ย้ายบล็อกไปที่ bact.cc แล้วนะครับ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
หยุด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ฟรี 2GB จาก Dropbox (sync กับ Windows, Linux, Mac, iPhone, Android ฯลฯ ได้)

2006-04-02

a statement from a(nother) lecturer

คำให้การของอาจารย์คนหนึ่ง / ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

หมายเหตุ (ยาว):
อาจารย์ธรณ์ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นหนึ่งในทีมงานที่จัดทำเว็บทะเลไทย TalayThai.com มีผลงานด้านการศึกษาทะเล สัตว์ทะเล และปะการังไทยจำนวนมาก ทั้งทางวิชาการ และกึ่งวิชาการกึ่งสารคดี (ซึ่งทำให้ชื่อของอาจารย์เป็นที่รู้จักของคนในวงกว้าง)
... ถึงตรงนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับคำให้การนั้นเท่าไหร่ ให้เป็นข้อมูลเฉย ๆ ละกัน .. ตระกูลธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นตระกูลข้าราชการ/ทหารเรือเก่าแก่ตระกูลหนึ่ง ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดน่าจะเป็น หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ปู่ของอาจารย์ธรณ์) ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของประเทศไทย ในช่วงสั้น ๆ ตรงรอยต่อระหว่างสมัยอาจารย์ปรีดี กับนายควง อภัยวงศ์ ก่อนจะต้องลี้ภัยทางการเมืองไปต่างประเทศ หลังเกิดการรัฐประหารโดยการนำของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ

1 comment:

Anonymous said...

ปัญหาคือระบบมันก้ำกึ่งอยู่... ผมเข้าใจว่าการที่ระบบมันเป็นอย่างนี้ เพราะว่าในการเขียนกฎมีความพยายามที่จะ "สมานฉันท์" ระหว่างความเป็นประชาธิปไตยกับอำนาจของสภามหาวิทยาลัย

ผมไม่คิดว่าเรื่องพวกนี้จะมีการเดินสายกลางได้ (คือกึ่ง ๆ การตัดสินโดยคนกลุ่มเล็ก กับการตัดสินโดยคนกลุ่มใหญ่)เพราะสุดท้ายก็เป็นการตัดสินโดยคนกลุ่มเล็ก ๆ อยู่ดี

สิ่งหนึ่งที่หลายคนไม่ได้พูดถึงก็คือการหยั่งเสียงนั้น มันไม่ได้มีกระบวนการที่ครบถ้วนเหมือนการเลือกตั้ง ผมไม่คิดว่าทุกคนมีข้อมูลที่ครบถ้วนในการลงคะแนน (มีการนำเสนอวิสัยทัศน์ แต่มีกี่คนที่ได้ดู ไม่มีการดีเบต ไม่มีโอกาสจะซักถาม มีเอกสารแจกนโยบาย แต่นโยบายทุกคนก็สวยหรู) ลักษณะเช่นนี้สร้างความชอบธรรมให้กับกระบวนการสรรหาและตัดสินของคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่สามารถอ้างได้อย่างเต็มปากว่ามีข้อมูลมากกว่า

ที่น่าสนใจคือ เท่าที่ผมพอจะทราบมา หลาย ๆ มหาวิทยาลัย มีระบบในการสรรหาลักษณะเช่นนี้เหมือนกัน