YouTube ถูกเซ็นเซอร์ครับ เป็นการเซ็นเซอร์ตัวเอง (self-censorship) ของ YouTube ซึ่งก็อย่างที่เราทราบ เป็นไปตามข้อตกลงของรัฐบาลไทย โดยกระทรวงไอซีที กับทางกูเกิล ที่ทางรัฐบาลไทยสามารถร้องขอให้ทาง YouTube ปิดการแสดงวิดีโอชิ้นใดก็ได้ ... วิเศษครับ
This video is not available in your country.
Oh, thank you for reminding me that I'm in Thailand.
http://youtube.com/watch?v=70m1ncXQjXA
No matter what it is, the question is that, why I can't judge it myself whether I want to see it or not?
Internet, like everything, will totally be fucked up with censorship.
Google, abeit Do No Evil themselves, they support the Doing of the Evil.
ยังไม่หมด flash updated, more crewed-up things in this country:
- แจ้งจับนักข่าวบีบีซี-สมาคมนักข่าวต่างประเทศฐานหมิ่น เบื้องสูง หลังจัดสัมมนามีข้อความพาดพิง (มติชนออนไลน์/ประชาไท, 9 เม.ย. 2551) | Police file lese majeste case against BBC man (ThaiVisa, from The Nation, 9 Apr 2008 - now disappear) | Thai police officer files complaint alleging BBC reporter insulted king (IHT/AP, 8 Apr 2008)
- เพลงสรรเสริญขึ้นไม่ยืนในโรงหนัง ตำรวจเตรียมฟ้องหมิ่นฯ (ประชาไท, 8 เม.ย. 2551) | Thai couple faces lèse majesté charges for not standing for royal anthem in cinema (Prachatai, 9 Apr 2008)
One of the worst places in Thailand, the cinema!? They not only censored films, but also censored the citizenry thoughts! You can't see that. See this. Believe this. Love this!
โรงหนัง, สถานที่ไม่พึงประสงค์ที่สุดในประเทศไทย!? เซ็นเซอร์หนังยังไม่พอ นี่ยังจะเซ็นเซอร์หัวคนดูหนังด้วย. แกต้องดูอย่างนี้ แกต้องคิดแบบนี้ แกต้องเชื่อแบบนี้.
Amazing Thailand.
Free Thai Cinema Movement ... จะฟรีแค่ในจอ หรือจะมาถึงนอกจอด้วย ? จะฟรีเพียงวัฒนธรรมหนัง หรือจะมาถึงวัฒนธรรมการดูหนังในโรงหนังด้วย ? เราจะเสรีได้แค่ไหน หากยังเสรีได้เพียงภาพในจอ แต่ยังถูกบังคับให้ต้องดูหนังในโรงหนังด้วยวิธีเดิม ๆ ? (อย่าบอกว่าไม่บังคับ ก็เอาตำรวจมาจับกันแบบนี้ ไม่เรียกบังคับแล้วเรียกว่าอะไร ?)
“เอา” เรื่องนี้ ที่ Duocore, Zickr
technorati tags: censorship, YouTube, Thailand
15 comments:
โิอ้ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สงสัยมานาน ไม่ยืนตอนเพลงสรรเสริญโดนโทษถึงหมิ่นเบื้องสูง สุดท้ายแล้วคนที่เดือนร้อนสุดไม่ใช่นาย กอ ไม่ใช่นาย ขอ แต่เป็นนาย คอ (อิ-งอ)
ส่วนใหญ่ที่เจอวีดีโอที่ขึ้นแบบนี้คือ
มันยังไม่เปิดให้ดูในประเทศของเรา
เพราะว่ามันยังไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของวีดีโอนะ
ถ้าไม่ผิด
anonymous: โดย default แล้วมันดูได้ทุกประเทศนะครับ เวลาอัพโหลดเข้าไป ไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ
อืม...
ฟังแล้วละเหี่ยใจ ทำไงดีว้าา...
อยากมีทางเลือกที่มากกว่าทำใจ
หรือไม่ก็ย้ายไปอยู่ต่างประเทศสิ
นี่เราทำอะไรได้มั่ง???
BLeAm.
