ตอนเรียนประวัติศาสตร์สมัยเด็ก ๆ (ประถม-มัธยม) นี่ เราเรียนอะไรกันมั่ง มีใครพอจำได้มั๊ย
ถ้าประวัติศาสตร์ตะวันตก ก็คงมีพวกอารายธรรมเก่าแก่ทั้งหลาย พวกลุ่มแม่น้ำไนล์, ไทกรีซ-ยูเฟตรีส (สะกดถูกป่ะ ??) มาถึงกรีก โรมัน ... น่าจะหมดแล้ว เราเรียนกันแค่โรมันเดียวด้วยล่ะมั้ง คือพอย้ายเมืองหลวงไปที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลปุ๊บ ก็เหมือนเราจะหยุด ๆ ไปแล้วล่ะ (ส่วนไอ้ อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ซึ่งอยู่บริเวณประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน) นั้น เพิ่งจะได้มารู้จักเมื่อไม่นานมานี้เอง) แล้วเราก็ข้ามมาที่ยุคเรอเนซองค์ ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมเลย ทำไมทำมา สิ่งเดียวที่จำได้จากตอนมัธยมในเรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรมก็คือ "เพราะมีคนคิดเครื่องจักรไอน้ำได้" (ส่วนเรื่องสภาพสังคม เศรษฐกิจ การปกครองในสมัยนั้น อะไรถึงทำให้เกิด หรือเกิดแล้วมีผลอะไรตามมามั่ง เหมือนจะไม่มีสอน ..หรือครูเค้าอาจจะสอน แต่มันคงไม่เข้าหัวโง่ ๆ ของเราเอง)
ส่วนประวัติศาสตร์ตะวันออก ถ้าไม่นับพม่าที่ทะเลาะกับเราอยู่เรื่อย หรืออย่างลาว กัมพูชา มาเลเซีย ไรงี้ ที่เราเสียดินแดนไปในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ไกลสุดที่พอนึกออกก็คงเป็นญี่ปุ่น ในฐานะประเทศต้นกำเนิดโกโบริ และระเบิดปรมาณูสองดอกที่พี่กันเอาไปบึ้มบึ้ม จำได้แค่นั้นล่ะมั้ง (โรคมินามาตะ กะ อิไตอิไต อันไหนเป็นอันไหนยังงง ๆ อยู่ .. แล้วมันเกี่ยวไรก็ปรมาณูวะ เอ้อ นั่นดิ .. เหมือนจะไม่เกี่ยวนะ) อ๋อ มีจีน ที่จำได้ว่า สมัยพระนารายณ์เรามีส่งบรรณาการไปให้ แล้วประมาณว่าจีนนึกว่าเราเป็น "เมืองที่สวามิภักดิ์" หรืออะไรเทือกนั้นของเค้า นอกนั้นก็นึกอะไรไม่ออกเกี่ยวกะเอเชียละ ... ทวีปที่ประเทศไทยแปะอยู่เชียวนะเนี่ย (ไต้หวัน เป็นอะไรกับจีน ยังไม่รู้เลย อ๋อ รู้ว่าฮ่องกงนี่อังกฤษเช่าจากจีน แล้วจีนก็มีสงครามฝิ่น เคยดูหนังจีนตอนเด็ก ๆ มีโรงฝิ่นด้วย คงประมาณนั้นแหละ)
