เสียงจากปัญญาชนสยาม,
นสพ.กรุงเทพธุรกิจ จุดประกาย เสาร์สวัสดี ฉบับที่ 341 วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2548
(ได้มาจากบล็อกของ pin poramet)
บทสนทนากับ ส.ศิวรักษ์ เกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
[ส.ศิวรักษ์] ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเข้าใจสังคมไทยอย่างลึกซึ้งคนหนึ่ง โดยเฉพาะในเรื่องสถาบันศาสนาและพระมหากษัตริย์ เป็นนักคิดสายอนุรักษนิยมที่โดยเนื้อแท้มีจุดยืนแตกต่างจากนักอนุรักษนิยมโดยทั่วไป ความกล้าในการวิพากษ์วิจารณ์ของเขา ทำให้เคยได้รับข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ผ่านพ้นมาได้ด้วยดี มุมมองของเขาครั้งนี้ไม่ใหม่นัก แต่เป็นการย้อนกลับไปหารากฐานที่หลายคนยังไม่รู้
(ไม่เกี่ยวกับเรื่องในบทสนทนาในลิงก์นั้น)
“ คือ conservative นี่ต้องเข้าใจนะว่า คือการรักษาของเก่าเป็นของดี รักษาต้นไม้เป็นของดี แต่ถ้าคุณรักษาของเก่าจนของเก่าทำลายของใหม่ อันนี้ผิด เหมือนต้นไม้ มันแก่แล้ว มีกาฝากก็ต้องตัดเอากาฝากออก ต้องรักษาเนื้อไม้ไว้ เอาเปลือกกระพี้ทิ้ง ไอ้ conservative ที่ไม่ทำอะไรเลย อันตรายนะครับ มันเป็นโทษ ”
ตัวที่เน้นนั้น ถ้าจะเอามาใส่ในบริบทของความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ก็น่าจะสอดคล้องกับแนวคิด Free Culture (ดูสไลด์) ที่ "นำ" โดย Lawrence Lessig
ขอบกระดาษ: ผมเคยเจออาจารย์ (ตู่ไปว่าเค้าเป็นอาจารย์อีก เอ้อ) ครั้งหนึ่ง ที่เบอร์ลินนี่ จากที่ได้คุยกัน แกเป็นคนตรงไปตรงมามาก หมายถึงในเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์ เห็นอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ไม่ว่าคนในหัวข้อนั้นจะเป็นใคร จะเป็นนายก นักการเมือง จะเป็นเชื้อพระวงศ์ จะเป็นเจ้าขุนมูลนาย หรือเป็นพระสงฆ์องค์เจ้า (นี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่แกยังดำรงสถานะความน่าเชื่อถือไว้ได้ ไม่ถูกจับกลุ่มว่าเป็นพวกนั้นพวกนี้ — เพราะแก "ด่า" หมดน่ะ ถ้าจะพูดง่าย ๆ) อีกอย่างที่รู้สึกได้เองเลยก็คือ อาจารย์แกรอบรู้มาก โดยเฉพาะเรื่องประวัติศาสตร์ ตอนนั้นผมแนะนำตัวว่ามาทำอะไร มาจากไหน แกร่ายได้เลย อ๋อ นี่เอดินบะระคุณรู้มั๊ย สมัยก่อนคนไทยเคยมีใครไปเรียนบ้าง (เชื้อพระวงศ์และบุคคลสำคัญทั้งหลาย) คือทึ่งมาก จำได้รายละเอียดได้เยอะแยะ ใครเป็นใคร เป็นอะไรกับใคร ถ้าเกิดมีโอกาสก็อยากจะคุยกับอาจารย์อีก ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสเมื่อไหร่ ดูภายนอกนี่ ผมว่าอาจารย์แกดุ ๆ ขวาง ๆ นะ แต่คุยได้สนุกจริง ๆ แต่ละเรื่องน่าสนใจมาก
1 comment:
ชื่อเล่นของ ส. ตอนนี้คือ นักวิชาการหัวโต
อิ อิ
Post a Comment