ผมคิดว่าเรื่องวันที่เกิดเหตุ มันมีอะไรมากกว่านั้น
มันอาจมีการขยายผล ท้าทาย นำไปสู่การกระทำที่ไม่เหมาะสมอื่น ๆ เรื่องเล็กก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่
เรื่องที่คิดเทียบเคียงกันก็คือ กรณีนักหนังสือพิมพ์เดนมาร์ก ตีพิพม์การ์ตูนล้อเลียนพระศาสดาของศาสนาอิสลาม จนกลายเป็นเรื่องใหญ่ไปทั่วโลกอยู่พักหนึ่ง
คนที่ไม่นับถือ เขาก็ว่าเขาน่าจะมีสิทธิ์
คนที่นับถือ เขาก็คงไม่ชอบใจที่มีคนมาลบหลู่
เกี่ยวกับเสรีภาพ ผมคิดว่าแม้ในระดับโลก ความคิดมันก็ยังไม่ลงตัว ว่าอะไรคือเสรีภาพแท้จริง สัมบูรณ์ และสมบูรณ์
อย่างในไทยเรานี้ พูดและทำได้อย่างที่ทำอยู่นี้ ผมก็คิดว่าพวกเรามีเสรีภาพแล้ว
สมมติว่าเป็นภาพโป๊ของเด็ก
แล้วกฏหมายบางประเทศอนุญาตให้ชม
กฏหมายบางประเทศไม่อนุญาตให้ชม
เราจะพูดได้หรือว่า ประเทศที่ไม่อนุญาตให้ชมนั้นละเมิดสิทธิของเราในการคิดว่าเราจะชมหรือจะไม่ชมอะไร?
ktphong: ถ้าคิดตามหลักสิทธิมนุษยขน ก็น่าจะสะดวกขึ้น
ภาพโป๊เด็กนั้น
- ละเมิดตอนถ่าย เพราะเด็กยังไม่โตพอที่จะปกป้องสิทธิของตนได้
- ละเมิดตอนเผยแพร่ เหมือนกับกรณีภาพส่วนตัว (ภาพคนทั่วไป-และภาพส่วนตัวของบุคคลสาธารณะ) ที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเสียก่อน ในกรณีนี้เด็กยังโตไม่พอ(ตามกฎหมาย)ที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตการเผยแพร่ภาพของตัว
ส่วนเรื่องศาสนา
คนจะเขียนก็มีสิทธิ์ คนจะต่อต้านก็มีสิทธิ์
คนเขียนถ้าจะยืนยันสิทธิ์ในการเผยแพร่ของเขา ก็ต้องพร้อมที่จะยอมรับผิดชอบผลที่ตามมาด้วย
ประเด็นก็คือ เขาไม่ได้ปิดเวที
ส่วนของเรา เขาปิดเวทีไปเลยครับ
ถ้าพูดมาก ก็ถูกฟ้อง จับเข้าคุกหรือเนรเทศไป
ส่วนคำว่า ท้าทาย นั้น
ท้าทายอะไร?
ถ้าท้าทาย status quo ก็เป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจ ที่ผู้ที่พอใจในสถานะความเป็นอยู่ปัจจุบันจะพยายามปิดกั้น เพื่อรักษาความเป็น status quo เอาไว้ครับ
นานาจิตตัง
d0m3z: "นานาจิตตัง"
ใช่ มันเป็นเรื่องของ "นานาจิตตัง" คนเราคิด เราเชื่อ ไม่เหมือนกัน แตกต่าง หลากหลาย
แต่ทำไมสังคมของเรา ถึงไม่อนุญาตให้คิดเชื่อต่างออกไป?
ทำไมพื้นที่ในการคิดเชื่อที่ต่างไปจากที่ผู้มีอำนาจคิดเชื่อ มันถึงถูกปิดกั้นโดยตลอด ?
ทำไมถึงไม่มีพื้นที่ให้กับทุกคน ?
ความเห็นนี้มี 2 ส่วนนะครับคือ
ส่วนความคิดเห็น และส่วนวิจารณ์
---ความคิดเห็น---
ถ้าถามผมว่าเห็นด้วยไหมกับการดำเนินคดี ผมไม่เห็นด้วย แต่ถ้าผมเป็นเจ้าพนักงาน ผมคงอึดอัดพิลึก เรื่องนี้ผมโทษคนฟ้องมากกว่า เขาฟ้องมาแล้ว ไม่ดำเนินการก็ไม่ได้
คือผมก็ยังเห็นว่าเรายังมีหนังสือพิมพ์อย่างประชาไทได้
เรายังมี Blog ของคุณ bact' ได้ เรามีนิตยสารอย่าง ฟ้าเดียวกัน ได้
เรื่องปีดเวทีโดยรัฐ อาจจะเกินจริงไปหรือเปล่า?
