จาก หน้าหลัก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี วันที่ 22 กันยายน 2549
ประกาศ
โปรด งดแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ในระยะ 2 สัปดาห์นี้ แต่ยังคงเขียนข้อเท็จจริงทางการเมืองได้ตามปกติ
โอว งงอ่ะเด่ะ :P
update: วันนี้ (23 ก.ย.) มีคนเอาประกาศอันนั้นออกไปแล้ว (เข้าไปดูได้ที่ แม่แบบ:ประกาศ กดที่ "ประวัติ" เพื่อดูประวัติการแก้ไข)
แต่ ยัง ยังไม่หมด
ที่หน้า รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 กับ คปค. มีป้ายนี้ด้วย:
โปรดทราบ เนื่องจากมี คำสั่งคณะปฏิรูปฉบับที่ 5/2549 เรื่อง ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยห้ามเขียน บทความ ข้อความ คำพูด หรืออื่นใด อันอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นอันขาด
หากทางชาววิกิพีเดียเห็นว่าไม่เหมาะสม สามารถดำเนินการลบได้ทันที และขอความร่วมมือระมัดระวังในการแก้ไขบทความด้วย
(โปรดสังเกตว่า ไม่ได้ห้ามแค่ความคิดเห็นเท่านั้น)
นี่คำสั่งคณะปฏิรูปมีผลบังคับใช้นอกประเทศด้วยเหรอเนี่ย ?
คุณคิดอย่างไร ? — ดู Talk:2006_Thailand_coup_detat
หมายเหตุ: การห้ามไม่ให้ใส่ความคิดเห็นปะปนลงไปในเนื้อหาสารานุกรมนั้น เป็นนโนบายตามปกติของวิกิพีเดียอยู่แล้ว แต่ในวิกิพีเดียนั้น ยังมีส่วนที่เรียกว่า หน้าอภิปราย และ ชุมชน (เช่น ศาลาประชาคมและสภากาแฟ) ที่เปิดให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการพัฒนาเนื้อหาและโครงการ
ดู Wikipedia is not censored (วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ)
update: ตอนนี้ป้ายเตือนในบทความทั้งสองถูกปลดลงแล้ว
tags: freedom | free speech | Wikipedia | Thai Wikipedia | Thailand | coup | martial law
8 comments:
คนไทยหมู่มากนี่เอง ที่ทำให้ผมกลัว
มันเป็นสารานุกรม ก็ถูกแล้วนิครับ ที่ไม่ควรแสดง"ความคิดเห็น" นะครับ มันควรจะมีเฉพาะข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่ควรมีความคิดเห็นของคนเขียนนะ
ในหน้าบทความสารานุกรม (article) นั้นใช่แน่นอน ว่าไม่ควรมีความคิดเห็น -- ทั้งก่อนและหลังประกาศคณะปฏิx
-- เป็นนโยบายปกติของวิกิพีเดียอยู่แล้ว
คำถามก็คือ ทำไมต้องทำให้เป็นกรณีพิเศษ ?
หรือว่า โดยปกติไม่ค่อยทำตามนโยบายกัน ? (=เนื้อหาในหน้าสารานุกรมวิกิพีเดียโดยปกติไม่มีความน่าเชื่อถือ เพราะมีความคิดเห็นปะปนอยู่)
ส่วนในหน้าอภิปราย (talk) นั้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการอภิปราย
ย่อมต้องมีความคิดเห็นเป็นธรรมดา
การปิดกั้นไม่ให้แสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม จะทำให้คุณภาพของหน้าเนื้อหาลดลงหรือเปล่า ?
อีกเรื่องก็คือ ทั้งตัวเซิร์ฟเวอร์และมูลนิธิที่ดูแลวิกิพีเดียนั้น อยู่นอกประเทศไทย
และไม่มีความจำเป็นอะไรเลย ที่จะต้องรี่เข้าไปอยู่ใต้การควบคุมของคณะปฏิxอย่างออกนอกหน้าแบบนี้
คือเอาเข้าจริงแล้ว แม้ระบบ(วิกิพีเดีย)จะเปิดให้เสรี แต่ตัวผู้ดูแล/ผู้ร่วมแก้ไขนี่แหละ ที่ยอมไม่เสรีเสียเอง ?
ดู
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549,
พูดคุย:รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
พร้อมป้ายเตือนแบบพิเศษตัวเบ้อเร่อ
ปลดออกไปแล้ว 4 ป้าย
(มีคนมาช่วยปลดไป 1, ผมตามปลดอีก 3)
ใครเจอป้ายเตือนคำสั่งคณะปฏิรูปที่ไหนในวิกิพีเดียช่วยแจ้งด้วยนะครับ จะตามไปปลดออก
เข้าไปวันก่อนก็เจอ
รู้สึกแปลกๆ อยู่ แต่ก็ไม่อยากจะคิดไรมาก ปวดหัว
คนไทยเป็นคนขี้เหงา แม้แต่วิกิพีเดียก็ใช้เป็นที่หาเพื่อน(หาพวก) บทความเป็นที่ไว้ใส่ความคิดเห็นของตัวเอง
ความเหงาใช้อะไรวัดอะครับ
Post a Comment