ย้ายบล็อกไปที่ bact.cc แล้วนะครับ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
หยุด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ฟรี 2GB จาก Dropbox (sync กับ Windows, Linux, Mac, iPhone, Android ฯลฯ ได้)

2005-07-18

อาณานิคมทางปัญญา

พี่มหา:

“ประเทศไทย ส่งนักเรียนไปเรียนเมืองนอกเมืองนา ด้วยความเชื่อว่าเมืองนอกดีกว่า เก่งกว่า มานานแสนนานแล้ว

แต่ทำไม หนังสือเรียนต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ยังต้องใช้หนังสือฝรั่งอยู่มาก!!??”

อ่านต่อ: “ถ้ายังขาดความเป็นตัวของตัวเอง เรียนสูงแค่ไหนก็ไร้ความหมาย”

เดี๋ยวนี้ตำราเรียนที่เคยใช้ นอกจากฝรั่งเขียนแล้ว ยังมีอินเดียกับจีนด้วย (แต่เป็นภาษาอังกฤษ)

อืม .. นั่นน่ะสิเนอะ

อ่านความเห็น ที่ GotoKnow.org

7 comments:

Beamer User said...

คนจีนหรืออินเดียเขียนมีมานานแล้วเฟ้ย

คนเขียนเรื่องนี้ค่อนข้างอคตินะครับ สิ่งที่เราต้องเฉพาะเจาะ
จงลงไปก็คือ คนเก่งไม่จำเป็นต้องเขียนหนังสือเป็น คนที่
เขียนเป็นแต่ไม่ชอบเขียน ก็ไปโทษเขาไม่ได้หรอกครับ

ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ถึงส่งคนไปเรียนมาเป็นร้อยปีแล้ว
แต่คนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ก็ยังน้อยกว่าวิทยาศาสตร์
มากนัก จะเห็นได้ว่าหนังสือทางวิทยาศาสตร์หรือทางการ
แพทย์เราก็พอจะมองเห็นได้ว่ามีมากมายที่เป็นภาษาไทย

ไม่ต้องดูไกลครับ ดูมหาวิทยาลัยของรัฐเมื่อ 10 ปีก่อน เรา
จะพบว่า ดร. ในสายวิศวกรรมศาสตร์เป็นชนกลุ่มน้อยนะ
ครับ จะมีที่เยอะๆ ก็เฉพาะจุฬาฯ เท่านั้น และที่นั่นก็ผลิต
ตำราออกมาหลายเล่ม และก็ใช้กันอยู่โดยทั่วไป

การที่อ้างว่าอาจารย์เอาตำราของคนที่สอนหนังสือมาไม่
นามาสอน ก็ต้องเจาะจงลงไปว่าตำรานั้นเป็นตำรา
ประเภทไหนเป็น research monograph หรือเปล่า ซึ่ง
พวกนี้ไม่จำเป็นต้องสอนหนังสือนานก็เขียนได้ เพราะเป็น
ตำราที่สร้างขึ้นจากงานวิจัยเป็นหลัก ไม่ใช้ตำราของวิชา
พื้นฐาน

