ย้ายบล็อกไปที่ bact.cc แล้วนะครับ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
หยุด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ฟรี 2GB จาก Dropbox (sync กับ Windows, Linux, Mac, iPhone, Android ฯลฯ ได้)

2008-09-29

ReadCamp started (some how), call for SELF-organization ;)

คอนเซปต์ของ ReadCamp หรือ “กางมุ้งอ่าน” ก็ยังตามที่ทวีตคุย ๆ กัน และที่โพสต์ถามลงใน Culture Lab คือจะเป็นงานลักษณะ unconference ทำนอง BarCamp ที่ชวนผู้ร่วมงานมาเสนอเรื่องการ “อ่าน” แล้วก็แลกเปลี่ยนกัน

อ่าน หนังสือ. อ่าน หนัง. อ่าน เพลง. อ่าน โปสเตอร์. อ่าน โฆษณา. อ่าน เสื้อยืด. อ่าน พฤติกรรม. อ่าน trend. อ่าน วัฒนธรรม. อ่าน ปุ่มบนไมโครเวฟ user interface. อ่าน ตึก สถาปัตยกรรม. อ่าน การ์ตูน. อ่าน ภาพวาด งานศิลปะ. ... ...

นั่นคือ เป็น "อ่าน" ในความหมายที่กว้างที่สุดนั่นเอง. ทั้งการอ่านตามตัวบท ตีความ วิพากษ์ วิจารณ์ หรือกระทั่งรื้อแล้วเล่าใหม่.

การอ่านในความหมายกว้างนี้ เชิญชวนหรือเอาเข้าจริงก็อาจจะถึงขั้นเรียกร้องให้ผู้อ่านตั้งคำถามกับสิ่งที่พวกเขาอ่าน. ทำไมเขาถึงอ่านได้เช่นนั้น. อะไรทำให้เขามีทัศนคติหรือวิจารณ์งานชิ้นใดอย่างที่เขาทำ. ผู้เขียนต้องการสื่ออะไร อะไรที่ทำให้ผู้เขียนสื่อเช่นนั้น. ไม่ว่าจะตอบได้หรือไม่ก็ตาม แต่การตั้งคำถามนี้จะนำไปสู่ความตระหนักที่ว่า สิ่งต่าง ๆ เป็นอย่างที่มันเป็นอยู่ด้วยเหตุผลบางสิ่งเพื่อตอบคำถามบางอย่าง ไม่มีสิ่งใดที่เป็นอย่างที่มันเป็นอย่างไร้เดียงสา -- อย่างน้อยความหมายที่เราให้กับมันก็ไม่เคยไร้เดียงสา.

ด้วยการแสดงให้เห็น-ด้วยการลงมืออ่านด้วยกัน เราจะเห็นความเป็นไปได้ที่แตกต่าง/ขัดแย้งมากมายในการอ่าน และประสบการณ์จะค่อย ๆ ทำให้เราตระหนักว่าไม่มีการอ่านแบบใดหรือความหมายแบบไหนที่ถูกต้องที่สุด-ดีที่สุด. อำนาจในการอ่านเป็นของผู้อ่านแต่ละคน ไม่ใช่ของผู้ผูกขาดการอ่านรายไหน หรือกระทั่งผู้เขียน. ถ้าไม่ชอบใจเรื่องที่เขาเล่ามา เราก็รื้อมันซะ แล้วเล่าใหม่. ทำได้ และจริง ๆ เราก็ทำมันอยู่ทุกวันโดยไม่รู้ตัว (ทีวีเล่าข่าวจากนสพ.ให้เราฟัง เราไปเล่าต่อให้เพื่อนฟัง .. ในทุกขั้นจริง ๆ แล้วมันก็มีการเขียนใหม่ - เลือกที่จะเล่าอะไร และไม่เล่าอะไร เพิ่มอะไรเข้าไป หรือเปลี่ยนลำดับเรื่องและวิธีการเล่า).

สิ่งต่าง ๆ ไม่ไร้เดียงสา. ผู้เขียน/สร้างก็ไม่ไร้เดียงสา และผู้อ่าน/ใช้ก็ไม่ไร้เดียงสา. ในทุก ๆ การอ่านมีการต่อรองอำนาจกันอยู่. เพื่อก้าวไปสู่โลกแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่เปิดกว้าง ผู้อ่าน-ซึ่งอันที่จริงก็เป็นผู้เขียนในคนเดียวกัน-จำต้องหลุดไปจากอำนาจการอ่านของผู้อื่น และเปิดพรมแดนการอ่านและให้ความหมายของตัวเอง. เพราะ เสรีภาพในการอ่าน คือเสรีภาพขั้นต้นในการสร้างสรรค์.

งาน ReadCamp นี้ที่เราวางแผนกันนี้ ก็หวังว่าจะเป็นเวทีให้คนมาแลก "การอ่าน" ของตัวกัน เพื่อสร้างบรรยากาศและขยายพรมแดนความคิดสร้างสรรค์.

งานนี้จะใช้ชื่อหลักว่า “ReadCamp” (รีดแคมป์) ล้อกับ BarCamp, โดยมีชื่อรองภาษาไทยว่า "ทุกอย่างอ่านได้". โดยวางแผนไว้ว่าจะจัดในช่วงปลายพฤศจิกายนนี้. เว็บไซต์อยู่ที่ http://culturelab.in.th/readcamp/

ใครสนใจ มาร่วมจัดกันครับ - ติดต่อพูดคุยกันได้ที่เมลกลุ่ม youfest (at) googlegroups.com (ต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะส่งได้ ถ้าส่งแล้วมีปัญหาได้ไม่ได้อย่างไร ติดต่ออีเมล arthit (at) gmail (dot) com ได้ครับ)

[ โพสต์ครั้งแรก 2008.09.29 ใน ReadCamp ]

technorati tags: , , ,

2 comments:

Moss said...

อ่าน tweet ก่ะ blognone

bact' said...

moss: ได้เลย อ่านได้หมดอยู่แล้ว

เวลาอ่านทวีต มันรู้สึกยังไง ทำไมคนนั้นถึงทวีตแบบนั้น เราทวีตเพราะอะไร เราทวีตแบบที่เราปกติพูดรึเปล่า แบบเราแชทรึเปล่า ทำไมเหมือน ทำไมต่าง

ข่าวใน blognone บทสนทนาใน blognone เป็นยังไง ทำไมเรามาอ่าน blognone ไม่ไปอ่านที่อื่น หรืออ่านที่อื่นแล้วเทียบกันมันเป็นยังไง เขียนข่าวบันเทิงสไตล์ blognone ได้มั๊ย เอ๊ะ แล้วสไตล์ blognone คืออะไร มีรึเปล่า หรือไม่มี เป็นแค่สไตล์ของคนที่มารวม ๆ กัน ? แล้วถ้าคนพวกนี้ไปรวมกันที่อื่น จะยังเขียนแบบนี้ไหม ? ... อืมม