อ.เดฟ เขียนถึงวิชา Introduction to Computers ที่ Berkeley ดูรายชื่อหัวข้อในนั้นแล้ว (บางส่วน) น่าสนใจมาก
- We are the media; They are the media - พวกเราคือสื่อ; พวกเขาคือสื่อ
- Pervasive media and postmodern world - สื่อที่แพร่หลายและโลกหลังสมัยใหม่
- Computer and culture - คอมพิวเตอร์และวัฒนธรรม
- Living the online life - ใช้ชีวิตออนไลน์
- Holding on to reality - จับความเป็นจริงเอาไว้ (มีหนังสือชื่อเดียวกันนี้ โดย Albert Borgmann)
- Phenomenology and virtual reality - ปรากฏการณ์วิทยาและความจริงเสมือน
- Time, money, and love in the age of technology and internet - เวลา เงิน และความรัก ในยุคสมัยของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต
- Existential crisis of the Internet; Dangers and opportunity - วิกฤตกาลที่มีอยู่จริงของอินเทอร์เน็ต; อันตราย และ โอกาส
- Principles of usability - หลักการของการใช้งาน
- Computers and the meaning of life - คอมพิวเตอร์และความหมายแห่งชีวิต
- Re-engineering education via Socratic cultureware - การปรับโครงสร้างการศึกษาใหม่ ผ่านวัฒนธรรมภัณฑ์แบบโซคราติส
- Time, technology, and disappearing students - เวลา เทคโนโลยี และนักเรียนที่หายไป
- Social construction of knowledge - การก่อสร้างเชิงสังคมของความรู้
- Plato's cave & Nature of data, information, knowledge and wisdom - ถ้ำของพลาโต และ ธรรมชาติของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และ สติปัญญา
- Collaborative intelligence - ความฉลาดแบบร่วมมือ
- Open source production in non-software environment - การผลิตแบบโอเพนซอร์สในสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์
- Disruptive technologies and open source development - เทคโนโลยีที่กระจัดกระจายและการพัฒนาแบบโอเพนซอร์ส
อีกวิชาที่ผมอยากเห็นก็คือ วิชาที่เปิดโล่ง ไม่ได้กำหนดเนื้อหาอะไรไว้ล่วงหน้าเลย
แต่จะเป็นลักษณะ เอาข่าวในรอบสัปดาห์นั้น มาคุยกัน แล้วก็มองว่า มันมีแง่มุมไหนเกี่ยวกับไอทีบ้าง หรือไอทีจะเข้าไปช่วยอะไรได้บ้าง
[ผ่าน rawitat]
technorati tags: curricula
8 comments:
แหม post นี้ เหมือนล่อตาล่อใจให้มา comment เสียจริง ๆ อิอิ
วิชาพวก social informatics นี้ เป็นวิชา Interdisciplinary ของแท้ ที่ต้องอาศัยองค์ความรู้จากหลายด้าน ถ้าโรงเรียนไหนที่มี Information School ก็จะพอมีวิชาพวกนี้เป็นหลักเป็นแหล่ง แต่ถ้าโรงเรียนไหนไม่มี ก็จะกระจายออกไปตาม sociology, philosophy, psychology, communication เสียมาก แล้วแนนอน
แต่สำหรับวิชาที่เปิดโล่งเนี่ย เคยคิดไว้นานแล้วเหมือน แต่คิดได้ว่า วิชาแบบนี้คงต้องต่อสู้กับ กระบวนการอนุมัติสุดหินอย่างแน่นอน
"อีกวิชาที่ผมอยากเห็นก็คือ วิชาที่เปิดโล่ง ไม่ได้กำหนดเนื้อหาอะไรไว้ล่วงหน้าเลย
แต่จะเป็นลักษณะ เอาข่าวในรอบสัปดาห์นั้น มาคุยกัน แล้วก็มองว่า มันมีแง่มุมไหนเกี่ยวกับไอทีบ้าง หรือไอทีจะเข้าไปช่วยอะไรได้บ้าง"
ลองทำดูบ้างแล้วนะครับ โดยการพยายามแทรกๆ ลงไปในวิชาทุกวิชาที่สอน เอาเรื่องปัจจุบันมาพูดกัน เอาข่าวมาว่ากัน และดูว่า "วิชานั้นๆ" หรือว่าเรื่องอื่นๆ ตามที่จะลากมาเกี่ยวได้ จะเข้าไปช่วยหรือว่ามีมุมมองอะไรได้บ้าง
แต่ว่าการตอบรับจากเด็กนี่มันค่อนข้างจะ mixed bag มากๆ (ค่อนไปในเชิงลบ) คือ อย่างทีทผมเขียนใน blog ผมบ่อยๆ เรื่องเด็กหลายคนถูกสอนให้เป็นเครื่องถ่ายเอกสารน่ะแหละ
รวิทัต (เดฟ)
อ่าน blog นี้ แล้วต่อด้วยอีกสองคอมเม้นของสองท่านข้างบน...
