ระหว่างการถามตอบข้อสงสัย นักข่าวญี่ปุ่น ยามาดะ จากหนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุน ถามอัมสเตอร์ดัมว่า จะทำให้อำนาจอื่น ๆ ในโครงสร้างอำนาจในสังคมไทย รับผิดชอบต่อเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร?
[ชั่วโมงที่ 2:11; แปลอังกฤษ 2:12; ไทย (แปลไม่เต็ม) 2:13]
ผมคิดว่าคำถามของนักข่าวญี่ปุ่นคนนี้น่าสนใจ และผู้แปลภาษาไทยในงานแถลงข่าว แปลไว้น้อยกว่าที่นักข่าวเขาพูด เลยขออนุญาตแปลแบบสรุปความ (จากภาษาอังกฤษซึ่งถูกแปลมาจากญี่ปุ่นอีกที) ไว้ในบล็อกนี้, ยามาดะถามว่า:
ผมเชื่อว่าโครงสร้างอำนาจที่สถาปนาอยู่ในสังคมไทยนั้นซับซ้อนมาก
ใช่ นายกอภิสิทธิ์คือเป้าหมายของคุณในขณะนี้ แต่อภิสิทธิ์เป็นตัวแทนของรัฐบาล ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในองค์ประกอบอำนาจที่สถาปนาอยู่ในขณะนี้
คุณยังมี กองทัพ คณะองคมนตรี และ
royal elementsคุณจะจัดการยังไงกับองค์ประกอบในโครงสร้างอำนาจเหล่านั้นผมขอแสดงความคิดเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงเกิดขึ้นผ่านฝ่ายบริหารเท่านั้น ยังมีการตัดสินใจและการดำเนินการที่ทำผ่านองค์ประกอบโครงสร้างอำนาจอื่น
คุณคิดจะติดตามอย่างไรต่อเพื่อให้องค์ประกอบอื่น ๆ นั้นรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย
นี่คือมุมมองจากภายนอก ถึงโครงสร้างอำนาจทางการเมืองไทย ซึ่งจริง ๆ นักข่าวไทยก็คงไม่ได้ naïve ไม่รู้ประสีประสา เพียงแต่มีข้อจำกัดในการทำงาน และองค์กรของตัวเองก็อยู่ในโครงสร้างอำนาจที่ว่านั่นด้วย ก็เลยเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า คำถามแบบนี้ ถ้าเขาจะไม่ถามกัน ก็ว่ากันไม่ได้นะ
ตัววิดีโอทั้งหมดยาว 2:27 ชั่วโมง เป็นช่วงการถ่ายทอดจากญี่ปุ่นจริง ๆ ประมาณ 2 ชั่วโมง
เนื้อหาเป็นการตอบคำถามเรื่องคำร้องต่อสำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC ซึ่งสำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ ยื่นในนามของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
เอกสารคำร้องฉบับเต็ม ภาษาอังกฤษ ยาว 294 หน้า (มีฉบับแปลไทยด้วย), ถ้าไม่มีเวลา ก็มีแบบสรุป Executive Summary
7 หน้า
ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ สรุปประเด็นสำคัญเอาไว้ 3 ส่วน พร้อมข้อสังเกตส่วนตัวแนบท้าย
ดาวน์โหลดเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ที่เว็บไซต์
Accountability Project (thaiaccountability.org)
และที่บล็อกของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม (robertamsterdam.com/thailand/ หรือภาษาไทย: robertamsterdam.com/thai/)
technorati tags: Red Shirts, ICC, accountability, politics, power structure, Thailand
No comments:
Post a Comment