“ประเทศไทยในขณะนี้มี "วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง" หมายความว่า มีวิกฤตความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงว่า จะเอาไปทำอะไร เพราะกลายเป็นว่าทุกคนที่เป็นผู้นำชุมชน สังคม ก็ใช้คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นข้ออ้างในการทำอะไรก็ได้ที่ดูดี รัฐบาลก็ถือเป็นนโยบาย นักการเมืองก็ใช้พูด เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีว่า ได้ตอบสนองพระราชดำรัส”
“คนไทยเรา เวลามีพระราชดำรัส ก็ไม่วิเคราะห์ ไม่ตั้งคำถาม อันนั้นยังพอว่า เพราะว่าเป็นประเพณีเรา แต่เชื่อและนำมาใช้อย่างไม่ศึกษา จึงเกิดวิกฤต...”
“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาแท้ๆ คือเราไปยกย่องความคิดนี้แบบไม่ค้นคว้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสในเรื่องนี้เป็นปรัชญา เป็นข้อเสนอแนะในการดำเนินชีวิต
ดังนั้นรัฐบาลไม่สามารถนำปรัชญาในการดำเนินชีวิตมาเป็นนโยบายทางเศรษฐกิจได้
เราต้องวิเคราะห์ให้เป็นวิชาการ เพราะปรัชญาในการดำเนินชีวิตเป็นนโยบายวัฒนธรรมและสังคม หากรัฐบาลจะเอามาใช้ต้องประกาศเป็นนโยบายวัฒนธรรมและสังคม แม้จะเรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่นโยบายเศรษฐกิจ เพราะนโยบายเศรษฐกิจ คุณต้องมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมหลายๆ อย่าง เช่น เพิ่มหรือลดทุน การพัฒนาการผลิตจะทำอย่างไร”
มติชน : วิกฤต “เศรษฐกิจพอเพียง” สมเกียรติ อ่อนวิมล “ปรัชญา” ไม่ใช่ “ทฤษฎี”
วิกิพีเดีย: Localism (politics), เศรษฐกิจพอเพียง, พุทธเศรษฐศาสตร์
technorati tags: sufficiency economy, economics, Thailand
2 comments:
ปัญหาไม่ได้อยู่แค่ด้านฝ่ายสนับสนุนด้านเดียว
แต่ฝ่ายคัดค้านก็ไม่ต่างกัน
กลายเป็นทะเลาะกันแบบไม่รู้เรื่องทั้งคู่
เอาเป็นว่า ก่อนอื่นขอให้ลองศึกษาดูก่อน แล้วค่อยมาคิดว่าดีไม่ดีอย่างไร เป็นประโยชน์ที่ตรงไหนได้บ้าง
จพดีกว่าไหม?
ถ้ารู้เรื่องจริง ๆ แล้ว อาจจะทะเลาะกันน้อยลง
เพราะอาจจะทะเลาะกันเนื่องจาก คิดกันไปเอง กลัวกันไปเอง ? แบบนี้รึเปล่า
Post a Comment