จาก “นักข่าว” ในฐานะชนเผ่าหนึ่ง
(3)
วงหารือยาวนานพอสมควร ท้ายสุดหยุ่นสรุปว่า เราเห็นตรงกันในที่จะตรวจสอบอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาหลักแห่งวิชาชีพเอาไว้ ฉะนั้น ขอให้ประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ และนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ลาออกจากสมาชิกสภานิติฯ ให้เฉพาะนายกสมาคมนักข่าว แต่ก็ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกฯ ด้วย
มติสุดท้ายนี้ ชอบธรรมกับที่ตัวแทนสมาคมชี้แจงเริ่มแรกว่า คิดว่า คปค. เสนอให้เพียงหนึ่งเก้าอี้ แต่เสนอไปสามเพืิ่อเผิื่อเป็นตัวเลือก แต่เขากลับประกาศชื่อทุกคน ไม่ได้คิดอยากจะเป็นกันทั้งสามคนหรอก
แต่พอสิ้นเสียงหยุ่น นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์สะดุ้งหน้าถอดสีอย่างเห็นได้ชัด รีบเสนอว่า ขอให้สามคนลาออกจากนายก/ประธานองค์กรให้หมด เพื่อรักษาระยะห่าง พวกเราจะได้ทำงานได้อย่างเต็มที่
แต่ป้าหยัด, บัญญัติ ทัศนียะเวช ประธานสภาการหนังสือพิมพ์ โพล่งว่า “ชั้นจะออก ชั้นไม่ได้อยากเป็นเลย ให้เธอสองคนเข้าไปทำงานเถอะ”
วงเริ่มแตก นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ให้เหตุผลคัดค้านป้าว่า ถ้าป้าหยัดถอนตัวแล้วเราสองคนจะตอบคำถามสังคมอย่างไร กลายเป็นว่าสังคมอีกสองคนจรรยาบรรณต่ำ ต้องการตำแหน่งจนยอมลาออกจากนายกสมาคม
ส่วนนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพ์ก็ค้่านขอเสนอจากหยุ่นว่า
“หากทั้งสองท่านถอนตัวออกไป ผมก็เป็นหมานะสิ แล้วผมจะอยู่ได้อย่างไร ผมเป็นคนแรกที่เสนอให้ลาออกจากสมาคม แล้วไปเป็นที่ปรึกษาสมาคมก็ได้”
อย่างไรก็ตาม ป้าหยัดยังยืนยัน
จนคุณดำฤทธิ์ต้องเกลี่ยกล่อมอีกแรง เพราะเห็นว่าหากป้าหยัดถอนตัววงการสื่อมวลชนแตกแน่ มีคนรักป้าหยัดเยอะ ขณะที่ตัวแทนจาก สมาคมนักข่าวนักนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาค ซึ่งมาด้วยแหกคิวว่า นักข่าวลงชื่อค้านแค่ 50 ชื่อ ไม่เห็นต้องกลัวอะไร เดี๋ยวพร้อมจะขนมาทั่วประเทศเป็นพัน ๆ คนเลย
จนหยุ่นต้องส่ายหัว รีบตัดบทว่า “อย่าเอาวิธีแบบทักษิณมาใช้ เรากำลังหาทางออกร่วมกัน ไม่ใช่ต่อสู้ด้วยปริมาณ”
พร้่อมย้ำว่า ทุกคนเข้าใจตรงว่าเราจะต้องรักษา “ระยะห่าง” เมื่อลาออกจากนายก/ประธานทั้งสามองค์กร ก็ถือว่าไปในนามส่วนตัว นับจากนี้ยังต้องเผชิญเรื่องอีกมาก”
“การเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 24 ตุลาคมนี้คือด่านแรก หากทั้งสามคนยังเป็นตัวแทนของสื่อมวลชน คงจะต้องตอบคำถามว่า ทำไมต้องเลือกคุณมีชัย หรือทำไมต้องเลือกคุณประสงค์ และนี่หละ… จะบอกทันทีว่าจุดยืนของสื่อมวลชนอยู่ตรงไหน”
ทั้งสามนายก/ประธานสมาคมฯ เห็นด้วยที่รักษาระยะห่างกับการเมือง โดยจะนำเรื่องนี้หารือกับองค์กรของตนเอง พร้อมแสดงสปิริตลาออกในที่ประชุม
หลังจบสิ้นเจรจาความ นักข่าวภาคสนามซึ่งเป็นรุ่นลูกรุ่นหลานของป้าหยัด ได้เข้าไปยกมือไหว้ขอโทษที่ทำให้ป้าไม่สบายใจ ป้าหยัดซึ่งเป็นผู้ที่ทุกคนเคารพรักไม่ถือสา พร้อมกับชื่นชมว่าทำถูกต้องแล้ว นักข่าวรุ่นใหม่ต้องทำอย่างนี้ คอยบอกคอยเตือนให้รุ่นใหญ่ระมัดระวัง
ใครคนไหนหนอ ใจร้ายลากป้ามาเป็นเกราะกำบัง
- สังคมนักข่าวก็มี “รากหญ้า” ช่วยค้ำจุนยอดชูสูง
- ความเฉไฉของผู้ใหญ่!!!
- หลักการย่อมมาก่อน
- วิกฤตการณ์วงการสื่อ เบื้องหน้าเบื้องหลังที่สังคมควรรู้ — ใหม่!: 30 ต.ค. 2549
tags: Thai | press | media | journalism
3 comments:
ผมก็ตามอ่านอยู่เหมือนกัน
บอกตรงๆว่า อ่านแล้ว เหนื่อยใจ
วันก่อนอ่านนสพ.หรือมติชนสุดมั้ง
มีอาจารย์คนนึงแนะนำว่า
อย่าไปตามอ่านข่าวการเมืองทุกวันเลย
เหนื่อยเปล่า ๆ เพราะมันเปลี่ยนรายวัน ตามติดไปก็เท่านั้น
สู้อ่านเป็นรายสัปดาห์ดีกว่า ทีเดียว
เออ น่าคิด :P
แต่ตามอ่านแล้ว เหนื่อยกาย นี่พอทน
ถ้าอ่านแล้ว เหนื่อยใจ นี่ ... ก็เหนื่อยใจไง
.. ก็ทนต่อไป
เราคนไทยเป็นแชมป์อดทน
Post a Comment