มันไม่ใช่เรื่อง จะ xxx หรือไม่ xxx
มันคือเรื่อง ถ้ามีคน xxx หรือไม่ xxx ท่าทีของคุณต่อเขาจะเป็นยังไง ?
คุณจะปกป้องสิทธิของคนที่ คิดเห็นไม่เหมือนคุณหรือกระทั่งขัดแย้งกับคุณ รึเปล่า ?
หนังเรื่อง “แสงศตวรรษ” (และหนังอื่น ๆ จาก Kick The Machine) ที่ฉายในโรง ก่อนฉาย มีหนังสั้น ๆ เรื่องหนึ่งนำ ...
เปิดฉากสั้น ๆ ด้วยสาว ๆ กำลังจิบน้ำชาคุยกันที่ศาลาริมน้ำ เพื่อนคนหนึ่งชวนให้ฟังซีดีเพลงสรรเสริญ ที่เพลงไปเจิมปลุกเสกมา พร้อมอวดว่าจะเอาไปเปิดที่โรงหนัง ความศักดิ์สิทธิ์จะกระจายแผ่ออกไปทั่วโรงหนัง นั่นประไร ดังไปถึงอีกฝั่งคลองโน่น
และที่เหลือของหนัง ก็บรรเลงเพลงสรรเสริญที่ว่า เป็นฉากในโรงยิม มุมมองของภาพหวุนวนไปรอบ ๆ โรงยิม เผยให้เห็นกิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในโรงยิม คนตีแบตกัน ที่กลางคอร์ทสาว ๆ ที่ศาลาริมน้ำตะกี้นี้ มานั่งร้อยมาลัยกัน รอบ ๆ คอร์ทมีไฟสปอตไลท์ตั้งส่องเข้ามา คนสองสามคนที่ยืนข้าง ๆ เหมือนเป็นกองถ่ายหนัง อีกด้านของโรงยิม คนกลุ่มใหญ่กำลังเต้นแอโรบิก ภาพมุมวน เพลงบรรเลงแซ่ซ้อง สรรเสริญกิจวัตรประจำวันของคนธรรมดา ๆ
หนังสั้นเรื่องดังกล่าว ชื่อ “The Anthem” [เพลงสรรเสริญ] (2549, 35มม., 5 นาที) และเพลงสรรเสริญที่ว่า ไม่ได้หมายถึงเพลงสรรเสริญฯ ที่เราคุ้นชิน มันออกจะติดจังหวะเทคโนแอโรบิกไปเสียหน่อยด้วยซ้ำ
The Anthem เป็นหนังสั้น เป็นเพลงที่เชิดชูหนังและคนดูหนัง ... หลังจากยืนเชิดชูบุคคลพิเศษกันไปแล้ว ก็นั่งสบาย ๆ เชิดชูบุคคลธรรมดากันต่อ — โดยที่ไม่ต้องยืนก็ได้
“ That exhilaration comes through in The Anthem as well. Daily life as it’s being lived is captured, with all the errant sounds and light flutters that this implies. Rather than being a devotional to royalty, Weerasethakul’s anthem praises instead the people who are likely to sit in a movie theater, waiting anxiously for the lights to go down. And they do—a group of dancers enter the frame, just to the right of the court, and begin practicing a synchronized number. They take exactly three steps in unison before we cut to black, and the credits roll. ”
ร่วมให้กำลังใจ “นายโชติศักดิ์ อ่อนสูงและเพื่อน”
กรณีถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเนื่องจากไม่ยืนแสดงความเคารพ “เพลงสรรเสริญพระบารมี”
technorati tags: body, freedom of expression, film, anthem
5 comments:
ความผิดของนายโชติฯ คือลักษณะของการ "ไม่เชื่อ
อย่าลบหลู่"
ไม่มีใครสงสารไอ้ฟักหรอก เชื่อสิ
ไม่จำเป็น และไม่ควรต้อง สงสาร
ไม่ใช่เรื่องของ สงสาร ครับ
อืม ไม่รู้ว่าคุณ bact' คิดอย่างที่ผมเขียนหรือเปล่านะ
ข้างล่างนี้อธิบาย เผื่อกรณีที่เข้าใจไม่ตรงกัน ถ้าเข้าใจ
ตรงกันก็ข้ามไป (เลียนแบบไ้อ้ห่านั่นมา มันชอบใช้)
"ไม่มีใครสงสารไอ้ฟักหรอก เชื่อสิ"
ประโยคนี้เป็นการเปรียบเปรย เทียบเคียงครับ คำว่า
"สงสาร" ในประโยคนั้นไม่ใช่คำว่าสงสาร เป็นการเปรียบ
เทียบว่า ท้ายที่สุดแล้วตัวละครตัวนี้ก็เหลือตัวคนเดียวกับ
เพื่อนหนึ่งคน
ย่อหน้านี้เป็นคำถาม
ว่าแต่เวลาเขาเขียนถึงวุฒิภาวะเรื่องการให้ความเห็น
ทำไมเอาแต่ฝ่ายเชิดชูพระมหากษัติรย์ที่แย่ ๆ
มาเป็นตัวอย่าง ในขณะฝ่ายตรงข้ามที่แย่ ๆ ก็มีจำนวน
พอ ๆ กัน ฤาเสรีภาพกับความรู้ก็ต้องแบ่งข้างด้วย
ถ้าคิดว่าเขาจะเหลือหนึ่งคน
ถ้าคิดว่าเขาจะเหมือนนายฟัก
ผมว่าคุณ "fat dog father" เข้าใจอะไรผิดมากๆ เลยล่ะครับ
ส่วนเรื่องคำถามของคุณ ผมคงให้ความเห็นได้เพียงว่า มันไม่ใช่เรื่องของตัวบุคคล มันเป็นเรื่องของหลักการ
ผมขอถามคุณกลับไปว่า สำหรับคุณ อะไรคือความหมายของคำว่า "ประชาธิปไตย"
คิดให้ดีๆ แล้วก็ตอบนะครับ
สหายสิขา: ไม่ตอบแล้วกันครับ สำหรับคำถาม
ผมคิดว่าถ้ารัฐธรรมนูญฉบับปี 40 เป็นฉบับของประชาชน
เราก็ควรปฏิบัติตามไม่ใช่เหรอครับ รู้สึกฉบับใหม่ก็ไม่ได้
มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมวดสองเลยใช่ไหมครับ
Post a Comment