30 ปีหลังยุค "ฉันจึงมาหาความหมาย" สังคมไทยเรียนรู้อะไรบ้าง ? — วิทยากร เชียงกูล
(บทความจากเว็บไซต์คณะเศรษฐศาสตร์ มอ.)
“ เราไม่ได้พ้น หรือพัฒนาวุฒิภาวะ ในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างซับซ้อน มีแนวโน้มที่จะมองปัญหาแบบเป็น 2 ขั้วอย่างสุดโต่ง เช่น ขวา-ซ้าย พุทธแท้ พุทธเทียมมากเกินไป จึงมีอาการสวิงไปขั้วนี้บ้าง ขั้วนั้นบ้าง แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่กลุ่มคน ขาดการวิเคราะห์หาทางเลือกใหม่ ๆ ที่คิดได้อย่างเป็นระบบเหตุผล มีข้อมูลพื้นฐานจริงรับ ”
“ บทเรียนที่ผ่านมาในรอบ 30 ปี ของสังคมไทย แต่ละคนไม่ได้ศึกษาพัฒนาแนวคิด อย่างเป็นระบบที่ชัดเจน และไม่ได้พัฒนาองค์กรประชาธิปไตย อย่างมีวุฒิภาวะ องค์กรในอดีต ใช้สูตรสำเร็จในการแก้ไขปัญหามากเกินไป ไม่มีการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง การบริหารองค์กร ก็เป็นการรวมศูนย์มากกว่าเป็นแบบประชาธิปไตย นอกจากนี้ ประชาชนในกลุ่มองค์กรที่หลากหลายก็จะต้องเรียนรู้ ที่จะทำงานท่ามกลางความขัดแย้ง และวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ ลดความยึดติดกับตนเอง ซึ่งหากเราสามารถปรับปรุงองค์กรกันใหม่ จากบทเรียนที่ผ่าน ๆ มา ก็มีความเป็นไปได้ ที่จะสามารถสร้างกลุ่มการเมืองใหม่ ที่มีพลังพอสมควร แม้ว่าจะเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ก็ตาม ”
“ กลุ่มพลังการเมืองใหม่ ที่มีจินตนาการจะไม่เกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน หากประชาชนยังไม่กล้าคิด กล้าฝัน ซึ่งหากไม่กล้าฝันเสียแล้ว เราจะมีชีวิตที่ทุกข์ยากขนาดไหน ในยุควิกฤติที่มืดมน ”
No comments:
Post a Comment