This passage [in Borges] quotes a 'certain Chinese encyclopedia' in which it is written that 'animals are divided into: (a) belonging to the Emperor, (b) embalmed, (c) tame, (d) sucking pigs, (e) sirens, (f) fabulous, (g) stray dogs, (h) included in the present classification, (i.) frenzied, (j) innumerable, (k) drawn with a very find camelhair brush, (l) et cetera, (m) having just broken the water pitcher, (n) that from a long way off look like flies.' In the wonderment of this taxonomy, the thing we apprehend in one great leap, the thing that, by means of the fable, is demonstrated as the exotic charm of another system of thought, is the limitation of our own, the start impossibility of thinking that.
— Foucault's The Order of Things [read on Google Books]
สารานุกรมจีนโบราณฉบับหนึ่ง แบ่งสัตว์เป็นประเภทต่าง ๆ เช่น สัตว์ดอง, สัตว์ของจักรพรรดิ, สัตว์เชื่อง, สัตว์คลั่ง, พรายน้ำ, สัตว์วาดด้วยพู่กันขนอูฐ (!?!?)
ตราบใดที่เราจำเป็นต้องมีหน่วยในการคิด เพื่อที่จะคิด เราย่อมไม่สามารถคิดโดยไม่จัดจำแนก(แบ่งหน่วย)ได้
พร้อม ๆ กับที่การจัดจำแนกช่วยในการคิดของเรา มันก็จำกัดความเป็นไปได้ในการคิดอื่น ๆ ของเราด้วย
เพื่อจะคิดถึงความรู้ใหม่ ๆ ที่พ้นหรือต่างไปจากกรอบที่มีอยู่ เราจำเป็นต้องพิจารณาถึงการจัดจำแนกที่เราคุ้นเคย และตั้งคำถามกับมัน การจัดจำแนกไม่ได้เกิดโดยธรรมชาติ แต่เกิดจากคติของเราและสังคม ดังนี้แล้ว การจัดจำแนกจึงมีความเป็นการเมืองอยู่ในตัวของมันเอง
ลองมองไปในห้องสมุด ไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์ สถานที่ที่เราถือเป็นแหล่งเก็บรวบรวมความรู้ การวางผัง ตำแหน่ง การจัดชั้นหนังสือในห้องสมุด และระบบการจัดจำแนกหนังสือ ก็มีคติ-ที่เป็นอัตวิสัย-บางอย่างซุกซ่อนอยู่
หมวดหัวข้อ “ผู้หญิง” เพิ่งจะถูกเพิ่มเข้ามาในระบบจัดจำแนกหนังสือในห้องสมุดเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1980 นี้นี่เอง — นั่นคือ ก่อนหน้านี้ “ผู้หญิง” ไม่ได้ถูกนับเป็นความรู้
การจัดจำแนก categorization และการแบ่งแยก/เลือกที่รักมักที่ชัง discrimination เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก
น่าสนใจว่า นักคอมพิวเตอร์ นักสารสนเทศ คนทำงาน informatics ทั้งหลาย รวมถึงนักการศึกษา จะคำนึงถึง ความเป็นการเมือง
นี้เพียงใด?
technorati tags: discrimination, categorization, classification
2 comments:
Federated Search
ที่สวีเดนสำนักห้องสมุดแห่งชาติเค้าก็ทำไว้เหมือนกันนะ ลิงค์หอสมุดของรัฐ กับมหาวิทยาลัยไว้
http://libris.kb.se/
อีกอันเป็นพวก publication โดยเฉพาะ
http://swepub.kb.se/
อย่าง Thesis ที่ Chalmers นักเรียนทุกคนถูกบังคับให้เซ็น Open Access Agreement หมด (ยกเว้นว่ามีปัญหาเรื่องความลับทางการค้า ก็ขอเป็นรายๆ ไป) ...Thesis จะถูกโหลดเข้าฐานข้อมูลของมหาลัย (แต่เค้าขอ file เป็น PDF ไปนะ 555+)
หลายๆ องค์กรเขาถึงพยายามนำประเด็นเรื่อง gender เข้าเป็นกระแสหลักไง (gender mainstreaming) ไม่งั้น มันก็ malestream กันหมด
คนทำงานด้านนี้ก็คงต้องต่อสู้กันต่อไป ไม่ใช่เฉพาะเพื่อเพศหญิง แต่เพื่้อเพศอื่นๆ ที่เป็น gender identity ใหม่ๆ ด้วย
ที่สิงคโปร์ activist ที่ทำงานด้าน gay movement เล่าให้ฟังว่า เขาเข้าไปทำงานกะอาจารย์มหาลัยคนนึง ซึ่งจะมอบหมายงานให้ นศ.ปีหนึ่งทุกคนต้องทำรายงานตอนสิ้นเทอม มีให้เลือก 4 หัวข้อ 1 ในนั้นคือเรื่องเกี่ยวกับ sexual diversity นี่ฉลาดมากเลย เพราะเป็นการให้คนรุ่นใหม่ได้ไปสัมผัสชีวิตคนเหล่านี้โดยตรงผ่านการสัมภาษณ์และวิธีการวิจัยอื่นๆ องค์กรของ activist คนนี้ ก็ฉลาดล้ำอีก จัดให้รางวัลสำหรับรายงานดีเด่นทุกๆ สองปี Wow!!!
นี่คือ การเบียดขับเพื่อเข้าชิงพื้นที่การสร้างความรู้
Post a Comment