จริง ๆ แล้วมัน ปิดเวที โดยหน่วยงานรัฐ โดยคนไม่กี่คน
หรือหน่วยงานรัฐถูกสังคม เรียกร้องให้ปิดเวที
หรือหน่วยงานรัฐ "คิดว่า" สังคมเรียกร้องให้ปิดเวที
เพราะถ้าไม่ปิด เดี๋ยวเสียงจาก "อีกฟากหนึ่ง" ของสังคม เขาก็มาโวยวายกับรัฐผ่านสื่อบ้างผ่านอะไรบ้างอยู่ดี
ดูกรณี โคโยตี้เปลือยอก เมื่อปีที่แล้ว หรือ
กรณี โคโยตี้งานศพ เมื่อกว่าปีที่แล้วก็ได้
หรือจริง ๆ แล้ว สังคมนี้ต่างหาก ที่เป็นคนปิดเวทีนี้ด้วยตัวมันเอง?
ผมไม่แน่ใจ ว่าคุณ bact' รู้สึกอย่างไรกับความคิดเห็นทำนองนี้ของผม ถ้าทำให้หงุดหงิดกับความเห็นของ "ทาสที่ปล่อยไม่ไป" (ดังที่เคยมีคนเสียดสีไว้) อย่างผมนี้ ก็ต้องขออภัยด้วย
ผมเองก็เคยหงุดหงิดกับความคิดของคุณเหมือนกัน แต่หลังจากได้เห็นผลงานและแนวคิดโดยรวมแล้ว ก็ทราบว่าคุณไม่ใช่คนไม่ดี
ผมเป็นแค่เสียงหนึ่งในสังคม ผมไม่รู้เหมือนกันว่าสัดส่วนมันน้อยหรือมันมากขนาดไหน แต่เสียงของผมไม่ใช่เสียงของรัฐ และผมไม่ใช่ตัวแทนของรัฐแน่ ๆ
----
ป.ล. ที่ว่าท้าทายนั้น ไม่ใช่ท้าทายรัฐ หรือท้าทายสถาบัน แต่เป็นการท้าทายต่อสังคม (ส่วนหนึ่ง)
ผมเคยไปเที่ยวเชียงใหม่ เดิน ๆ อยู่ มีเพลงชาติขึ้นมา คนรอบ ๆ ทุกคนยืนตรงกันหมด ถึงผมไม่ได้เห็นด้วยกับการยืนตรงเคารพธงชาติวันละสองครั้ง แต่ก็ต้องเคารพการยืนตรงของคนในที่นั้นด้วยการยืนนิ่ง ๆ ไปด้วย หาไม่แล้วก็กระทำเหมือนดังว่าคนในที่นั้นเป็นตัวตลก หาไม่แล้วก็เหมือนกับการท้าทาย
ท้าทายใคร? ธงชาติหรือ? ธงชาติทำอะไรผมไม่ได้หรอก
แต่เป็นการท้าทายสังคม ซึ่งผมก็ไม่เห็นประโยชน์ว่าจะท้าทายไปทำไม
---วิจารณ์----
เป็นความรู้สึกของผมที่มีต่อความเห็นทำนองนี้ของคุณ bact' (ซึ่งคุณ bact' ย่อมมีสิทธิเต็มที่ในความคิดเห็นของตนเองอยู่แล้ว) แต่ก็ขออนุญาตวิจารณ์เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์
เมื่ออ่านดู ผม "รู้สึก" ว่า "ตัวอักษร" ของคุณ bact' มันเกรี้ยวกราดทิ่มแทงไปที่ สถาบัน บ้าง รัฐ บ้าง (และคงเป็นจุดนี้เองเราทั้งสองคิดตรงข้ามกัน 180 องศา) ซึ่งผมคิดว่าอาจจะไร้ผล
เพราะสถาบันและรัฐเอง ทำอะไรในกรณีเหล่านี้เองไม่ได้ ผมคิดว่าที่มันเป็นอย่างนี้เพราะสังคมนี้ต่างหากที่รองรับความคิดอย่างนี้อยู่
ค่านิยมของสังคมอย่างที่เห็นตอนนี้ เป็นผลผลิตจากรัฐบาลเมื่อ 20 - 40 ปีที่แล้ว และรัฐบาลเหล่านั้นก็ไม่อยู่รับผิดชอบแล้วด้วย ดังนั้นทิ่มแทงไปที่รัฐ ย่อมเป็นการชี้นิ้วไปผิดคน
สังคม (คน) ที่รัฐบาลเหล่านั้นสร้างขึ้นมา (คงมีผมอยู่ด้วยคนหนึ่ง) ต่างหากคือกลุ่มที่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้
และหากต้องการเปลี่ยนแปลง ผมก็คิดว่า การให้การศึกษากับสังคม (ดังที่ อ. นิธิ ได้กระทำอยู่เป็นประจำ) โดยไม่ต้องไปทิ่มแทง (เอาแค่สะกิดก็พอ) รัฐปัจจุบันซึ่งไม่ได้รู้อะไรด้วย หรือสถาบัน ซึ่งไม่ได้มายุ่งกับเราเลย ต่างหาก จึงจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง
