อย่าแม้แต่จะคิดพึ่งพิงช่องทางใดช่องทางหนึ่งเป็นหลัก เตรียมหาทางเลือก ทางสำรองเอาไว้ตลอดเวลา
เมื่อวานและวันนี้ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยยังอยู่ในสภาพพิการ เข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง และช้าอืด
พื้นที่สาธารณะ สื่อพลเมือง เวทีประชาธิปไตย ฯลฯ อะไรก็ตาม
อินเทอร์เน็ตคือโอกาส แต่ไม่ใช่คำตอบเบ็ดเสร็จที่จะโถมตัวเข้ามาหมด
วิทยุชุมชน ทีวีชุมชน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ศาลาประชาคม วัด โรงเรียน เหล่านี้ยังมีความสำคัญเสมอ
นอกจากจะมองมันเป็น “ทางสำรอง” สำหรับคนเมืองผู้มีอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แล้ว
มันยังเป็น “ทางหลัก” ในอีกหลายพื้นที่ ที่แม้แต่คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มีด้วย (เลิกหวังกับ แลปทอปร้อยเหรียญ ได้แล้ว — รัฐบาลกลัวอะไร?)
ส่วนตัวการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของไทยเอง ก็ควรจะทบทวนด้วยไหม ว่าได้เทน้ำหนักการเชื่อมต่อออกต่างประเทศไปกับประเทศใดประเทศหนึ่ง เส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง มากเกินไปไหม มีเส้นทางสำรอง เส้นทางทางเลือก ที่พอเพียงหรือไม่ ?
หากเกิดภัยธรรมชาติสร้างความเสียหายให้กับเส้นทางบางเส้นทาง เส้นทางที่เหลือจะยังรองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้นคับคั่งขึ้นได้หรือไม่ ?
ทั้งที่เพิ่มขึ้นโดยธรรมชาติ จากการที่ต้องแบกรับการจราจรจากเส้นทางอื่นที่เสียไป และที่เพิ่มขึ้นจากความตื่นตระหนกของผู้คน เช่น ตอนที่เกิดสึนามิเมื่อสองปีก่อน การจราจรบนอินเทอร์เน็ตก็พุ่งขึ้นสูงทันที ทุกคนอยากรู้ข่าว
แน่นอนว่า เส้นทางสำรอง เส้นทางทางเลือก เหล่านี้ คือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมา แต่ถ้าคำนึงว่า อินเทอร์เน็ตคือสาธารณูปโภคพื้นฐานของสังคมเรา (ส่วนหนึ่ง เป็นส่วนน้อยของประเทศอยู่ แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ) ไปแล้ว การมีหลักประกันตรงนี้ ก็น่าจะเป็นความมั่นคงของประเทศด้วย
หน่วยงานที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เกี่ยวกับความมั่นคง น่าจะให้ความสนใจตรงนี้ด้วย (คิดว่าเขาคงดูกันอยู่แล้วแหละ)
ใครจะแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ? ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการช่องทางสื่อสาร รัฐ หรือใคร หรือจะแบ่งกันยังไง
และเมื่อช่องทางการสื่อสารทุกช่องทาง โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ มีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนในสังคม
ก็ควรจะมีการจัดสรรทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ไปอย่างเป็นธรรมด้วยไหม ?
คลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ คลื่นโทรศัพท์ หมายเลขโทรศัพท์ เวลารายการโทรทัศน์ เวลารายการวิทยุ วงโคจรดาวเทียม อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
เหล่านี้ ผู้คนในสังคมทั้งหมด ควรจะมีส่วนในการจัดสรรจัดการด้วยไหม ? ในเมื่อสุดท้ายแล้ว ก็คือพวกเขาที่เป็นผู้ได้/เสียผลประโยชน์
คำถามที่อยากถามก็คือ ทุกวันนี้ เรา, ประเทศไทย รัฐที่เขาว่าปกครองด้วยระบอบประชาชนเป็นใหญ่น่ะ, มีช่องการสื่อสารอะไรบ้าง ที่เรียกได้เต็มปากว่าเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
ที่จะเป็นพื้นที่สาธารณะของประชาชนได้จริง ๆ น่ะ
ที่เห็นอยู่ ก็กระจุกอยู่แค่กับ กลุ่มทุนขนาดใหญ่ รัฐ และ กองทัพ — หรือกล่าวรวมก็คือ ผู้ปกครอง ผู้มีอำนาจ ทั้งหลายนั่นเอง
“ประชาชนคือเจ้าของประเทศ” พูดก็อย่างหนึ่ง ทำก็อย่างหนึ่ง ... ก็เห็นกันอยู่อย่างนี้ คิดว่าเขาจริงใจไหมล่ะ ?
หรือจริง ๆ จะจัดสรรทรัพยากรสื่อสารไปก็เท่านั้น เพราะครื้มอกครื้มใจเมื่อไหร่ เขา ๆ ทั้งหลาย ก็จัดสรรรถถังไปยึดทีวียึดโน่นนี่ได้อยู่แล้ว ใครจะทำไม ?
มีดอกไม้แถมให้ด้วย!
technorati tags: Internet, citizen media, media reform, communications
4 comments:
ตอนเค้าหาทางซื้อช่องสัญญาณคงไม่ได้คิดกรณีแบบนี้
เอ๊ะ แต่ไม่เกี่ยวกับตอนท้าย ๆ เลยนี่
ทำไงให้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ ที่มีผลไปถึงกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต?
ด่วนๆ คุณเพื่อน เช็คเมลล์ด้วย hdd มีปัญหาวะ
คุณเพื่อน: เช็คบ่อยไม่ได้ บ้านไม่มีเน็ต โดนตัด คุณน้องไม่ได้ไปจ่ายตังค์ ตอนนี้เล่นอยู่ร้านทรู สยาม เพิ่งไปจ่ายตังค์ค่าเน็ต hdd นี่ คงต้องปล่อยไปตามกรรม (กรรมเยอะ)
jittat: เออ ผมเขียนประเด็นตีกันไปหมดเลยเนอะ
สองเรื่องหลัก ๆ คงเป็น
1) น่าจะกระจายความเสี่ยงเรื่องช่องทางการสื่อสารมากกว่านี้
1.1) ทั้งเรื่องของ การเชื่อมต่อ ระดับล่าง เช่นให้มีทั้งเคเบิลใยแก้ว ดาวเทียม ไมโครเวฟ สายบนดิน ใต้น้ำ ญลฯ
1.2) ทั้งเรื่องของ พวกเรากันเอง ที่จะไปเลือกใช้สื่อพวก อินเทอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ ฯลฯ ก็ไม่น่าจะไปอิงอะไรอันใดอันหนึ่งให้มากเกินไป ในกรณีที่จะเป็นสื่อสาธารณะ จะสื่อสารกับคนส่วนใหญ่
2) เรื่องการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการสื่อสาร/พื้นที่สำหรับการสื่อสาร
คุณเพื่อน ..มันหายดีแล้วล่ะ สงสัยเป็นเพราะคอมข้าพเจ้าวะ ..แฮะแฮะ .. -_-" ไรวะเนี่ย เออ แล้วก็จะบอกว่าไรวะ เออ เห็นด้วยวะ อินเตอร์เน็ตเมืองไทยช่วงนี้ช้ามาก กว่าจะเข้าได้แต่ละเว็บ -_-" เหนื่อยเลย
Post a Comment