ดีใจแทนเด็กๆ รุ่นใหม่ที่จะมีวิธีเรียนวิธีสอนสนุกสนาน : )
ถ้าว่ากันถึงระดับมหาวิทยาลัย เข้าใจว่าหลายๆที่กำลังปรับตัวอยู่ค่ะ อาจารย์หลายๆท่านที่คณะฯ ถึงจะสอนมาหลายสิบปีแล้ว แต่ปัจจุบันท่านก็ไม่ได้อยากแค่ปิ้งแผ่นใสสอนแบบเดิมๆ ถึงจะไม่ได้ใช้ presentation อะไรมากมาย ไม่ได้มีสื่อการสอนทันสมัย แต่วิธีการสอนก็เปิดกว้างขึ้น บรรยากาศน่าสนุกขึ้นเยอะ
ที่รู้เพราะว่าวันก่อนไปเจออาจารย์มาท่านหนึ่งค่ะ ได้คุยกันหลายๆเรื่อง ทั้งรำลึกความหลัง แล้วก็ถามไถ่ถึงคณะฯที่ย้ายไปอยู่รังสิตกันหมดแล้ว ( จริงๆพอเรียนจบแล้วก็ห่างไปเลย ถ้าไม่ติดต่อเรือง reccommendation letter ก็คงไม่ได้มีโอกาสนัดเจอ -_-')
อ. ยังได้บ่นให้ฟังอีกว่าเด็กๆสมัยนี้ ไม่เหมือนรุ่นก่อนๆ ทั้งๆที่สิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่า และระบบเอ็นท์แบบใหม่กลับทำให้คณะเราได้เด็กที่อ่อนทั้งความรู้ และทัศนคติเข้ามาเรียน
จริงๆแล้ววิชาทางสังคมศษสตร์ โดยเฉพาะที่เป็นสหวิทยาการ Interdisciplinary ก็สำคัญมากๆ เพราะมันสอนความเป็นมนุษย์
อย่าง Sociology หรือ Anthropology ก็เป็นสาขาหนึ่งที่ทำให้ได้เรียนวิชาแบบเปิดโล่ง นักเรียนมีส่วนกำหนดเนื้อหาไม่น้อยไปกว่าอาจารย์ผู้สอน แต่น่าเสียดายที่พอเรียนกันห้องใหญ่ๆแบบในบ้านเราแล้ว หวังการมีส่วนร่วมของผู้เรียนยากมากๆ ไม่รู้ทำไม
อ้อ แต่ยังมีวิชาของทางวารสารศาสตร์ด้วยค่ะ จำได้ว่าก่อนจบได้เรียนวิชารายงานข่าวชั้นสูง มีคนสนใจลงเรียนไม่กี่คน เพราะได้ยินว่าอาจารย์เขี้ยวมาก เรียนห้องเล็กๆ เป็นวิชาที่ไม่มี xerox สักใบ มีแต่รายการหนังสือแนะนำ ไปอ่านแล้วก็มาคุย คุย คุย แล้วไปเขียนมาส่ง แล้วกผลัดกัน present แล้วคุย คุย คุย กันอีก แบบนี้จนจบเทอม สนุกมาก
ตั้งใจมาขอบคุณที่แวะไปอ่าน blog ค่ะ
ที่จริง... ได้อ่าน blog คุณ bact' นานแล้วแต่ไม่เคย comment ^^'
อยากเห็น School of Information/Informatics อย่างประมาณที่ Indiana, UNC, Berkeley, Edinburgh, หรือ Michigan หรือที่อื่น ๆ
ที่มันเปิดโอกาสให้สหวิทยาการมาก ๆ
ตอนนี้ความรู้ด้านสารสนเทศ มันก็คงเหมือนคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติอื่น ๆ
ที่เป็นเครื่องมือให้กับวิชาอื่น ๆ อีกที
ไม่ได้ถูกจำกัดวงในอยู่แค่วงการคอมพิวเตอร์แล้ว
มันคงต้องมีวิธีที่จะทำให้คนรุ่นหลังจากนี้ สามารถรับรู้ถึงตรงนี้ได้ จะได้ปรับใช้ความรู้สารสนเทศอันนี้กับงานได้ทุกอย่าง
(ไม่ใช่แค่ "เขียนโปรแกรม", "วาดโฟลว์ชาร์ต")
ben'tale: สมัยที่คุณเดฟกับคุณ bact เป็นนักศึกษา, ก็มีผู้ใหญ่ที่เป็นนักศึกษายุค 14 ตุลา ออกมาบ่นว่าทำไมเด็กสมัยนี้ไม่สนใจการเมือง, ไม่เหมือนรุ่นก่อนๆ ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย.
