ดาวน์โหลด “ภาคที่ 1 สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ”
จากหนังสือ “ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม” โดย ‘ส.ศิวรักษ์’
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2550 สำนักพิมพ์ศึกษิตสยาม ISBN 974768649X
http://factdata.googlepages.com/sulaksa.pdf
(รวบรวมเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดย คนชายขอบ / ขอบคุณสันติบาล ที่ทำให้ผมรู้จักหนังสือเล่มนี้)
เราจะรักกันแบบไหนดี
โบราณ(ใครก็ไม่รู้ ที่เราชอบอ้าง)ท่านว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
คือมีอะไรก็ต้องว่ากล่าวตักเตือนกัน สอนกัน วิพากษ์วิจารณ์กันได้
ก็ถามตัวเองกันแต่ละคน เรารักกันจริง ๆ รึเปล่า ?
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เรารักกันแบบไหน
รักชาติ ด้วยการยืนเคารพธงชาติ ด้วยการแซ่ซ้องสรรเสริญชาติ ชาติฉันดีกว่าใคร ๆ วิเศษกว่าใคร ๆ (ไอ้เจ๊ก ไอ้ลาว ไอ้ฝรั่งขี้นก ฯลฯ)
รักศาสนา ด้วยการยกมือไหว้รูปบูชา ด้วยการยกให้ศาสนานั้นนี้เป็นศาสนาประจำชาติ ด้วยการปฏิเสธการวิพากษ์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้อคิดข้อเขียน หรือกระทั่งงานศิลปะ
รักกษัตริย์ ด้วยการยืนเคารพเพลงสรรเสริญ ด้วยการอ้างกษัตริย์ในทุกกิจกรรม-จนกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาด (ที่คณะรัฐประหารก็ยังเลือกใช้) ด้วยการปฏิเสธการวิพากษ์ใด ๆ โดยไม่คำนึงถึงแม้เจตนา
สังคมพิธีกรรม
คนบางพวก ก็เข้าใจจิตวิทยามวลชน สร้างสรรค์ความเชื่อ
ต้องรักแบบเดียววิธีเดียวกับที่ฉันรัก รักแบบไหนวิธีไหนที่ผิดแผกไปจากนี้ เรียกว่าไม่รัก
ฉันเป็นคนกำหนดนิยาม “ความรัก”
ถ้าไม่รักแบบที่ฉันกำหนด ก็อยู่คนละพวกกับฉัน และเป็นคนดีไม่เท่าฉัน เป็นคนชั่ว
เมื่อการแสดงความรัก เป็น พิธีกรรม
คนนิยามการแสดงความรัก เป็น ศาสดา
“ความรัก” คืออะไร ก็ไม่สำคัญแล้ว
อย่าตั้งคำถามกับศาสดา เจ้าคนบาป
ก็รักแบบนี้กันนี่เอง ที่ยิ่งรัก ก็ดูจะยิ่งเสื่อม
หมายเหตุ: ขณะนี้กำลังมีการแก้กฎหมายอาญา
(1) ให้ขยายการหมิ่นพระบรมฯ ให้รวมไปถึง พระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ ; และ
(2) ให้อำนาจศาลในการสั่งห้ามให้มีการโฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่าง ๆ การวิพากษ์วิจารณ์ หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีความผิดต่อพระมหากษัตรดิย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ – เสนอข่าวก็ไม่ได้
(กดที่หมายเลขเพื่อดาวน์โหลดร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมฯ)
ถาม ถ้าศาลไม่ต้องการให้พูดข้อเท็จจริง แล้วศาลต้องการอะไร ?
(เพิ่มเติมต่อที่ nothing can escape the gravity — เมื่อการยกย่องอะไรมากเกินไป กลับนำไปสู่การเสื่อมของสิ่งนั้น)
[ ลิงก์ ประชาไท | ผ่าน คนชายขอบ ]
technorati tags: love
4 comments:
เพิ่งอ่านได้ครึ่งเดียว คิดว่าช่วงแรกท่านเขียนในเชิงตั้งคำถามรุกล้ำมากเกินไป ถ้าไม่อ่านต่อ ๆ มา จะไม่รู้สึกถึงเจตนาที่ดีเลย อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ถูกพิจารณาว่าหมิ่นเหม่
ผมเอง ระยะหลังก็ตั้งคำถามกับตัวเองบ่อยขึ้นทุกที เกี่ยวกับที่ยืนของสถาบันกษัตริย์ในยุคปัจจุบัน คือต้องคิดในแง่ของสถาบันล้วน ๆ โดยไม่ยึดติดกับตัวบุคคลในปัจจุบัน ก็จะพบสิ่งขัดแย้งระหว่างหลักการที่ใช้อยู่ กับคติของพระพุทธศาสนา เพียงแต่ว่า พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันทรงทำได้ตามคติพุทธศาสนา จึงได้รับความเคารพจากประชาชน แต่การจะแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถาบันในเชิงวิชาการ ต้องแสดงความชัดเจนว่า นี่เป็นการพูดถึงตัวระบบ ไม่ใช่ตัวบุคคล