ส่วนประวัติศาสตร์ไทย เท่าที่จำได้ เค้าสอนถึงแค่สมัย ร.5 เลิกทาส แล้วก็ ร.6 นิด ๆ แล้วก็เหมือนจะจบละ ประวัติศาสตร์ไทยจบแค่นั้น ที่เน้น ๆ ก็คงมีสมัยเสียกรุงสองครั้ง สมัยพ่อขุนราม สมัยพระนารายณ์ สมัยพระเจ้าตาก แล้วก็ ร.5 ทำนองนี้ มีพูดถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัย ร.7 นิดหน่อย อ๋อ มีชื่อคณะราษฎร์ด้วย แต่ไม่รู้ว่าเค้าเป็นใครมาจากไหนหรอกนะ รู้แค่ว่า "เป็นนักเรียนนอก"
ส่วนชื่ออย่าง ผิน เผ่า สฤษดิ์ หรือ 3 หน่อ ถนอม ประภาส ณรงค์ ผมนึกไม่ออกว่าเคยได้ยินในห้องเรียนรึเปล่า (กรุณาอย่าฝันถึง เลข 14 6 หรือคำว่า พฤษภา เพราะจนป่านนี้มันยังไม่มีในแบบเรียนเลย ไม่ต้องพูดถึงสมัยผมหรอก)
ทำไมทำไปทำมา ประวัติศาสตร์สมัยเด็ก ๆ ที่ผมเรียน มันช่างไกลตัวสิ้นดีล่ะเนี่ย บางเรื่องก็ดันจะเหมือนนิยายซะมากกว่าด้วย (ไอ้พวก อียิปต์ กรีก ทั้งหลายน่ะ หยั่งกะเซนต์เซย่า เทพีเอธีน่างี้ :P) ส่วนไอ้เรื่องใกล้ ๆ บ้านก็ไม่ค่อยได้รู้ไรเท่าไหร่ ส่วนเรื่องในบ้าน ก็รู้เยอะขึ้นมาหน่อย แต่ก็เหมือนกั๊ก ๆ อยู่ดี ๆ ประวัติศาสตร์บางช่วงบางตอน ก็เหมือนหายไปไหนเสียฉิบ
แล้วเรื่อง ๆ ที่ได้เรียน มันก็เหมือน .. เออ ฟังเรื่องเล่าจริง ๆ น่ะแหละ เค้าบอกว่า มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ที่ไหน ใครเป็นคนทำ เมื่อไหร่ แต่นาน ๆ จะบอกว่า ทำไม อะไรเป็นแรงจูงใจ สภาพแวดล้อมตอนนั้นมันเป็นยังไง มีสถานการณ์อะไรที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นขึ้นมาบ้าง ถ้าประวัติศาสตร์มันเล่าได้แค่นี้ (ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่) แถมยังเล่าได้สนุกน้อยกว่าหนัง ... ผมดูหนังเหอะ
เค้าว่าคนไทยลืมง่าย แป๊บ ๆ ก็ลืม
เป็นเพราะเราไม่ได้ถูกปลูกฝังไอ้เรื่องการให้ความสำคัญกับอดีตมาตั้งแต่เล็ก ๆ รึเปล่า ?
มันจะสำคัญไปทำไมล่ะ ก็มันไม่น่าสนใจนี่หว่า มันเชื่อมโยงอะไรกับตัวเราไม่ได้เลย ประวัติศาสตร์สารพัดที่เรียน เป็นเรื่องที่ โน่น ห้าสิบปีร้อยปีขึ้นไป เป็นประวัติศาสตร์ของเจ้า ของผู้นำประเทศ หรือของผู้นำปฏิวัติ (ที่ปฏิวัติสำเร็จ) ไม่มีประวัติศาสตร์ของประชาชน ไม่มีประวัติศาสตร์ที่เรารู้สึกได้ว่า เฮ้ย