ถ้าการเมืองเป็นเรื่องโต้วาที (ประชด) ... แบบนี้ ภาษา ก็สำคัญน่ะสิ
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์: ครอบครัว ภาษา กับการเมืองไม่ใช่เรื่องที่ไกลกัน
จอร์จ เลคคอฟ (George Lakoff) การเมืองอเมริกัน รีพับลิกัน เดโมแครต ระบบคุณค่า ภาษา และ การกำหนดกรอบความหมาย
ชาวมะกันนั้นมิได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามผลประโยชน์ของตัวเอง แต่การลงคะแนนมีความหมายว่าเขา “เลือกที่จะเป็นใคร” โดยที่เขาเหล่านั้นเลือก “คุณค่า” บางอย่าง
ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่บรรดาชาวมะกันหัวก้าวหน้าจะต้องกล้าพูดและสื่อสารในเรื่องของคุณค่า และคุณธรรม ของพวกเขา มิใช่พูดแต่เรื่องข้อมูลและข้อเท็จจริง
ด้วยวิธีคิดเช่นนี้ การยึดครองสื่อนั้นจึงไม่สำคัญเท่ากับความสามารถใน “การสื่อสารคุณค่า” ซึ่งสำคัญกว่า “การสื่อสารความจริง”
เพราะความจริงจะไม่มีความหมาย ถ้าเราไม่มี “กรอบ” ให้ความจริงนั้น “ถูกแปลค่า” ออกมา
ตะกี้เจอโดยบังเอิญ:
ที่นิด้า มีอาจารย์ที่สนใจเรื่อง ภาษาศาสตร์/การเมือง ด้วย — Dr. Savitri Gadavanij Sangma — ตัวอย่างงานตีพิมพ์:
- Damming with Faint Praise: Case of No- Confidence Debates in Thailand. in Nelson, Michael (ed.). KPI Yearbook 2002/2003. Bangkok: King Prajadhipok Institute. (สถาบันพระปกเกล้า)
- Sociocognitive Aspect of News Discourse: The preliminary Analysis of the Macrostructure of Thai News Articles.
tags: discourse linguistics politics
5 comments:
บทความดี อ่านสนุก
สะกิดใจด้วย
แน่นอนครับ... ทุกวันนี้เราเข้าใจการเมืองผ่านอะไร ถ้าไม่ได้ผ่าน "ภาษา"
ผมเชื่อว่าหลายคนไม่เข้าใจสิ่งที่ธีรยุทธ บุญมี กำลังนำเสนอ ที่ว่า "ภาษาคือการต่อสู้ของคนรองบ่อน" เพราะคนรองบ่อนไม่มีอาวุธ ไม่มีกองกำลัง ไม่มีกฎหมาย การใช้ภาษาเป็นสิ่งเดียวที่พวกเขามี
ไม่แปลกหรอก หากย้อนไปในอดีตสัก 30 ปีที่แล้ว แกนนำนักศึกษาหัวก้าวหน้า (เอียงซ้าย/สังคมนิยม?) หาได้อยู่ในคณะรัฐศาสตร์ แต่กลับเป็น "ชมรมวรรณศิลป์" ของแต่ละมหาลัย
คนที่เข้าใจการเมืองแบบนี้ได้ดีที่สุดก็คือ "ทักษิณ ชินวัตร" นั่นเอง
ไม่แปลกอะไรที่เขาจะเป็นนายกฯ ที่พูดมากและปากพร่อยที่สุด ทั้งที่ในฐานะตำแหน่งเช่นเขา มีอาวุธพรั่งพร้อมทุกอย่าง
แต่เมื่อรู้ว่าการใช้อาวุธในแบบ "ทางการ" ไม่ชอบธรรม เช่น ไม่พอใจธีรยุทธหรือฝ่ายตรงข้ามที่วิจารณ์ แต่ก็ไม่กล้าสั่งให้ตำรวจไปจับ เพราะฝ่ายตรงข้ามมีความชอบธรรมเหนือกว่า
ทักษิณจึงพลิกกลับมายืมอาวุธทางภาษาใช้ตอบโต้ในทันควัน
งานแนวนี้เข้าใจว่ามีฐานรากมาจาก "จ๊ากส์ ลากอง" ซึ่งเสนอว่า "ตัวตน" ของมนุษย์สร้างมาจากภาษา
เผอิญว่าภาษาอังกฤษผมไม่แข็งแรงนัก เลยไม่ค่อยกล้าอ่านงานของเขาเท่าไหร่ จึงขออ้างทั้งที่ยังไม่ได้อ่า่น อิอิ
ประวัติที่วิกิ... http://en.wikipedia.org/wiki/Jacques_Lacan
จริงๆ แล้วโดยทั่วๆไปแล้ว พวกโครงสร้างนิยมและหลังโครงสร้างนิยมจะเห็นว่า "ตัวตน" มนุษย์นั้นสร้างจากภาษาอยู่แล้วครับ ไม่ใช่เฉพาะ ลากอง
จุดเด่นของลากองอยู่ตรงที่เขาเน้นย้ำถึงตัวตนที่ภาษาเข้าถึงไม่ได้ต่างหากครับ ภาษาลากองเนี่ยนเรียกตรงนั้นว่า Barred Subject ($)นอกจากนี้แล้วการสอนของเขาในช่วงแรกๆ นั้นยังเน้นย้ำถึงความแตกต่างระหว่าง Ego ในทางจิตวิเคราะห์ กับ Cogito ในทางปรัชญาอีก ซึ่งเป็น Contribution ให้กับวงการความคิดที่สำคัญเช่นกัน
ขอบคุณทุกคนครับ เดี๋ยวไปตามอ่านต่อ
แล้วจะกลับมาแลก :)
Post a Comment