ศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้
Intellectual Deep South Watch (IDSW)
เนื่องจากปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลเป็นอย่างมาก เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีความซับซ้อน และซ้อนทับของโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจทั้งในระดับและมิติต่างๆ กันจนยากแก่การคลายปัญหาด้วยหนทางหนึ่งหนทางใดได้โดยเด็ดขาด ฉะนั้น จะต้องมีข้อมูลและการใช้เหตุผลอย่างถูกต้องเหมาะสมก่อนเป็นอันดับต้น
ศูนย์เฝ้าระวังนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการการเรียนรู้เหตุการณ์ภาคใต้ โดยใช้ข้อมูลและการคิดค้นหาเหตุผล ภายใต้เป้าหมายสำคัญคือ เพื่อทำให้เรื่องเหตุการณ์ในภาคใต้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะในการเรียนรู้ทาง สังคม ทั้งนี้เพื่อให้สื่อมวลชน นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป ได้ช่วยกันเฝ้ามองและเข้าใจปัญหาในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในสังคม
ทั้งนี้ข่ายความร่วมมือของศูนย์เฝ้าระวังฯ จะร่วมกันพัฒนาระบบข้อมูลเฝ้าระวังสถานการณ์ ทั้งด้านโครงสร้างของความรุนแรง การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความรู้สึกของสังคมและชุมชนต่อเหตุการณ์ รวมทั้งพัฒนาตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ทั้งทางด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง สถานการณ์ในชุมชน กลุ่มคนในสังคมในแง่ต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศในเหตุการณ์ภาคใต้อันจะกลายเป็นศูนย์ข้อมูลและความรู้สารสนเทศ (Resources center) สำหรับวงการสื่อมวลชนและวงการวิชาการ เพื่อการศึกษาค้นคว้าและการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือต่อไปด้วย
เว็บเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ภาคใต้:
- สถาบันข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (โครงการสื่อสันติภาพ โต๊ะข่าวภาคใต้)
- นสพ.ชาวใต้
- วิกิพีเดีย: ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
- Wikipedia: South Thailand insurgency
- หนังสือ: ที่เกิดเหตุ: บันทึก 1 ปี ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย วรพจน์ พันธุ์พงศ์
[ ลิงก์ IDSW | ผ่าน สหายสิกขา พลวัต ]
updated 2007.06.17: ประชาไทแนะนำหนังสือจาก โครงการ ‘เรียนรู้และเข้าใจชายแดนใต้’ ของ ศูนย์เฝ้าระวังฯ Deep South Watch - Deepsouth Bookazine Vol.1 - สงครามกลางเมือง และเรื่องอื่นๆ
No comments:
Post a Comment