ไอ้นี่มันเป็นปู่ของปู่ของพ่อกูว่ะ เค้าเป็นคนเหมือนเรานะ .. มันไม่มีความรู้สึกร่วม ... เพราะงั้นตอนเรียนประวัติศาสตร์ไทย อารมรณ์มันก็ไม่ได้ต่างกะเรียนประวัติศาสตร์อเมริกาซะเท่าไหร่ (ยกเว้นว่าอเมริกาเค้าเท่กว่า) เหมือน ๆ กันหมด .. อ้อ ต่างกันนิดนึง ตรงที่ทำให้เรามีเหตุผลในการเชียร์บอลซีเกมส์ไทย-พม่าขึ้นมาหน่อย .. รู้สึกรักชาติขึ้นมานิ๊ดนึง (แต่ให้รักมากกว่านั้นคงไม่ไหวล่ะ ก็เราไม่ได้รู้สึกว่าชาตินี้มันเป็นชาติของเราซักเท่าไหร่นี่ ไม่ได้รู้สึกว่าปู่ย่าตายาย พ่อแม่พี่น้อง ลุงป้าน้าอา หรือคนที่เค้ารู้จัก คนที่เค้ารัก บางคนต้องสูญเสียอะไรไปมั่ง กว่าเราจะมีสภาพที่เราเป็นอยู่อย่างนี้ได้)
นอกจากมันจะเชื่อมโยงกับตัวเราไม่ได้แล้ว ที่ร้ายกว่านั้น ตัวมันเองยังเชื่อมโยงกันเองไม่ได้เลย ก็อย่างที่บอกไป ประวัติศาสตร์อย่างที่เราได้เรียนมา ไม่สามารถทำให้เราคิดได้เลย ว่าเหตุการณ์ไหนมันเชื่อมโยงกันได้ยังไง — ไอ้ที่ว่า เรียนรู้อดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน และวางแผนเพื่ออนาคต ก็ดูจะเป็นสิ่งเลื่อนลอย โม้
แบบเรียนอีกห้าสิบปีข้างหน้า1 ลูกหลานของเราจะได้เรียนรึเปล่า เรื่องเลข 14 เลข 6 เรื่องเดือน 5 เรื่อง 3 ทรราช เรื่องราเกซ เรื่องต้มยำกุ้ง (ที่ไม่ใช่โทนี่จา) เรื่องไอเอ็มเอฟ เรื่องสุวรรณภูมิ หรือไอ้เรื่องหุ้น ๆ อะไรซักอย่างนี่เร็ว ๆ นี้ ... หรือเค้าจะหันมามองหน้าเรา "ลุง โม้ไร ไม่เห็นรู้เรื่อง ครูไม่เห็นเคยสอน" (วิชาประวัติศาสตร์ ราคา 0.5 หน่วยกิต ครูที่ไหนเค้าจะอยากสอนเยอะ ๆ สอนไปก็ไม่ได้ใช้เอนทรานซ์นี่)
ก็พวกเราเป็นคนง่าย ๆ รักสงบ ชอบให้อภัย ไม่อยากเก็บอะไรมาคิดให้ติดใจ (เจ็บไม่จำ ?) อโหสิ ๆ กันไป ... แล้วจะไปสนใจเรื่องอดีตทำไม๊ เสียเวลาทำมาหากินเปล่า ๆ
1 Modern Thai History (3rd Edition, 2053). Ministry of Education and National Security. ISBN X-XXXX-XXXXX Printed in Singapore.
(ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 3 พ.ศ. 2596) กระทรวงการศึกษาและความมั่นคงของชาติ ISBN X-XXXX-XXXXX พิมพ์ที่สิงคโปร์)
สงสัย: ทำไมผมเพิ่งเคยได้ยิน ประวัติศาสตร์แบบนี้ ?