อีกส่วนหนึ่งก็คือ การใช้หนังสือส่วนใหญ่จะเป็นไปตามนี้
1. หนังสือที่ทั่วโลกยอมรับ ถ้าใช้ตำราเล่มนี้แล้ว การันตีได้
ว่าไม่พลาดจุดสำคัญของวิชา เช่น calculus ของ Thomus ฯลฯ
2. ตำราของอาจารย์ ไม่แปลกถ้าอาจารย์คนไทยจะใช้
ตำราของอาจารย์ที่ท่านไปเรียนมาด้วย ถ้าหนังสือของ
อาจารย์ของอาจารย์ล้าสมัยแล้ว อาจารย์ก็อาจจะแต่ง
ตำรา ลูกศิษย์ของอาจารย์ก็จะใช้ตามๆ กัน เช่นหนังสือ
วิเคราะห์วงจรของอาจารย์ไพรัช ที่ได้รับการยอมรับมาดี
ที่สุดในสมัยหนึ่ง หรือตำรา Z80 ของอาจารย์ยืน เป็นต้น
3. อาจารย์ไม่ได้มีความรู้แตกฉานมากพอในเรื่องที่สอน
ถึงขั้นแต่งตำราได้ ดังนั้นตำราวิชาพื้นฐานที่แต่งขึ้นเอง
นั้นจึงหาได้ยากยิ่ง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดาไม่ว่าที่ไหน
ในโลก เค้าก็ต้องใช้หนังสือที่คิดว่าดีและเหมาะสม จะ
เขียนใหม่ก็เมื่อเห็นว่าเล่มเก่าไม่ดีแล้ว หาอ่านได้ทั่วไป
ในบทนำที่เค้าชอยเขียนว่า ทำไมต้องมีอีกเล่มหนึ่งด้วย
4. เด็กไทยยังเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกน้อย และ
ยังเปลี่ยนนิสัยการคิดได้ไม่ดีพอ(ความคิดว่า ที่เค้าเขียน
มาดีพอ หรือควรต้องเพิ่มเติมหรือเปล่า ผมเองก็มีปัญหา
เพราะส่วนใหญ่จะคิดว่าที่เค้าเขียนมาถูกแล้ว เราอ่านไม่
เข้าใจเอง) ดังนั้นโจทย์ปัญหาใหม่ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นระ-
หว่างเรียนจึงมีน้อย ดังนั้นตำราที่จะถูกเขียนเมื่อแบบฝึก-
หัดต้องลอกของคนอื่นมา อาจารย์ดีๆ จึงไม่ทำ หนังสือจึง
ไม่เสร็จซักที
5. สำนักพิมพ์ไม่เื้อื้ออำนวย ประสบการณ์การพิมพ์หนัง
สือวิชาการของสำนักพิมพ์ไทยมีน้อย และไม่คุ้มค่า
เพราะไอ้พวกบ้าหนังสือเล่นละสองร้อยมีร้อยกว่าหน้าก็
เสือกถ่ายเอกสารทั้งเล่มแล้ว สำนักพิมพ์ที่ไหนเค้าจะไป
ลงทุนสร้างทีมวิชาการ ที่สามารถเขียนแบบ ใช้ LaTeX
หรือขัดเกลาภาษาได้ ที่เห็นมีก็มีไม่มากนัก เห็น 2-3 ที่
แค่นั้นก็งานล้นมือแล้ว จึงมีที่ว่างให้งานเขียนทางด้าน
วิศวกรรมศาสตร์เป็นไปได้น้อย
6. การไม่ใ้ช้ LaTeX เขียนหนังสือ ทำให้ผลลัพท์ในระยะ
ยาวมีน้อยลงไป การเก็บเอกสารแบบ word ซึ่งเปราะบาง
หรือการไม่เข้ากันได้แบบย้อนหลัง ไฟล์มีขนาดใหญ่
เรื่องเหล่านี้จะเป็นปัญหาในระยะยาว การเขียนด้วย LaTeX รวมไปถึงวาดรูปด้วย metapost หรืออื่นๆ จะช่วย
ให้ไฟล์มีขนาดเล็ก และสามารถนำไปแปลงเป็น pdf ที่
ไหนก็ได้ในโลก การปรับแต่งเอกสารทำได้ง่ายมาก และ
ค่อนข้างคงเส้นคงวา ดูเผินๆ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่
เราลองดูหนังสือไทยที่ดีๆ แต่ไม่มีการปรับปรุงแก้ไขสิ
ถ้าจะทำทำได้ แต่เรื่องใหญ่มาก เขียนใหม่หมดง่ายกว่า
ในขณะที่สำนักพิมพ์ต่างประเทศใช้ LaTeX เป็นส่วนใหญ่
ถึงตอนนี้ไม่มี Thomus อยู่แล้ว Finn ก็ยังผลิตผลงาน
ออกมาได้โดยคงงานส่วนใหญ่ของ Thomus ไว้
ฯลฯ

ปัญหาเล่านี้ต้องรอนะครับ อย่าลืมว่าระบบการศึกษาไทย
อายุยังไม่เท่าไหร่เลย ยังไม่มีมหาวิทยาลัยไหนอายุเกิน
ร้อยเลย ในขณะที่ของยุโรปเค้าก้าวเข้าสู่หลักพันกันแล้ว

Beamer User said...

