ย้ายบล็อกไปที่ bact.cc แล้วนะครับ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
หยุด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ฟรี 2GB จาก Dropbox (sync กับ Windows, Linux, Mac, iPhone, Android ฯลฯ ได้)

2006-01-20

SIIT QA results

ผลการประเมินคุณภาพ (ภายใน) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) โดย งานประกันคุณภาพการศึกษา กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(ครั้งที่ 1 เหมือนไม่ได้เข้าร่วม ; ครั้งที่ 2 ลิงก์เจ๊ง กลายเป็นของคณะนิติแทน - -)

ผลการประเมิน ด้าน อาจารย์/สัดส่วนอาจารย์ต่างประเทศ (เนื่องจากเป็นส.นานาชาติ)/ผลงานวิชาการ ห้องสมุด/ระบบสารสนเทศ ทุนการศึกษา/ทุนวิจัย การบริหาร/งบประมาณ อะไรพวกนี้นี่ โอเค

แต่ ข้อสังเกต/เสนอแนะ (หมายความว่า ควรปรับปรุง) น่ะ ยาวเฟื้อย:

  • คุณภาพนศ.ที่รับเข้ามาประเมินได้ไม่ชัดเจน (ที่สอบผ่าน สกอ. มีอัตราการแข่งขันสูง (จำนวนเลือก:จำนวนรับ), เลือกเป็นอันดับหนึ่งสูง, คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับเดียวกับม.รัฐทั่วไป -- แต่ยังไม่มีการประเมินการรับนศ.จากช่องทางอื่น)
  • จำนวนนศ.จบตามกำหนดเพียง 50% / ลาออกกลางคันจำนวนมาก (อาจเกี่ยวข้องกับคุณภาพนศ.ที่รับเข้ามา)
  • สัดส่วนของนศ.ที่สอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ (TU-GET 550) ยังไม่สูงนัก - ถ้าคิดว่านี่คือสถาบันนานาชาติ (จากรายงานครั้งที่ 4: ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 ถ้าใครไม่ผ่าน TOEFL 500 หรือ TU-GET 550 ก็จะไม่ให้จบละ)
  • ภาระงานของนศ.ป.เอกอาจจะมากไป (ตีพิมพ์เฉลี่ย 5 บทความ/คน - เกณฑ์คือ 3)
  • ภาระงานของอาจารย์อาจจะมากไป (จากจำนวนนศ.(ภาระงานสอน), จำนวนผลงานวิชาการ)
  • อาจจะปรับปรุงหลักสูตรถี่เกินไป
  • อัตรา เงินเดือนบุคลากร : ค่าใช้จ่ายทั้งหมด อาจจะสูงไป
  • ลงทุนด้านทรัพยากรด้านต่าง ๆ สูง (ไป ? -- คงจะเป็นช่วงนี้ล่ะมั้ง เพราะสร้างตึกเยอะมาก สงสัยเก็บกด เมื่อก่อนมันไม่มีที่ให้สร้างน่ะ)
  • ยังไม่มีผู้บริหารที่รับผิดชอบดูแลการประเมินโดยตรง

โชคดีที่ผมจบมานานแล้ว / ไม่ต้องสอบ TU-GET ไม่งั้นคงแย่ เพราะรู้สึกว่าข้อสอบมันประหลาด ๆ ทำลำบาก / ไม่ได้หมายความว่ามันยากน่ะ มันก็สไตล์ TOEFL น่ะแหละ แต่ไอ้เรื่องที่เอามาให้อ่านนี่ ปวดหัวตึ๊บ - -"
อย่าง TOEFL นี่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเภทข่าว หรือไม่ก็ทำนองสารคดี ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์ ก็จะออกแนว popular science
แต่คนออกข้อสอบ TU-GET (อย่างน้อยก็สมัยผมล่ะ) ไม่รู้แกนึกไง โห เอาเรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ อะไรพวกนี้มาให้อ่าน - -" โห รู้เรื่องตายล่ะ
(คือมันก็อ่านรู้เรื่องแหละ แต่ช้าไง ทำไม่ทันจริง ๆ TOEFL นี่ผมทำทันหมดนะ/ยกเว้น writing -- แต่ไอ้ TU-GET นี่ อืดสนิท ทำไม่ทัน)
TOEFL ผมได้ 600 แต่คะแนน TU-GET นี่ ..เท่าไหร่จำไม่ได้ละ (ไม่อยากจำ) แต่มันห่วยเลยล่ะ
ห่วยขนาดไหน ? ก็คิดดู ตอนนั้นที่สอบ TU-GET น่ะ ก็เพื่อเอาไปสมัครวิทย์คอม ป.โท ของมธ. ผมไปขอพี่ที่รับสมัครอ่ะ ว่าใช้คะแนน TOEFL แทนได้ป่าว - - ไม่กล้าใช้คะแนน TU-GET
แต่สำหรับคนที่เรียนทางด้านนั้นมา (หรืออ่านหนังสือพิมพ์ไทยภาษาอังกฤษบ่อย ๆ) TU-GET ก็คงสบาย ๆ ล่ะ (อย่างที่บอก มันไม่ได้ยากกว่า TOEFL หรอก เผลอ ๆ อาจจะง่ายกว่าด้วย .. แต่ปวดหัว)

5 comments:

Beamer User said...