แต่วิธีสอนแบบเครื่องถ่ายเอกสาร ก็ยังผลิตคนแบบ คุณเดฟ กับ คุณ bact ออกมาได้ไม่ใช่เหรอ?
ปล. หวังว่าวิชาที่เปิดโล่งพวกนี้จะเป็นวิชาที่มุ่งพัฒนาความรู้ พัฒนา กระบวนการคิด, ไม่ใช่วิชาที่มุ่งทำเกรด มุ่งวัดผล.
วิชาพวกนี้ไม่ควรจะต้องมีการวัดผลเลยด้วยซ้ำ.
การวัดผลเป็นเพียงแค่การเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ บริษัทเอกชน เท่านั้นเอง.
แหงว
คนอย่างผมมันเป็นไงเหรอ - -"
มันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในขณะนั้นด้วยล่ะมั้ง
ผมว่าคนรุ่น ๆ ผมก็สนใจเรื่องที่ผมสนใจนะ
คนรุ่นที่บอกว่าไม่ได้สนใจ ก็อาจจะเป็นเพราะว่าบ้านเมืองสมัยนั้นมันสงบสุข ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อยใจก็เป็นได้นา
คนอย่าง คุณ bact กะ คุณเดฟ ก็เป็นคนแบบที่พวกคุณ อยากให้เด็กรุ่นหลังเป็นกันไง?
ผมก็เลยบอกว่าก็วิธีการสอน แบบ เครื่องถ่ายเอกสาร มันก็ได้ผลิตคนแบบที่พวกคุณต้องการให้เป็นออกมาแล้ว?
เว้นเสียแต่ว่าพวกคุณไม่ได้ผ่านการเรียน แบบ เครื่องถ่ายเอกสารมา?
ปล. ปัจจุบัน วิชาที่เปิดโล่งและไม่มีการวัดผลก็มีสอนอยู่แล้ว? ที่ ม.เที่ยงคืน?
แต่ว่าถ้ามันมีหลักสูตรที่เปิดโล่งและไม่มีการวัดผลเนี่ย, จะมีคนเรียนกันมากแค่ไหน?
ก็ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเค้าไม่ได้ต้องการ.
^^ อ่าน comment สนุกเลยค่ะ
จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นใสปิ้งจนเกรียม หรือพาวเวอร์พอยต์ที่มีกราฟฟิกการ์ตูนประกอบแบบไม่เกี่ยวกับเรื่องเลย ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนได้ ไม่รู้สึกติดขัดอะไรเลย แล้วก็เข้าใจอาจารย์รุ่นก่อนๆด้วย แค่มันน่าจะสำคัญที่นักศึกษาว่ามองแบบไหน เก็บเกี่ยวความรู้มาได้รึป่าว
เพราะจะว่าไป การเรียนแบบจดเล็กเชอร์ ฟังบรรยาย กับการเรียนแบบเปิดโล่ง ที่ไม่ยึด out line แน่นเกินไป สามารถเปิดและเปลี่ยนตามสภาพสังคม และความสนใจของผู้เรียนได้ ก็เป็นส่วนผสมของการเรียนแบบมีหน่วยกิตอยู่บ้างแล้วค่ะ แต่อาจจะไม่ชัดเจนเท่านั้นเอง
อย่างชื่อวิชาเรียน Introduction to Computers ของ Berkeley นี่มันดูน่าสนุกจริงๆ คน non-tech แถวนี้ยังสนใจเลยค่ะ ; )
Post a Comment