13 comments:
ประวัติศาสตร์ที่เป็นของคนธรรมดา ถ้าจะนึกจริง ๆ ก็แทบจะไม่มีเลย... (อ้อ นี่ไง... ชาวบ้านบางระจัน... แต่ภาพที่ออกมาบางทีก็ยังสับสนว่า เขาสู้เพื่อตัวเอง หรือว่าสู้เพื่อพระเจ้าแผ่นดินอยุทธา---ผมเองคิดว่าพวกเขาสู้เพื่อตัวเขาเองนะ)
น่าจะมี Howard Zinn ชาวไทยบ้างนะ (ผู้เขียน A People's History Of The United States อ่านได้ที่ http://historyisaweapon.com/zinnapeopleshistory.html )
แต่คิดดู ทำไมเขาต้องสู้นะ? ถ้าไม่ใช่เพราะว่าเกิดการสู้รบระหว่างสองอาณาจักร (หรือสองพระเจ้าแผ่นดิน นั่นเอง)
ตอนเรียนมหาลัย อุตส่าห์ลงทะเบียนคณะรัฐศาสตร์
วิชาหนึ่ง คิดว่าเขาจะสอบแบบที่ bact' ว่า
ประเภทให้คิดว่า ใครทำอะไร เพราะอะไร
บริบทตอนนั้นเป็นอะไร แรงจูงใจคืออะไร
เริ่มชั่วโมงแรก ก็ได้เรื่องเลย
พ่อกูชื่อ xxx แม่กูชื่อ yyy
....
ทนไม่ไหว ยกมือ ถามอาจารย์ว่า
เขาเถียงกันว่าศิลาจารึกปลอม ตั้งแต่
สมัยผมยังอยู่มัธยมต้น
อาจารย์ยังจะสอนอีกหรือ
คำตอบที่ได้ ประมาณว่า
เรียน basic ไปก่อน
ฮ่วย!
(ผ่านไป สิบกว่าปีแล้ว อยากกลับไปดูอีกทีว่า
ตอนนี้เขาสอนอะไรอยู่)
บ่นได้แสบดีครับ ประวัติศาสตร์เขาเอาไว้รับใช้นโยบายรัฐอะ อย่างเรื่องคนไทยมาจากภูเขาอัลไต ก็เอามาเน้นเพื่อรับใช้นโยบายกลืนชาติ + เรียกร้องดินแดนสมัยจอมพล ป.
หรือจะเป็นเรื่องการเสียดินแดนในสมัยล่าอาณานิคม ก็เอามาใช้เหยียดหยามเพื่อนบ้านอย่างลาว ว่าเคยเป็นเมืองขึ้นของเรา สมควรที่จะกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของเรา คือแทนที่เรื่องการอพยพจากภูเขาอัลไต จะให้ความรู้สึกร่วมเครือญาติกับเขา เหมือนเรียนรู้ว่าบ้านข้างๆ เขาเป็นญาติห่างๆ กะเรา แต่นั่นไม่ใช่นโยบายรัฐสมัยนั้น เลยต้องเสริมเรื่องการเสียดินแดนเข้าไปด้วย
เรื่องพระยาละแวกของเขมรก็เอามาเน้น เพื่อใช้กีดกันเขมร ในช่วงสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่เขมรประกาศตัวไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่ใช่ฝักใฝ่อเมริกาเหมือนไทย (จนยอมให้ใช้อุดรฯ เป็นฐานทัพในสงครามอินโดจีน) เลยเอาประวัติศาสตร์มาสร้างภาพเขมร ว่าเป็นพวกไว้ใจไม่ได้
สรุปว่า การเรียนรู้อดึต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน และวางแผนอนาคตน่ะ เขาทำกันจริงๆ แต่เป็นรัฐบาลทำ แล้วก็เลือกเฉพาะเนื้อหาที่รับใช้นโยบายมาสอนเยาวชนไงล่ะ
เคยอ่านงานวิจัยภายใต้ สกว. เล่มนึง เขาบอกว่า หลักสูตรประวัติศาสตร์ไทยที่ออกมาในสมัยประชาธิปไตยเบ่งบาน (หลัง 14 ตุลา ก่อน 6 ตุลา) เป็นหลักสูตรที่ดูเป็นวิทยาศาสตร์ที่สุด นอกนั้นเหมือนนิยายพงศาวดาร
หรือเพราะคนไทยชอบนิยาย? การเล่าประวัติศาสตร์แบบขาว-ดำเหมือนนิยาย เลยอยู่ในความทรงจำได้ดีที่สุด? อย่างเรื่องเสียกรุงที่เป็นแนวโศกนาฏกรรม ก็ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-พม่า ง่อนแง่นมาตลอด (ดีที่มีนิยาย "ผู้ชนะสิบทิศ" มาเจือจางความตึงเครียดบ้าง)
ปล. เรื่องส่ง "จิ้มก้อง" ไปจีน มันตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงเลยไม่ใช่เหรอ?
