การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออก | Monday demonstrations in GDR | Montagsdemonstrationen 1989/1990 in der DDR
การเดินขบวนวันจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2532/2533 (ค.ศ. 1989/1990) ในเมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนีตะวันออก เป็นชุดของการประท้วงทางการเมืองอย่างสงบจำนวนหลายครั้ง เพื่อประท้วงรัฐบาลเยอรมนีตะวันออก
การเดินขบวนเริ่มต้นหลังจากการสวดมนต์เพื่อสันติภาพกับบาทหลวง Christian Führer ที่โบสถ์นิโคไล และขยายจนเต็มใจกลางเมือง Karl Marx Platz ที่อยู่ใกล้ ๆ. หลังจากที่ทราบว่าโบสถ์สนับสนุนท่าทีของพวกเขา ชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากที่ต้องการออกไปจากประเทศก็ได้เข้าร่วมในสนามของโบสถ์ และการเดินขบวนอย่างสงบก็ได้เริ่มขึ้น เพื่อเรียกร้องสิทธิ เช่น อิสระในการเดินทางไปต่างประเทศ และสิทธิเลือกตั้งรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย
เมื่อได้ทราบเรื่องนี้ จากโทรทัศน์และปากต่อปาก ประชาชนในเมืองอื่น ๆ ก็เริ่มการเดินขบวนอย่างในไลป์ซิก ชุมนุมกันที่จตุรัสเมืองทุก ๆ เย็นวันจันทร์. เมื่อถึงเดือนตุลาคม 2532 มีผู้เข้าร่วมชุมนุมถึง 250,000 คน
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้เมืองไลป์ซิกได้รับการขนานนาม (อย่างไม่เป็นทางการ) ว่า Heldenstadt หรือ เมืองวีรชน เพลงที่โด่งดังจากการเดินขบวนครั้งนี้คือ Wir sind das Volk! - เราคือประชาชน.
แม้รัฐบาล SED (Socialist Unity Party of Germany) จะได้ขู่ว่าอาจจะใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง แต่ในที่สุดก็ได้ยับยั้งการกระทำใด ๆ ดังกล่าวเอาไว้. การเดินขบวนสิ้นสุดลงในที่สุด เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2533 ในเวลาใกล้เคียงกับการเลือกตั้งหลายครั้ง ซึ่งนำไปสู่การรวมประเทศเยอรมนี
อ่า ... ผิดกฎหมายนะครับ เดินขบวนแบบนี้เนี่ย :P
Updated 2006.03.28:
- recommended read: อารยะขัดขืน: ทางออกสุดท้ายของประชาชน? by Fringer (คนชายขอบ)
- accidentally found: Civil Disobedience under Thai Crony Capitalism (pdf) by Kosum Saichan
3 comments:
อ้าว ผิดกฎหมายเหรอ หมายถึงกฎหมายของที่นั่นในตอนนั้นหรือเปล่า??
ผิดกฎหมายในตอนนั้นครับ
ถ้าเดินตอนนี้ ก็ผิดอยู่ดีแหละ อย่างน้อยก็กฎจราจรไง
อย่างที่บางคนชอบอ้างถึงน่ะ เวลามีชุมนุมอะไรกัน
กระบวนการภาคประชาสังคมในเยอรมันถือว่าสุดยอดแห่งหนึ่งของโลก
เข้าใจว่าเป็นแม่แบบให้กิจกรรมการเคลื่อนไหวในเมืองไทยด้วย
Post a Comment