humanistic informatics for human freedom
กลับมาอยู่บ้านได้เดือนนึงแล้ว
ได้ไปเชียงใหม่ เชียงราย แบบแว๊บ ๆ
เจอเพื่อนเก่า เพื่อนใหม่
ยังหาคำตอบให้กับตัวเองไม่ได้
อันที่จริงคือ ยังหาคำถามให้กับตัวเองไม่ได้ น่าจะเป็นอย่างนั้น
tags: me
อารายกาน ที่อ่านมา เห็นเต็มไปด้วยคำถาม (ก็แค่รูปประโยคเองที่ไม่ใช่)เรื่อง 'คำถาม' ทำให้นึกถึงหนังสือเรื่อง 'ภาพผ่านกระจกหม่นมัว' ของโยสไตน์ กอร์เดอร์ เลยที่จะมีเทวดาตัวนึงชื่อเอเรียล มีธรรมเนียมว่า จะก้มคำนับทุกครั้งที่ได้ยินคำถามที่ดี ยิ้งก้มต่ำ แสดงว่าคำถามนั้นดีมากขึ้นเท่านั้น
คำถามเยอะไปตอบทั้งหมดทีเดียวไม่ได้ต้องเลือกตอบยังเลือกไม่ได้ :P
มาสารภาพผิด... น่าอับอายจริงๆ เรื่องมีอยู่ว่า... วันก่อน รื้อตู้เพื่อค้นหนังสือ จะเอาให้เพื่อนยืม สายตาเหลือบไปเห็นหนังสือเรื่อง "สวัสดีชาวโลก" ของ โยสไตน์ กอร์เดอร์ ฉับพลันนั้นถึงนึกขึ้นมาได้ในทันทีว่า ที่โพสต์ไปในบลอกนี้ว่า ... "เรื่อง 'คำถาม' ทำให้นึกถึงหนังสือเรื่อง 'ภาพผ่านกระจกหม่นมัว' ของโยสไตน์ กอร์เดอร์ เลย ที่จะมีเทวดาตัวนึงชื่อเอเรียล มีธรรมเนียมว่า จะก้มคำนับทุกครั้งที่ได้ยินคำถามที่ดี ยิ้งก้มต่ำ แสดงว่าคำถามนั้นดีมากขึ้นเท่านั้น "ข้อมูลเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มั่วทั้งสิ้น !!! ของจริง ควรจะเป็น... "เรื่อง 'คำถาม' ทำให้นึกถึงหนังสือเรื่อง 'สวัสดีชาวโลก' ของโยสไตน์ กอร์เดอร์เลยที่จะมีเด็กจากดาวต่างดวงตัวนึง ชื่อ มิกะ มีธรรมเนียมว่า จะก้มคำนับทุกครั้งที่ได้ยินคำถามที่ดี ยิ้งก้มต่ำ แสดงว่าคำถามนั้นดีมากขึ้นเท่านั้น "มิกะ เป็นเด็กจากต่างดาว ที่มาอยู่เป็นเพื่อน 'โจ' เด็กชายคนหนึ่งที่กำลังเฝ้ารอ 'การเปลี่ยนแปลง' ที่กำลังจะเกิดขึ้น ด้วยความรู้สึกที่ทั้งกำลัง 'กังวล' และ 'ตื่นเต้น' ... ต้องขออภัยในความทรงจำที่สั้นจุ๊ด แถมยังจำผิดมั่วไปหมด มันเป็นความบังเอิญ ที่เรามีหนังสือของผู้เขียนคนนี้ (โยสไตน์ กอร์เดอร์)อยู่ 3 เล่ม คือ โลกของโซฟี ภาพผ่านกระจกหม่นมัว และ สวัสดีชาวโลก เราไม่แน่ใจว่า เราจะชอบงานเขียนของคนนี้ เพราะรู้สึกว่าลีลาการเขียนจงใจใส่ประเด็นที่อยากจะสอน จนทำให้แม้ว่าเขาจะละเอียดอ่อน แต่มันกลับไม่ค่อยมีชีวิตชีวา อย่างไรก็ดี ดูเหมือนคนจำนวนมาก โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้องเรียนปรัชญาเบื้องต้น จะชื่นชอบ โลกของโซฟี ซึ่งก็อ่านแล้วได้ความรู้จริงๆ เราอ่านโลกของโซฟีมาหลายเดือนแล้ว อ่านไม่จบเสียที แต่มันก็เป็นหนังสือที่หยิบมาอ่านต่อทุกครั้ง ที่เราเกิดคำถามต่อสิ่งต่างๆ มากๆ
อืม มั่ว จริง ๆทำได้ไงอ่ะ :P
Post a Comment
4 comments:
อารายกาน ที่อ่านมา เห็นเต็มไปด้วยคำถาม (ก็แค่รูปประโยคเองที่ไม่ใช่)
เรื่อง 'คำถาม' ทำให้นึกถึงหนังสือเรื่อง 'ภาพผ่านกระจกหม่นมัว' ของโยสไตน์ กอร์เดอร์ เลย
ที่จะมีเทวดาตัวนึงชื่อเอเรียล มีธรรมเนียมว่า จะก้มคำนับทุกครั้งที่ได้ยินคำถามที่ดี ยิ้งก้มต่ำ แสดงว่าคำถามนั้นดีมากขึ้นเท่านั้น
คำถามเยอะไป
ตอบทั้งหมดทีเดียวไม่ได้
ต้องเลือกตอบ
ยังเลือกไม่ได้ :P
มาสารภาพผิด... น่าอับอายจริงๆ
เรื่องมีอยู่ว่า...