ผลประเมินไม่ค่อยดีนะ

bact' said...

ด้าน อาจารย์/สัดส่วนอาจารย์ต่างประเทศ/ผลงานวิชาการ ห้องสมุด/ระบบสารสนเทศ ทุนการศึกษา/ทุนวิจัย การบริหาร/งบประมาณ นี่โอเค

แต่ ข้อสังเกต/เสนอแนะ ยาวเฟื้อย
* คุณภาพนศ.ที่รับเข้ามาประเมินได้ไม่ชัดเจน (ที่สอบผ่าน สกอ. มีอัตราการแข่งขันสูง (จำนวนเลือก:จำนวนรับ), เลือกเป็นอันดับหนึ่งสูง, คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับเดียวกับม.รัฐทั่วไป -- แต่ไม่ได้มีการประเมินการรับนศ.จากช่องทางอื่น)
* จำนวนนศ.จบตามกำหนดเพียง 50% / ลาออกกลางคันจำนวนมาก (อาจเกี่ยวข้องกับคุณภาพนศ.ที่รับเข้ามา)
* สัดส่วนของนศ.ที่สอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ (TU-GET 550) ยังไม่สูงนัก - ถ้าคิดว่านี่คือสถาบันนานาชาติ (ตอนนี้เห็นน้องมันว่าจะ ถ้าสอบ TOEFL ไม่ผ่านเกณฑ์ ก็จะไม่ให้จบละ)
* ภาระงานของนศ.ป.เอกอาจจะมากไป (ตีพิมพ์เฉลี่ย 5 บทความ/คน)
* ภาระงานของอาจารย์อาจจะมากไป (จากจำนวนนศ.,จำนวนผลงานวิชาการ)
* อาจจะปรับปรุงหลักสูตรถี่เกินไป
* อัตราเงินเดือนบุคลากร : ค่าใช้จ่ายทั้งหมด อาจจะมากไป
* ลงทุนด้านทรัพยากรด้านต่าง ๆ สูง (ไป ? -- คงจะเป็นช่วงนี้ล่ะมั้ง เพราะสร้างตึกเยอะมาก สงสัยเก็บกด :P เมื่อก่อนมันไม่มีที่ให้สร้างน่ะ)
* ยังไม่มีผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการประเมินโดยตรง

Anonymous said...

ทำไมมี "อาจจะ" เยอะจัง

bact' said...

ก็เป็น "ข้อสังเกตุ/เสนอแนะ" ไง เลยมีแต่ "อาจจะ" :P

"อาจจะ" เป็นเพราะว่าคนประเมินเค้าก็ประเมินไปตามเกณฑ์ปกติรึเปล่า แต่แต่ละคณะ/สถาบัน ก็ "อาจจะ" มีนโยบายหลาย ๆ เรื่องไม่เหมือนกัน
เพราะงั้นบางทีผลประเมินออกมาแบบนึง คนประเมินเค้า "ก็คง" ไม่กล้าฟันธงไปว่า เอ้ย นี่ไม่ดีนะ
อย่างเรื่องสัดส่วนเงินเดือนบุคลากรที่เค้าว่าสูงนี่ มันก็คงมาจากนโยบายของสถาบันน่ะ
ที่พยายามจะจ้างเฉพาะอาจารย์วุฒิป.เอก และให้ค่าตอบแทนในเรตเอกชน "We offer attractive salaries, remuneration and benefit comparable to private sectors"
แล้วก็พยายามไม่ลงทุนในสินทรัพย์ที่มันเสื่อมราคาได้ อะไรเช่าได้ก็เช่า หรือไม่ก็ outsource
ตึกอะไรก็ไม่ได้สร้างมาหลายปีละ (ที่เต็ม เพิ่งจะได้มาสร้ืางเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา หลังจากได้ที่เพิ่ม)
พอรายจ่ายอื่น ๆ มันน้อย ไอ้เงินเดือนมันเลยโดดขึ้นมาเด่น "มั้ง"


แต่จริง ๆ ลดก็ได้นะเนี่ย
อย่างบางวิชานี่ก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องให้อ.วุฒิป.เอกมาสอนเลย - -
อย่าง เขียนโปรแกรมเบื้องต้น หรือ วงจรอิเล็กเบื้องต้น อะไรพวกนี้อ่ะ เปลืองเปล่า ๆ
ให้อ.วุฒิป.โท หรือเด็กเรียนป.เอก สอนก็เหมือนกันม้าง - -

bact' said...

ร้อยละของจำนวนวิทยานิพนธ์ (ป.โท/ป.เอก) ที่ตีพิมพ์ในระดับประเทศ (N ; ตัวชี้วัดที่ 30.1) และระดับนานาชาติ (I ; ตัวชี้วัดที่ 30.2) ต่อจำนวนนศ.ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2547 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://bact.blogspot.com/2006/09/thammasat-as-research-university-still.html