ยืนยันนั่งยันได้เลยครับว่าเรื่องพวกนี้เค้าสอนกันในแบบ
เรียนนะครับ เพียงแต่เค้าพูดน้อยมาก เพราะแค่หนังสือเล่ม
ขนาดนั้นก็อ่านกันไม่ไหวแล้ว
เรียน ป. 6 ที่โรงเรียน มาสเตอร์ยังเล่าเรื่อง 6 ตุลาฯ ให้ฟัง
เลย
ตอนเรียน ม. ปลาย อาจารย์สอนไม่เคยเปิดหนังสือสอนซัก
คน มาถึงก็เล่าเรื่องสนุกๆ ให้ัฟัง เรื่องพระแก้วมรกตกับ ร. 5 สมัยที่เราไปขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย พอใกล้
จะหมดชั่วโมง ก็บอกว่าคราวหน้าให้อ่านตรงนี้มา คราวนี้
ใครมีอะไรสงสัยก็ให้ถาม
ตอนสุริโยทัยฉาย ได้ศึกษาประวัติศาสตร์มากพอสมควร เริ่มตั้งแต่รู้ว่า ประวัติศาสตร์ที่ไทยย้ายมากจากเทือกเขา
อะไรนั้น ปัจจุบันนี้ได้รับการยอมรับน้อยที่สุด มีคนบอก
ว่าที่เขียนอย่างนั้นเพราะ ฝรั่งเศสต้องการยัดเยียดเราให้
เป็นเมืองขึ้นขอม ทฤษฎีว่าไทยมาจากไหนปัจจุบันมีอยู่
ตั้ง 5 ทฤษฏี พวกนี้หาอ่านได้ตามหนังสือเรียนระดับ
มหาวิทยาลัยทั้งนั้นนะครับ และหาซื้อได้ทั่วไป
ส่วนประวัติศาสตร์ยุโรปที่ bact นั่งหลับ หรือโดดเรียน
ประจำเหมือนตอนเรียนภาษาเยอรมัน ที่มาเรียนแค่ 2
ครั้ง (ค่าเล่าเรียน 5 พัน--อย่าเสือกไปว่าคนอื่นฟุ่มเฟือย
หล่ะ)(มุขนี้เขียนเพื่อลดความน่าเชื่อถือ--คนที่อ่านสามก๊ก
ตอนขงเบ้งไปประชันปัญญากับกุนซือของซุนกวนเค้าใช้
กันทั้งนั้น) นั้น หาอ่านได้จากหนังสือเรียนของ รามฯ หรือ
สุโขทัย นะครับ วิชาจำพวกมนุษย์กับอารยธรรม จริงๆ
หนังสือเรียน ม. ปลาย ก็มีบอกไว้นะแต่ไม่ละเอียด
จริงๆ ไม่อยากพูด แต่ควรจะต้องพูด การที่เทพ สามารถ
ศึกษาเรื่องราวต่างๆ ที่นำมาโพสได้ แสดงว่าข้อมูลพวกนี้
มาหามาศึกษาได้ไม่ยาก คนอื่นก็ควรจะเอาตามอย่างดิ
เห็นพวกเรียน ม. ปลาย วิชาที่โดดเรียนมากที่สุดคือ
ภาษาไทย สังคม นี่แหละ จะบอกว่ามันไม่สนุกก็ไม่ได้
เพราะไม่มีใครเค้าสั่งบังคับให้อ่านเฉพาะหนังสือเรียนนี่
น่า แหมหนังสือครบรอบ (35) ปีของสยามรัฐรายสัปดาห์ เค้ายังตีพิมพ์เรื่อง 14 ตุลาฯ เป็นหลายร้อยหน้า แจก ส่วนกรณีของ phetra เรียน รัฐศาสตร์ ไม่ใช่เหรอ
