“ในเวียดนาม มีช่างภาพเพียงไม่กี่คนที่มีการรวบรวมผลงานออกตีพิมพ์ในชื่อของตน แม้ผมจะใช้ความพยายามอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่เคยพยเห็นวางขายในร้านหนังสือท้องถิ่นเลย ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ผมพอจะนึกออกก็คงมาจากการที่รัฐบาลเวียดนามยังคงเข้มงวดกับภาพลักษณ์ของสงครามที่ต้องการให้ปรากฏต่อหน้าสาธารณชน ซึ่งว่ากันอันที่จริงแล้ว พวกเราชาวอเมริกันก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน ...”
(จากย่อหน้ารองสุดท้ายของบทความ ภาพถ่ายที่ล้างด้วยน้ำจากลำธาร, คอลัมน์ ร้อยภาพ-พันคำ, หน้า 52, เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 872 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552)
ผมอ่านบทความดังกล่าวมาเรื่อย ๆ ก็สนุกดี มางงเอาตอนท้ายนี่แหละ คือคิดไปได้สองอย่าง อย่างแรกคือ คุณบัญชร ชวาลศิลป์ ผู้เขียน เป็นชาวอเมริกัน (ซึ่งเป็นไปได้) หรือไม่บทความนี้ก็เป็นบทความแปล (แต่ในหน้าคอลัมน์ทั้งหน้า ก็ไม่มีส่วนไหนที่ระบุไว้ว่าเป็นบทความแปลเลย)
แล้วก็ทำนึกถึงเรื่องที่ได้ผ่านตาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากทวิตเตอร์ เรื่องหนังสือถ่ายภาพ (ถ่ายภาพให้ได้อย่างมือโปร) โดยคุณอนันต์ จิรมหาสุวรรณ (เลขาธิการ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2550-2552) ที่ดูเหมือนจะแปลมาจากภาษาอังกฤษทั้งเล่ม (Learning to See Creatively: Design, Color & Composition in Photography, by Bryan Peterson) ซึ่งเป็นประเด็นอยู่ในเว็บบอร์ดพันทิป.คอม http://www.pantip.com/cafe/camera/topic/O7516316/O7516316.html
technorati tags: photography, translation
2 comments:
สวัสดีครับเข้ามาอ่านบทความก้ดีครับ
www.bunchon.net
Post a Comment