SIIT มีอาจารย์ไทยที่แต่งตำรา ระบบควบคุมเป็นภาษาอังกฤษด้วยไม่ใช่เหรอ

bact' said...

โห ตอบยาวฮะ (กะแย้ว คุ้ม~ม :D)

Calculus นี่ ผมเคยใช้อยู่สองเล่ม อีกเล่มจำชื่อไม่ได้ว่าใคร อีกเล่มจำได้เพราะชอบ ของ Anton แบบว่าภาพสวย (และทำให้เข้าใจว่า ไอ้ diff นี่ มัน diff ไปทำอะไร มีพวกภาพตัดต่าง ๆ ให้ดูละเอียดดี ก็เลยชอบน่ะ)

เรื่องอาจารย์ที่สิรินธร แต่งตำราระบบควบคุมนี่ไม่รู้อ่ะครับ -_-" (แหม ไม่ได้เป็นคนในวงการ :P)
รู้แต่ อ.สวัสดิ์ นี่ มีแต่งหนังสือพวกสื่อสารอ่ะ

เอ้อ ใช่ ภาคระบบควบคุมนี่ เค้ายุบภาคไปแล้วนะครับ -_-" เปิดมาได้ไม่กี่ปีเอง เ้ด็กเลือกน้อยน่ะครับ ตอนนี้ก็กลับไปอยู่กับไฟฟ้าเหมือนเดิม
(ปีก่อนมี 15 ภาค ปีนี้เหลือ 9 เฮ่ย ... ส่วนใหญ่ที่หายไปนี่เป็นพวก พลังงาน กะ สิ่งแวดล้อม อ่ะครับ ... อ.ปรีดา ไม่อยู่ ก็เลยหายไปด้วยเลย สงสัยว่างั้น (ไม่เชิงหายไปเลยหรอก แต่ก็ลดฐานะจากภาควิชา กลับไปเป็นวิชาเอกให้เลือกตอนปี 3-4 เหมือนเดิม) ส่วนไฟฟ้ากำลังนี่ ท่าจะหมดแววรุ่ง เด็กเลือกไม่ถึงสิบคนอ่ะ ได้ข่าวมา วิชาเอกก็คงจะไม่มีให้เลือกแล้วถ้ายังเป็นแบบนี้)

----

ประเด็นที่ 5,6 ที่พี่จอยพ่อของหมาอ้วนว่ามา เหมือนเป็นเรื่องเทคนิค น่าจะแก้ได้ง่ายหน่อย คือไม่ต้องรอบ่มเพาะอะไรมาก ถ้าอยากจะเปลี่ยนจริง ๆ ก็เริ่มทำได้ตอนนี้เลย


ประเด็นที่ 4 นี่น่าสนใจ
เขียนหนังสือว่ายากแล้ว
คิดแบบฝึกหัด คิดโจทย์ที่จะมาประเมินว่าคนอ่าน อ่านเข้าใจ ดูจะยากกว่า
อันนี้คงจะเป็นข้อแตกต่างระหว่าง หนังสือเรียน (text book) กับ หนังสือ... อะไรดี หนังสือวิชาการ (อย่าง monograph ที่พี่จอยว่ามา) ได้
ผมว่าเรื่องคิดแบบฝึกหัดนี่ ก็คงวกกลับไปที่ประเด็นที่ 3
คือต้องมีความรู้แตกฉานในเรื่องนั้น ๆ (ไม่งั้นก็ไม่รู้จะตั้งโจทย์ยังไง)
และต้องมีประสบการณ์การสอนมาพอสมควรล่ะ (รู้ว่า คนเริ่มเรียนใหม่ ๆ จะพลาดตรงไหน จะดัก จะวัดได้ยังไง)

ประเด็น 1 กะ 2 นี่เห็นด้วย.. รวม ๆ คือ มันอุ่นใจ
(1) คือใคร ๆ ก็ใช้, (2) คือ อย่างน้อยก็เคยใช้มาก่อน และรู้ว่ามันดีไม่ดียังไง