ผมคงต้องสวนทางกับกรณีเรื่องประวัติศาสตร์เชิงนวนิยาย
(ผู้ชนะสิบทิศ ยาขอบแต่งหาเงินเรียนน่ะ ไม่
ได้อิงประวัติศาสตร์เท่าไหร่หรอก) หนังสือเรียน ม. ปลาย นั้นคงบรรจุอะไรให้มากไม่ได้ เพราะมันเยอะ กะ
อีกแค่ประเทศไทยมีกี่จังหวัดก็ยังแก้ได้ไม่ทุกปี เหตุเพราะเด็กไทยยังไม่รักการอ่านเท่าที่ควร เค้าคงต้อง
คิดอะไรแบบนี้เผื่อไว้ด้วย คือให้อ่านสนุกไว้ก่อน
ถ้าสนใจประวัติศาสตร์ ก็คงต้องไปอ่านหนังสือเรียนระดับ
มหาวิทยาลัย ดี ๆ หลายเล่มนะครับ
สำหรับผมแล้วหนังสือเรียน ระดับมัธยมนั้นมีไว้เพื่อจุด
ประกายเท่านั้น คนที่สนใจก็ต้องไปศึกษาต่อ การเรียน
ระดับ ม. ปลาย ที่มันไม่สนุก ไม่ดี ก็เพราะว่าพวกสอบ
เทียบ ที่หายไปกว่าครึ่งห้อง ทำให้อาจารย์หมดกำลังใจ
ในการสอน เพราะสอนมันก็ไม่เรียน สมัยเรียน ม. ปลาย
ยังจำได้อาจารย์ไม่เคยเปิดหนังสือสอนซักคน บางทีให้
แสดงละครเรื่อง มงคลชีวิต แบ่งกลุ่มติดต่อกันเป็นเดือน
โต้วาที เรื่องเผด็จการ-ประชาธิปไตย มันน่าสนุกดีจะตาย
แต่เด็กก็ต้องศึกษาค้นคว้าและกล้าที่จะเถียงด้วยนะครับ
สมัยผมเพื่อนๆ ไปนั่งตากฝนประท้วงอาจารย์กันมาแล้ว
(ตัวผมไม่ไป เพราะไม่ชอบการชุมนุมประท้วง ก็ไม่มี
ปัญหาอะไร)
เออ
ผิน เผ่า สฤษดิ์ เพิ่ม ป. ไปอีกคน พวกนี้ไม่ได้ดีไปกว่า
ถนอม ประภาส หรอกนะ
สรุปว่า เรื่องที่ ส. ศิวรักษ์ รู้ เค้าก็ได้มากจากการ
อ่านหนังสือ ซึ่งถ้าเค้าหามาอ่านได้ ทำไมคนอย่างเรา ๆ
ถึงหาอ่านไม่ได้ ใครมามัดมือปิดตาไว้เหรอ
บทความหลายเรื่องในศิลปะฯ ก็มีเอกสารอ้างอิงไว้ หนัง
สืออย่าง "คนของแผ่นดิน" ก็อีกเอกสารอ้างอิง ในเมื่อ
อ่านแต่หนังสือเรียน แล้วมาบ่นหลักสูตรแบบเรียน ก็เอา
เถอะ
งงๆนะที่ พ่อหมาอ้วน
บอกว่า
>> กรณีของ phetra เรียน รัฐศาสตร์ ไม่ใช่เหรอ
หมายความว่า หัวข้อนี้เขาพูดเรื่องประวัติศาตร์กัน
ไม่ได้พูดเรื่องรัฐศาสตร์
หรือหมายความว่า อ้าวคุณเรียนรัฐศาสตร์หรือ?
