สกอ.ยื่นคปค.แล้ว ขอตั้งเป็นกระทรวงมหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ 26 กันยายน 2549
ข้างล่างนี่ .. มันเป็นการใช้เหตุผลแบบไหนเนี่ย ?
ทั้งนี้ สกอ.เห็นว่า หากผลักดันในช่วงนี้จะทำได้เร็ว เหมือนเมื่อครั้งก่อตั้งทบวงมหาวิทยาลัย ก็เกิดในช่วงคณะปฏิวัติ โดยการออกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 พ.ศ. 2515
แบบนี้เรียกว่า ฉวยโอกาส ได้รึเปล่า ?
ส่วน รศ.ดร.วันชัย [...] กล่าวว่า การแยกกระทรวงอุดมศึกษาไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องแก้ไขที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และต้องสอบถามความคิดเห็นจากหลายหน่วยงาน [...] และต้องมี พ.ร.บ.การบริหารระเบียบราชการ เพิ่มเติมอีก ซึ่งในช่วงการบริหารงานของ คปค. ซึ่งมีเวลาจำกัดอาจจะแล้วเสร็จไม่ทัน แต่เบื้องต้น อาจจะออกประกาศ เหมือนการประกาศตั้งทบวงมหาวิทยาลัย ในสมัยคณะปฏิวัติของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ออกประกาศเพียงบรรทัดเดียว ส่วนการวางระบบการบริหาร ค่อยดำเนินการตามมาในภายหลัง
พยายามลัดระเบียบขั้นตอน อย่างตั้งใจ ... มักง่าย
ถ้าดูโดยความตั้งใจแล้ว คปค. นั้นเป็นผู้ยึดอำนาจการปกครองก็จริง แต่ไม่ได้มีเจตนาจะเข้ามาบริหารการปกครองเสียเอง (อย่างน้อยก็พยายามแสดงออกมาเช่นนั้น ดูได้จากที่ประกาศไว้ว่า ขอเวลาสองอาทิตย์จะตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อปฏิรูปการเมือง และมีความพยายามจะคัดเลือกพลเรือน ที่ได้รับการยอมรับจากสังคมไทยและนานาชาติ เข้าร่วมในตำแหน่งต่าง ๆ) ดังนั้นโดยความเหมาะสมแล้ว สมควรรึไม่ที่จะไปยื่นเรื่องอะไร ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตั้งรัฐบาลชั่วคราว ให้ คปค. พิจารณาในเวลานี้ ??
ผู้บริหารสกอ. อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้อง น่าจะทบทวนถึงความเหมาะสมเสียหน่อย
รู้จักกาละเทศะกันเสียบ้าง
ไม่งั้นก็ให้คณะรัฐประหารปกครองประเทศกันไปตลอดเลยสิ ทุกอย่างรวดเร็วทันใจดี ไม่ต้องพิจารณามาก
... ฟังแล้วคล้าย ๆ นายก CEO รึเปล่า ?
:P
tags: Thailand | higher education | uniersity | ministry | administration | coup
2 comments:
ฉกฉวยโอกาสไง
เหมือนเล่าปี ไง
ก็ขึ้นอยู่ว่าใครจะเขียนประวัติศาสตร์
รู้สึกว่ามีอธิการบางมหา'ลัียไม่ได้เข้าร่วม
(ธรรมศาสตร์กับมหิดลเป็นต้น)
Post a Comment