Update on Thai Publications in ISI Databases (1999-2005) โดย Jisnuson Svastia และ Ruchareka Asavisanu
สำรวจผลงานจากประเทศไทย ระหว่าง ค.ศ. 1999-2005 ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI Web of Science ซึ่งประกอบด้วยดัชนีสาขาวิทยาศาสตร์ (วารสาร 5,900 ฉบับ ครอบคลุม 150 สาขา) สังคมศาสตร์ (1,725 ฉบับ 50 สาขา) และ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ (1,144+ ฉบับ)
โดยจากค้นหาที่เว็บไซต์ http://isiknowledge.com/wos
ค.ศ. 1985-1994 งานกว่า 50% มาจากสถาบันเดียว (มหิดล) แสดงถึงความแตกต่างอย่างมากระหว่างมหาลัย
ค.ศ. 1999-2005 ความแตกต่างลดน้อยลง แต่มากกว่า 50% ก็ยังมาจากเพียง 3 สถาบัน (มหิดล จุฬา เชียงใหม่)
ถ้าเทียบกับเพื่อนบ้านแล้ว ค.ศ. 2005 ในด้านปริมาณ สิงคโปร์มากกว่าเราประมาณ 60% ส่วนเรามากกว่ามาเลเซียประมาณ 40% ที่เหลือก็เป็น อินโด ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไน กัมพูชา พม่า/ลาว (เสมอกัน) ไล่กันลงไป
ที่เหลือลองอ่านเต็ม ๆ ดู เป็น PDF ธรรมศาสตร์นี่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ก็ยังดีกว่าเมื่อก่อน :(
หมายเหตุ: ผู้เขียนเตือนว่า ข้อมูลอาจคลาดเคลื่อนเล็กน้อย เนื่องจากการค้นหาชื่อสถาบันอาจไม่ครอบคลุม เช่น ตัวสะกดไม่ตรง (Chiang Mai, Chiengmai) หรือไม่ระบุสถาบันต้นสังกัด (ศิริราช/รามา-มหิดล SIIT-ธรรมศาสตร์ โรงพยาบาล/กรม-กระทรวงสาธารณสุข) นอกจากนี้ยังไม่ได้คิดเรื่อง impact factor และการสำรวจก็ทำจากฐานข้อมูลเดียว (บางคณะมีผลงานตีพิมพ์ในฐานข้อมูลอื่นมากกว่า เช่น PubMed, POPLINE, ... MathSciNet) และการสำรวจนี้ไม่ได้ทำเพื่อจัดอันดับ แต่เป็นเพียงการแนะแนวทางการสำรวจและประเมินผลตนเองสำหรับสถาบันอื่น ๆ
แก้ไข: 2006.09.05 — สาขาที่สำรวจ ครอบคลุม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ด้วย
tags: university | research | publications
6 comments:
ปกติถ้าไม่ publish ลง journal ก็จะไม่มีอยู่ใน ISI
แล้วในสาขาที่ต่างกัน มีวัฒนธรรมที่จะ publish ลงที่ conference กับใน journal แตกต่างกัน เช่นทางสายวิทยาศาสตร์ เขียนเสร็จ ส่ง journal ทันที แล้วก็มี journal ให้เลือกมากกว่าในสาย cs
การใช้ดัชนีพวกนี้ ผมกว่าก็ดีนะเป็น objective ดี อย่างไรก็ตามการจะบอกว่าทำแล้วไม่ได้นำมาเพื่อจัดอันดับมหาวิทยาลัยเนี่ยะ ผมว่าฟังไม่ขึ้น ทำมา มีตัวเลขมา ตัวเลขก็เห็น ๆ อยู่ว่าเป็นการจัดอันดับ จะมี bias มากน้อยหรือเปล่า นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง (แม้จะบอกว่าตัวเลขมันใช้ไม่ได้ แต่ก็มีตัวเลขออกมาแล้ว ตัวเลขก็มีชีวิตของมันนะ ผมว่า ใครเอาไปเทียบก็ได้)
ผมว่าอีกหน่อย มหาลัยอื่น ๆ ก็ต้องพยายามปรับตัว เปลี่ยนวัฒนธรรมกันไปตามมาตรวัด ซึ่งบางทีก็แปลก ๆ เพราะว่าอย่าง cs เราก็รู้ ๆ อันอยู่ว่า _ไม่มีใครอ่าน journal_
ขอขยายอีกนิด คือ คนอ่านคงจะมี แต่แหล่งที่เราติดตามความเคลื่อนไหวมากที่สุด ยังไงก็เป็น conference แล้วไอ้ conference ระดับ top เนี่ยะ บางอันมันก็ไม่ติด ISI เสียด้วย
แล้วการเอา conf. paper มาแก้ใหม่ เพื่อจะส่ง journal เนี่ยะ ก็กินเวลานานนมเหลือเกิน ในทาง cs กระบวนการพิมพ์ในวารสารมันล่อไปเป็นสอง-สามปี
นี่ก็อาจเป็นความยากลำบากที่เพิ่มขึ้นมา เพื่อที่จะเข้ามาตรฐานของ "เขา" นั่นเอง
ดังนั้น ก็ไม่ควรจะเทียบทุเรียนกะขนุน ?
ควรจะเทียบในสาขาเดียวกัน :P
อืม ประมาณนั้น
แต่ถ้าทำอย่างงั้นก็ไม่มีอะไรเอามาวัดขนุนได้ (ไม่ชอบให้ cs เป็นทุเรียนน่ะ)
คือ ตอนนี้เท่าที่เห็นยังไม่มีการจัดระดับ conference เท่าไหร่ ทีนี้ก็เลยอาจทำให้การวัดคุณภาพงานที่พิมพ์กับ conference มันยังไม่ค่อยแน่นอน
จริง ๆ วิธีทำนอง impact factor ก็น่าจะเอามาใช้กับการ reference กันใน conference ได้
ส่วนบทความ on-line เห็นว่า citeseer เคยพยายามทำ index เหมือนกัน
ระยะเวลาในการตีพิมพ์ Journal เดี๋ยวนี้ร่นลงเยอะ เมื่อมีระบบ online เดี๋ยวนี้มีให้อ่านล่วงหน้าไปตั้งสามสี่เดือน
จริง ๆ ต้องเอาจำนวน paper หารด้วยจำนวนอาจารย์นักวิจัย
ถึงจะจัดอันดับได้ ไม่งั้นที่ไหนอาจารย์เยอะ ยังไงก็ได้เปรียบ
จริง ๆ เห็นด้วยมาก ๆ ว่าควรเอา Conference มาจัด เพราะ
เห็นบางคนส่งไปมั่วไปหมด ซึ่งเสียเงินไม่ได้ประโยชน์เลย
ถ้าเป็นครั้งที่สองที่สามนะ
กำลังฮิต
อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
http://th.wikipedia.org/wiki/ThaiU-rankings
Post a Comment