ถ้าความหมายแรก
ก็งงต่อไปอีกว่า
อ้าว รัฐศาสตร์ เขาพูดถึงอดีต (ซึ่งก็คือประวัติศาสตร์) ในมุมมองทางรัฐศาสตร์ ไม่ได้หรือ
ใช้คำพูดไม่ดี เดี๋ยวงง
แก้จาก
อ้าว รัฐศาสตร์ เขาพูดถึงอดีต (ซึ่งก็คือประวัติศาสตร์) ในมุมมองทางรัฐศาสตร์ ไม่ได้หรือ
เป็น
อ้าว รัฐศาสตร์ เขาพูดถึงอดีตในมุมมองทางรัฐศาสตร์ ไม่ได้เรียกประวัติศาสคร์หรอกหรือ
ในทางรัฐศาสตร์คงไม่สนกระมังครับว่า ศิลาจารึกปลอมหรือ
ไม่ปลอม(ดูถึงลูกถึงคน--ผมสรุปว่าอันที่สอน ๆ กันนั้นมัน
จริงนะ) น่าจะใช้มุมมองว่าเป็นการปกครองแบบหนึ่งนะ ผม
ถึงตั้งคำถามไง
ขอน้อมรับ "การถูกดิสเครดิต" ไว้โดยไม่โต้เถียง (เถียงไม่ออก)
ทำผิดอย่าเผลอครับ หน้าต่างมีหู ประตูมีช่อง ในกล้องมีแอบถ่าย... - -"
เอ้ แต่ผมไม่เคยโดยภาษาไทยหรือสังคมนา
(นี่เอนท์ติดด้วย สามัญ 1 กะ ภาษาอังกฤษ นา จะบอกให้ -- เคมีไม่เอาอ่าว ส่วนฟิสิกส์ก็ล่มปากอ่าว)
ส่วนเรื่องประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ผมก็อ่านนะ
(ถ้าตอนเด็ก ๆ ก็พวกพงศาวดาร พวก 10 มหาราช ประวัติศาสตร์ไทย พวกเขาอัลไตนี่แหละ - - อะไรทำนองนั้น พวกการ์ตูนที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ก็อ่านเหมือนกัน อย่างที่ซีเอ็ดทำ หรือการ์ตูนเกี่ยวกับเรื่องจีน ๆ ของนานมี ส่วนเรื่องอารยธรรมยุโรป น่าจะเริ่มสนใจมาจากเกม Civilization ! :P)
แต่ความสนใจจริงจังเรื่อง "ประวัติศาสตร์ใกล้ตัว" มันเพิ่งมามีตอนอยู่มหาลัยแล้วน่ะ
สนใจเพราะรู้สึกมันสัมผัสได้
เรื่องอื่น ๆ ถ้าผมพูดอะไรผิดไรไป ก็ขอเป็นว่าผมโง่หรือขี้เกียจเองละกันนะครับ
แต่ประเด็นหลักของผมอยู่ที่ ทำไมเราเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของเราเอง เข้ากับตัวเราไม่ค่อยจะได้เลยน่ะ
(หรือประวัติศาสตร์ของคนอื่น อารยธรรมอื่น เข้ากับสภาพสังคม/เทคโนโลยีที่เราเห็นในโลกทุกวันนี้)
(ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งในและนอกแบบเรียน)
อย่างตอนผมอ่าน
"ชาติไทย-เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์"
ของอาจารย์นิธิ
ผมรู้สึกได้เลยว่า เฮ้ย นี่มันโคตรใกล้ตัวเลยอ่ะ แต่ละเรื่องที่เค้าพูด
ทำไมนาน ๆ ผมถึงจะเกิดความรู้สึกแบบนั้นที ?