วันก่อน รื้อตู้เพื่อค้นหนังสือ จะเอาให้เพื่อนยืม
สายตาเหลือบไปเห็นหนังสือเรื่อง "สวัสดีชาวโลก" ของ โยสไตน์ กอร์เดอร์
ฉับพลันนั้นถึงนึกขึ้นมาได้ในทันทีว่า ที่โพสต์ไปในบลอกนี้ว่า ...
"เรื่อง 'คำถาม' ทำให้นึกถึงหนังสือเรื่อง 'ภาพผ่านกระจกหม่นมัว' ของโยสไตน์ กอร์เดอร์ เลย ที่จะมีเทวดาตัวนึงชื่อเอเรียล มีธรรมเนียมว่า จะก้มคำนับทุกครั้งที่ได้ยินคำถามที่ดี ยิ้งก้มต่ำ แสดงว่าคำถามนั้นดีมากขึ้นเท่านั้น "
ข้อมูลเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มั่วทั้งสิ้น !!!
ของจริง ควรจะเป็น...
"เรื่อง 'คำถาม' ทำให้นึกถึงหนังสือเรื่อง 'สวัสดีชาวโลก' ของโยสไตน์ กอร์เดอร์เลยที่จะมีเด็กจากดาวต่างดวงตัวนึง ชื่อ มิกะ มีธรรมเนียมว่า จะก้มคำนับทุกครั้งที่ได้ยินคำถามที่ดี ยิ้งก้มต่ำ แสดงว่าคำถามนั้นดีมากขึ้นเท่านั้น "
มิกะ เป็นเด็กจากต่างดาว ที่มาอยู่เป็นเพื่อน 'โจ' เด็กชายคนหนึ่งที่กำลังเฝ้ารอ 'การเปลี่ยนแปลง' ที่กำลังจะเกิดขึ้น ด้วยความรู้สึกที่ทั้งกำลัง 'กังวล' และ 'ตื่นเต้น'
...
ต้องขออภัยในความทรงจำที่สั้นจุ๊ด แถมยังจำผิดมั่วไปหมด
มันเป็นความบังเอิญ ที่เรามีหนังสือของผู้เขียนคนนี้ (โยสไตน์ กอร์เดอร์)อยู่ 3 เล่ม คือ โลกของโซฟี ภาพผ่านกระจกหม่นมัว และ สวัสดีชาวโลก
เราไม่แน่ใจว่า เราจะชอบงานเขียนของคนนี้ เพราะรู้สึกว่าลีลาการเขียนจงใจใส่ประเด็นที่อยากจะสอน จนทำให้แม้ว่าเขาจะละเอียดอ่อน แต่มันกลับไม่ค่อยมีชีวิตชีวา อย่างไรก็ดี ดูเหมือนคนจำนวนมาก โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้องเรียนปรัชญาเบื้องต้น จะชื่นชอบ โลกของโซฟี ซึ่งก็อ่านแล้วได้ความรู้จริงๆ
เราอ่านโลกของโซฟีมาหลายเดือนแล้ว อ่านไม่จบเสียที แต่มันก็เป็นหนังสือที่หยิบมาอ่านต่อทุกครั้ง ที่เราเกิดคำถามต่อสิ่งต่างๆ มากๆ
อืม มั่ว จริง ๆ
ทำได้ไงอ่ะ :P
Post a Comment