แต่ผมก็คิดเหมือนกันนะ
ว่าภาษาอังกฤษเราไม่ได้แข็งแรงกันหมด
ผมเองตอนนี้อ่านอะไรยาก ๆ นี่ก็ยังต้องทวนหลายรอบเลย
นี่ขนาดใช้มาตลอดอย่างน้อยก็ .. 8-9 ปีนะเนี่ย

คือคิดว่า ถ้ามีตำราภาษาไทย
มันก็จะช่วยเรื่องการถ่ายทอดความรู้ได้ไหลลื่นขึ้นน่ะครับ
ก็เป็นผลดีกับคนเรียนด้วย
ไม่มีกำแพงภาษามาวุ่นวาย (แค่เนื้อหาวิชาก็ปวดหัวพอแล้ว)


อย่างตอนนี้สมมติผมสนใจเรื่อง อะไรดีล่ะ
Sociology หยั่งงี้อ่ะ
แล้วให้ผมไปเริ่มเรียนด้วยตำราภาษาอังกฤษ
ผมเองยังแหยง ๆ เลย -_-"
ไม่มีคนไกด์ด้วยไง

ถ้าเรามีตำราวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทยเยอะ ๆ
จะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับบุคคลทั่ว ๆ ไปได้ด้วยรึเปล่า
ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะนักศึกษา อาจารย์ (หรือใครก็ตามที่ "เค้าจ้างให้มาอ่านหนังสือ" อะไรทำนองนั้น)


เขียนบล็อกเยอะ ๆ นี่
จะทำให้เขียนหนังสือได้ดีขึ้นมะ ?

Beamer User said...

อันนี้เห็นด้วยเรื่องเราควรจะผลิตหนังสือไทยให้เยอะๆ เริ่มต้น
ไม่ต้องเขียนเองครับ ซื้อลิขสิทธิ์มาแปลเลย อย่างที่อาจารย์
สิทธิชัย เค้าพยายามทำที่มหานคร รัฐบาลควรจะสนับสนุึน
หนังสือเล่มไหนดี เล่มไหนเด่น ซื้อมาผลิตในราคาที่
นักศึกษาหาซื้อได้ อย่างที่จีน ญี่ปุ่น เกาหลีทำ จริงๆ แล้วก็
ต้องเข้าใจว่าทุกประเทศที่เจริญแล้วเค้าก็ทำอย่างนี้แหละ
รัสเซียก็แปลตำราภาษาอังกฤษ อเมริกาก็แปลตำราฝรั่งเศส
เยอรมัน กันเยอะแยะมั่วไปหมด

imon said...

ที่ รู้จัก แล้วก็จำแม่นๆ โน่นเลย
อาจารย์ ยืน
เรียนมาตั้งแต่ ปวช ยัน ป.ตรี
สุดยอด

bact' said...

การสนทนาหัวข้อ "๓๐ ปี ขบวนการเดือนตุลา ๓๐ ปีของอะไร : ว่าด้วยศิลปวัฒนธรรม" โดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สุชาติ สวัสดิ์ศรี วันเสาร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๖ ณ ห้องประชุม สถาบันปรีดี พนมยงค์

อุดมศึกษาไทย บนทางแพร่ง

jark said...

หาบทความต้นฉบับไม่เจอ ไม่รู้หายไปไหน

แต่ยอมรับว่ามีอคติครับ

สาเหตุคงเป็นเพราะ Blog นั้นมีไว้ระบาย เพราะฉะนั้นจะคิดถึง Blog นั้น หรืออยากจะเขียนอะไรใน Blog นั้นก็ตอนที่หงุดหงิดกับปัญหาอะไรบางอย่างเท่านั้น เช่นตอนที่แล้วหงุดหงิดกับปัญหาระบบการเงินของราชการเป็นต้น

แน่นอนว่าถ้ามองให้รอบด้าน ประเด็นที่เอ่ยถึงมันก็คงไม่เลวร้ายขนาดนั้น แต่ว่า Blog มันเขียนตอนที่คนเขียนหงุดหงิดไง มันเลยดูร้าย ๆ เกินไปสักหน่อย