update: คุณ iake แนะนำมา:
TotalValidator สำหรับตรวจสอบความถูกต้องของโครงสร้างหน้าเว็บ
การใช้สีตัวอักษรกับสีพื้นหลังที่ไม่กลมกลืนกันจนเกินไป
การใช้แท็ก HTML ที่ถูกต้องตรงกับจุดประสงค์ของแท็ก
การระบุคำอธิบายเพิ่มเติม เพื่อช่วยโปรแกรมอ่านหน้าจอที่คนตาบอดใช้ (เช่นในแอตทริบิวต์ alt ในแท็ก img)
ฯลฯ
เหล่านี้จะช่วยให้ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต สามารถเข้าถึงได้โดยเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะสภาพทางกายของผู้ใช้จะอย่างไร ... ซึ่งเป็นไปตามหลักสิทธิขั้นพื้นฐาน (และได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ)
“การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะบุคคล ... จะกระทำมิได้”
ลองตรวจสอบดูว่า เว็บของคุณ ของหน่วยงานของคุณ ขององค์กรที่คุณติดต่อ สามารถเข้าถึงได้โดยทุกคนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันหรือไม่
โดยใช้เครื่องมือง่าย ๆ ที่:
http://astec.nectec.or.th/web_check/
(ลองแจ้งผลมาดูกันหน่อย ว่าเป็นอย่างไร แล้วลองบอกผู้ดูแลเว็บนั้นถึงเรื่องนี้)
(หรือใช้ http://www.totalvalidator.com/
คุณ iake แนะนำมา ตัวนี้ตรวจได้หลายหมวด ทั้ง web accessibility, HTML, ตัวสะกด ฯลฯ)
โดยเมื่อคลิกเพื่อตรวจหน้าเว็บแล้ว ระบบจะแจ้งให้โดยละเอียดว่า มีจุดไหนบ้างของหน้าเว็บ ที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดหรืออาจก่อปัญหาในการเข้าถึงได้ พร้อมมีคำแนะนำในการปรับปรุง
รายละเอียดจุดที่ไม่ตรงกับข้อกำหนด
เว็บนี้จัดทำโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ (ASTEC) เนคเทค
ที่ ASTEC ยังมีเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับ web accesibility และ accessibility ทั่วไป ที่น่าสนใจ ให้ศึกษาอีกเป็นจำนวนมาก
เช่น หลักการออกแบบที่เป็นธรรมสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ, การใช้ CSS เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงเว็บได้, Flash ที่ทุกคนเข้าถึงได้
สำหรับตัวข้อกำหนดด้าน web accessibility ระดับสากล ดูได้ที่ Web Content Accessibility Guidelines (WCAG)
เรื่อง accessibility นี้แน่นอนว่าครอบคลุมไปถึง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (และทุก ๆ เรื่อง) ด้วย ดังนั้นในกรณีที่ประชาชนผู้พิการหรือทุพลภาพมีความต้องการจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ รัฐก็ต้องมีหน้าที่จัดหาและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนรายนั้น ได้เข้าถึงข้อมูลได้เท่าเทียมกับผู้มีสภาพทางกายครบถ้วนอย่างเสมอกันเช่นกัน โดยไม่มีข้อยกเว้น
อ่านต่อ
วันทนีย์ พันธชาติ: เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ
อธิบายและให้ภาพกว้างเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับ สถานภาพคนพิการในประเทศไทย, การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ, และเทคโนโลยีสำหรับคนพิการประเภทต่าง ๆ
(ผู้เขียน ปัจจุบันเป็น ผู้อำนวยการ ASTEC)
mk: Accessibility for Disability
ประสบการณ์และความคิดในฐานะผู้ใช้และผู้พัฒนาคนหนึ่ง
ป.ล. เพิ่งเห็นในหน้าทีมงาน ว่าพี่คนนึงในที่เรียนเอกอยู่ที่สถาบัน ทำงานอยู่ที่แล็บ ASTEC ด้วย จุดไต้ตำตอ - -"
เพิ่มเติม (2008.03.06): ปกป้องทำ สไลด์แนะนำเรื่อง web accessibility เอาไว้ (เสนอในงาน BarCamp Bangkok ครั้งแรก)
[ ลิงก์ Web Accessibility Check | ผ่าน poakpong ]
technorati tags: accessibility, web, ASTEC
5 comments:
บรรทัดแรกที่ประกาศ xhtml ก็มีปัญหาแล้ว แต่ validator.w3.org ให้ผ่านนะ.
ลองป้อน http://astec.nectec.or.th/web_check/
ดู แล้วเกิดข้อผิดพลาด
Warning: tidy_parse_file() [function.tidy-parse-file]: Unable to load Tidy configuration file at '/usr/bin/tidy'. in /var/www/html/astec/web_check/checking.php on line 63
Warning: tidy_parse_file() [function.tidy-parse-file]: No route to host in /var/www/html/astec/web_check/checking.php on line 63
Warning: tidy_parse_file() [function.tidy-parse-file]: Cannot Load 'http://astec.nectec.or.th/web_check/' into memory in /var/www/html/astec/web_check/checking.php on line 63
Warning: tidy_get_root() expects parameter 1 to be tidy, boolean given in /var/www/html/astec/web_check/checking.php on line 63
Warning: Invalid argument supplied for foreach() in /var/www/html/astec/web_check/checking.php on line 97
Fatal error: Call to a member function hasChildren() on a non-object in /var/www/html/astec/web_check/checking.php on line 354
t.o.o: ลองใหม่อีกทีนะครับ
ผมเองก็ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
(ตะกี้ลองสองครั้ง ได้หนึ่งครั้ง)
เข้าใจว่าเป็นเพราะมันอาจจะรองรับ request พร้อม ๆ กันไม่ได้ครับ เดา
อ่อครับ คือผมทดลองป้อน http://astec.nectec.or.th/web_check/
ในช่อง กรุณาป้อน URL/URI: หน่ะครับ อยากรู้ว่า service จะตรวจสอบตัวเองได้หรือเปล่า
แหะๆ ขออภัยในความซุกซน :-)
ไม่ว่าจะใช้ Doctype HTML หรือ XHTML astec แสดงข้อผิดพลาดหมด
ไม่ได้เรื่องเลยนะเนี่ย astec
นอกจากเรื่อง Doctype แล้ว ยังไม่รู้จัก Other Namespaces อีก
ลองใช้ตัว WAI Validator ของ http://www.totalvalidator.com ดีกว่าครับ แสดงข้อผิดพลาดได้ตรงกว่า (แต่ยังมีปัญญหากับ Other Namespaces อยู่)
ป.ล. Blog ผมผ่านทั้ง XHTML 1.0 Strict และ WAI-AAA
Post a Comment