จากการถามตัวเอง ผมได้คำตอบลางเลือน ออกในแนวเดียวกับที่บทความข้างบนชี้ เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างกษัตริย์ตามคติฮินดูกับคติพุทธ แต่ก็ไม่สามารถแจกแจงออกมาได้ละเอียด หรือคิดไปในเชิงรุกขนาดนั้น
วัฒนธรรมฮินดูที่อยุธยารับมาจากขอม ยังฝังรากอยู่ลึกในสังคมไทย แต่ผมคิดว่า คติพุทธน่าจะเข้ากับยุคสมัยได้ดีกว่า น่าที่จะได้รับการปรับใช้ให้เป็นรูปธรรม เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงของสถาบันกษัตริย์ไทยต่อไป
ตามคติพุทธแล้ว ความชอบธรรมของกษัตริย์อยู่ที่ความเป็นธรรมราชา ไม่ใช่อยู่ที่ความเป็นสมมติเทพ แม้แต่องค์อัมรินทร์ก็อยู่ได้ด้วยบุญกรรมที่กระทำไว้ เมื่อหมดบุญแล้วก็ต้องจุติ กษัตริย์ตามคติพุทธต้องดำรงซึ่งทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร เป็นธรรมแห่งผู้เสียสละอย่างแท้จริง ความเสียสละอย่างยิ่งยวดนั้นเองที่เป็นเหตุแห่งความชอบธรรมของกษัตริย์ ไม่ใช่เพียงเพราะกำเนิดมาในวรรณะกษัตริย์เท่านั้น
ในทางกลับกัน สำหรับกษัตริย์ตามคติพุทธที่ต้องเสียสละขนาดนั้น กลับไม่ได้มีอำนาจอะไรมากมายเมื่ออยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ กษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมือง ไม่อยู่ในฐานะที่จะตอบโต้ ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะสั่งการอะไรมากเหมือนประธานาธิบดี การตั้งคำถามต่าง ๆ ของนานาชาติเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ก็มักไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้เช่นกัน
สรุปว่ายังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน แค่รู้สึกว่าเราน่าจะให้ความสำคัญกับหลักธรรมทางพุทธศาสนามากกว่านี้
ประธานาธิบดี เหลือไม่กี่ประเทศแล้วมั้งครับที่มีอำนาจมาก
กว่านายกรัฐมนตรี
อย่างเยอรมันเนี่ย คนแทบไม่รู้จักเลย ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง
ว่าแต่กฎหมายที่เสนอเนี่ยมันรับไม่ค่อยได้ ถ้าเป็นจริงขึ้น
มา แค่ยังมีบทบาททางการเมืองก็รับไม่ค่อยได้แล้ว นี่จะ
ยกฐานะกันขึ้นไปอีก
มีบางประเทศที่มีแต่ประธานาธิบดีโดยไม่มีนายกรัฐมนตรี
และจริงหรือที่โดยส่วนใหญ่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจ/บทบาทมากกว่าประธานาธิบดี? อย่างรัสเซีย ฝรั่งเศส อิรัก ปากีสถาน จีน ที่ออกข่าวกันนี่ ประธานาธิบดีทั้งนั้นเลยนะครับ
ถ้าคิดอย่างพุทธไม่ลำบากอะไรเลย คนเรามีความนอบน้อมถ่อมตนก็ดีแล้ว ใครจะทำอะไรก็ทำไป เราก็นอบน้อมไว้ก่อน ไอ้ความนอบน้อมนี่ไม่ได้แปลว่านอบน้อมต่อความชั่ว ใครทำผิดก็ต้องเตือน ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงทำผิดหากเราเป็นศิษย์พระศาสดาเราก็ต้องเตือน แต่ถ้าเตือนแล้วตายก็ไม่ต้องเตือนก็ได้ แต่จริงๆก็ไม่น่ากลัวอะไร ถ้าท่านกล่าวธรรม ธรรมก็ย่อมเป็นธรรม กล่าวอย่างไรให้เป็นธรรม ก็ต้องกล่าวให้เป็น สัจจะกิริยา ไม่ต้องไปเรียก free speech อะไรหรอกครับ ของเราก็มี ขลังกว่าด้วย สัจจะกิริยานี่คือคำจริง จริงทั้งคำ จริงทั้งใจ ไม่ใช่แค่กล่าวเรื่องจริง แต่ต้องเป็นการกล่าวเรื่องจริงด้วยความจริงใจ จริงใจจะรับใช้พระธรรม รับใช้พระเจ้า ไม่ใช่สนองอีโก้ ไม่ใช่สนองโทสะ
ที่สำคัญไอ้การที่ใครทะลึ่งเอาของไปปาหัวใครโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย ก็ยังอุตส่าห์เสือกไปปรบมือให้ ถ้าเป็นกูจะเอาให้หนักกว่านั้นอีก นาซีพวกนี้นอกจากจะไม่ส่งเสริมแล้ว ยังเป็นการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ เห็นชัดว่าการขาดความเข้าใจหลักเมตตาในทุกศาสนา แต่ไอ้คนที่ไม่ยืนก็พอกัน โรงหนังไม่ใช่ที่สาธารณะที่คุณจะไป sit-in หรือกระทำ direct action ห่าเหวของคุณนะครับ
Post a Comment