ถ้าสังคมเปลี่ยน ทั้งรัฐและสถาบันก็ต้องปรับ จะให้รัฐและสถาบันปรับโดยสังคมไม่ได้เปลี่ยน
ktphong: ในมติชนสุดสัปดาห์ งานเขียนที่ผมชื่นชอบมาก ๆ มีของ อ.นิธิ, ประชา สุวีรานนท์ (ดีไซน์+คัลเจอร์), น.พ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ (การ์ตูนที่รัก) (นอกนั้นก็มีอีกจำนวนหนึ่งที่ชอบ แต่ไม่ได้ตามอ่านจริงจัง)
เนื้อหาสาระของงานเขียนเหล่านั้น ก็เป็นอย่างที่พี่ ktphong เสนอมา นั่นคือการกระตุกต่อมคิดทาง "วัฒนธรรม" เผื่อจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในสังคมบ้าง แบบเนียน ๆ นุ่มนวล
ตัวผมเองอยากทำให้ได้เช่นนั้นเช่นเดียวกันครับ แต่ยอมรับว่า เกรี้ยวกราดเกินพอดีในหลายครั้ง
ซึ่งนี่เป็นเรื่องลีลา ที่ผมอยากจะปรับอยู่เหมือนกัน เพราะไม่อยากให้คนเบือนหน้านี้ก่อนจะได้ฟังผมพูด
โดยความคิดรวบยอด สิ่งที่ผมต่อต้านสูงสุด คือ การครอบงำทางวัฒนธรรม
ซึ่งก็งอกออกมาเป็นประเด็นเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ที่ผมกำลังทำอยู่ รวมไปถึงเรื่องสื่อสารมวลชนและวัฒนธรรมศึกษาที่ผมกำลังสนใจศึกษา (แบบตั้งไข่)
ผมเห็นด้วยอย่างเต็มที่กับ ktphong ว่า การไปทิ่มแทงสถาบันหรือรัฐนั้น อาจไร้ผล
และยิ่งเห็นด้วยอย่างเต็มที่ที่สุด กับที่ว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเริ่มที่คนที่สังคม ต้องมีสังคมเป็นฐานแห่งความเปลี่ยนแปลง
และนี่คือสาระของ การครอบงำทางวัฒนธรรม
ครอบงำเพื่อให้สังคมเป็นฐานของวัฒนธรรมที่คนกลุ่มหนึ่งสร้างขึ้นมา
จะเปลี่ยนแปลงท้าทายการครอบงำวัฒนธรรมนั้น
ก็ต้องเปลี่ยนที่ตัวสังคม ถ้าสังคมรู้เท่าทันก็จะรอดพ้นจากการครอบงำได้เอง (หรือพูดให้เศร้า ก็คือ ก็จะหลุดจากการครอบงำชุดเก่า ไปหาการครอบงำอีกชุดใหม่)
ด้วยความพยายาม ผมหวังว่าสิ่งที่ผมคิดพูดเขียน กับคนรอบข้าง จะทำให้เกิดอะไรอย่างนั้นได้บ้าง
ไม่ต้องเชื่อตามผม เพราะหลายครั้งผมชอบพูดเรื่องที่ผมไม่ได้เชื่อ แต่เพราะชอบถกเถียงกับคนอื่น ๆ ผมจึงสนุกที่ได้เป็นขั้วตรงข้ามของคู่สนทนา คุณชอบเรื่องนี้? งั้นผมจะเกลียดนะ .. คุณเกลียด? งั้นผมจะชอบนะ .. ผมชอบที่จะเป็น 'คนอื่น' ในการสนทนา ก็ทำได้มากบ้างน้อยบ้าง แต่ผมคิดว่านี่คือการสร้างวัฒนธรรมการวิพากษ์
ไม่ต้องเชื่อตามผม เพราะนั่นไม่มีประโยชน์
ถ้าใครเชื่อตามง่าย ๆ ผมก็จะผิดหวัง
เพราะนั่นหมายถึงแค่การหลุดจากการครอบงำชุดหนึ่ง มีสู่การครอบงำอีกชุดหนึ่ง
สาระ หัวใจที่ผมคิดเขียนพูดในที่นี้ เพื่อจะบอกว่า มีคนคิดไม่เหมือนคุณ (หรือถ้าบางทีคุณรู้สึกเป็นคนส่วนน้อยของสังคม ผมก็พร้อมจะบอกว่า เฮ้ย ผมเป็นเพื่อนคุณว่ะ ยังมีคนคิดแบบคุณอยู่)
แต่ "มีคนคิดไม่เหมือนคุณ" เฉย ๆ ไม่ได้ ต้องตามมาด้วยว่า "ทำไม?"
