนเรียนพุทธศาสนาก็มีสอนควบคู่กันไปนะ ศีลกับธรรม แต่รู้สึกว่า แม่ง! จำแค่ศีลก็พอวะ ส่วนธรรม มันเป็น common sense นะ ไม่ต้องไปสนใจ เดี๋ยวก็เนียนไปได้เอง -_-" นั่นก็เป็นอีกสาเหตุด้วยรึเปล่า ???

จะว่าไป น่าจะไปลองใช้เรื่องนี้ที่สิงคโปร์แฮะ ..อยากรู้ว่าเค้าจะมีความสุขกันแค่ไหน :P ??

bact' said...

ที่ ๆ เราอยู่ร่วมกัน
http://www.arayachon.org/article/20070903/257

ทฤษฎีการจราจร
http://abzee.exteen.com/20050410/entry