เพื่อได้รู้ว่า มีคนหลากหลาย มีความคิดหลากหลาย และไม่ใช่ว่าคุณคนเดียวที่มีเหตุผล และเหตุผลชุดที่ไม่เหมือนของคุณ ก็นับเป็นเหตุผลได้
ให้ทุกคน ได้ตั้งคำถาม-กับตัวเอง ทุกครั้งก่อนจะตัดสินใครคนอื่น ความคิดแบบอื่น ทุกครั้งก่อนจะเชื่อยึดถือความคิดตัว
ที่เราว่า "ดี" นั้น ดีในสถานการณ์ไหน ดีกับใคร ดีกับเฉพาะตัวเราหรือเปล่า
ในท้ายที่สุด ใครจะคิดเชื่อแบบใด ผมก็ยินดี
แต่อยากให้ทุกคนได้มองตรองและตั้งคำถามอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว
เพื่อให้ทุก ๆ คนเปิดพื้นที่ให้กับคนอื่น ๆ ด้วย ในทุกเรื่อง
ระวังตนจะถูกครอบงำทางวัฒนธรรมโดยคนอื่น
และระวังตนอย่างยิ่งกว่าที่จะไม่ครอบงำวัฒนธรรมคนอื่นเสียเอง
แค่นั้นผมก็พอใจแล้วครับพี่
(ทั้งหมดนี้ เพื่อตอบคำถามว่า ผมไม่หงุดหงิดพี่เลย :P)
ผมว่าอีกอันที่ผมอาจจะพูดถึงผู้มีอำนาจ (ทางกฎหมาย,สังคม,วัฒนธรรม,เศรษฐกิจ ฯลฯ) อะไรบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบัน รัฐ ผู้อำนวยการ ครูใหญ่ หรืออะไรก็ตาม ก็เพื่อให้เห็น ให้เกิดความรุ้สึกว่า เรื่องเหล่านี้ พูดได้ ใคร ๆ เขาก็พูดกัน .. อำนาจของรัฐนั้นมาจากพวกเรา ทำไมเราจะพูดถึงวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ เป็นต้น
ถ้าอะไรพูดถึงไม่ได้ วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับพ้นจากความรับผิดชอบใด ๆ เหมือนศาสนาหนึ่งที่ห้ามเอ่ยนามพระเจ้า ผมว่าจุดประสงค์ก็คงคล้าย ๆ กัน คือเพื่อคงความศักดิ์สิทธิ์ เพราะถ้าต้องให้ถูกรับรู้ว่าผิดได้พลาดได้ ก็จะหมดความศักดิ์สิทธิ์ หมดสถานะความเป็นพระเจ้า (พระเจ้า-หรือผู้ใช้ประโยชน์จากพระเจ้า จึงไม่นิยมให้พระเจ้าทำอะไรเอง แต่ให้คนอื่นทำในนามพระเจ้า .. ทำไม่ดี ก็เป็นเพราะคนมันชั่ว แต่ถ้าดี ก็เป็นเพราะพระเจ้า .. ในแง่นี้พระเจ้าหลุดพ้นจากความรับผิดใด ๆ รับชอบอย่างเดียว ซึ่งก็จะยิ่งตอกย้ำความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าไปอีก)
ขอบคุณจริง ๆ ครับที่อุตส่าห์ตอบ
ซึ่งก็ช่วยให้เข้าใจอะไรได้มากขึ้นเหมือนกัน
วิธี ‘รัก’ ในศตวรรษที่ 21
http://blogazine.prachatai.com/user/hitandrun/post/643
ยืนยันว่า block เฉพาะประเทศไทย
เพราะสามารถดูผ่าน "เครื่องมือพิเศษ" ได้ครับ
Post a Comment