(-- แต่ใครจะมารู้ล่ะเนอะ ก็ผมเป็นผมอยู่คนเดียวนี่หว่า)
อะไรทำนองนั้นน่ะครับ
อ้า ส่วนถ้าใครสนใจเรื่อง 14 ตุลา
ผมว่าที่ "สารคดี" ฉบับพิเศษ เค้าทำไว้ก็ดีนะ
ตะกี้ไปค้น ๆ ดูในเว็บ ไม่เจอ เจอแต่เล่มนี้
http://www.sarakadee.com/bookstore/modules.php?op=show&sop=detail&bookid=73
เออะ อยากได้
เรื่องประวัติชนชาติไทย สมัยเรียนมัธยมก็จำได้ว่าได้เรียนหลายทฤษฎีอยู่ อย่างที่พ่อหมาอ้วนบอก แต่ผมสรุปเอาว่า ความจริงคือ คนไทยมีการผสมผสานหลายเผ่าพันธุ์ สายอัลไตเป็นเพียงสายหนึ่ง ที่อาจจะมีอิทธิพลต่อรากเหง้าของภาษาและวัฒนธรรมสายหลักเท่านั้น แต่วัฒนธรรมไทยมีการผสมผสานกับขอม มอญ ทางปักษ์ใต้ก็กับมลายู ผู้คนแต่ละถิ่นก็มีประวัติศาสตร์แขนงย่อยมากมาย
คนไทยสายหลักจะอพยพลงมาจริงหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องทางทฤษฎี แต่ความจริงก็คือ มีชนเผ่าไท ใช้ภาษาตระกูลไทกระจัดกระจายไปทั่วจีนตอนใต้ และแต่ละถิ่น ก็มีตำนานการอพยพทำนองเดียวกัน ทั้งในพงศาวดารล้านช้าง หรือตำนานเมืองแถนของไทดำ ตรงนี้ละมัง ที่กลายเป็นร่องรอยให้กับการตั้งทฤษฎีอพยพที่ว่า แต่ผมก็มองว่า ยังไงก็เป็นเพียงประวัติศาสตร์ของคนไทยสายหนึ่ง ยังไงเสีย คนอีสานจำนวนมากก็หน้าตาคล้ายคนเขมร (ไม่นับลาวที่ค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นสายเดียวกับไทย) คนเหนือคล้ายคนพม่า คนใต้คล้ายคนมลายู แน่นอนว่าต้องมีตำนานท้องถิ่นเป็นของตัวเองล่ะน่ะ
จริงๆ แล้ว วิชาสังคมในห้องเรียนโดยมากน่าเบื่อน่ะ ยกเว้นอาจารย์บางท่านที่เอาใจใส่จริงๆ จะสนุกก็ตอนที่ถูก assign ให้ไปอ่านแล้วมาเล่าหน้าชั้นนี่แหละ หรือไม่ ก็เป็นห้องเรียนพิเศษที่คนน้อยๆ บรรยากาศเหมือนล้อมวงฟังครูเล่าเรื่องสนุกๆ ให้ฟัง (ที่จำได้ก็เช่น เรื่องประวัติศาสตร์จีนช่วงปฏิวัติ ที่เจียงไคเช็กถูกเตะตกเกาะไต้หวัน หรือจะเป็นเรื่องกรณีพิพาทฝรั่งเศสที่เอาเรือรบมาปิดอ่าวไทย)
เรื่องจะให้หาอ่านเอง สมัยนั้นผมไม่สนใจอะ คือตอนนั้นเป็นเด็กวิทยาศาสตร์ อ่านสังคมมันไม่สนุกท้าทายเหมือนอ่านพวกคณิต ฟิสิกส์ เพิ่งมาสนใจเอาตอนโตหน่อยแล้ว ตอนได้อ่านพวก ต่วย'ตูน พิเศษ (หลังจากติด ทักษะ มิติที่ 4 รู้รอบตัว update งอมแงมมาก่อน)
อย่างเรื่องปัตตานีนี่ เราเรียนกันมาแบบไหนอ่ะ ?
ใน
ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา โดย ธงชัย วินิจจะกูล
http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/document/tongchai.pdf
มีประวัติศาสตร์แบบที่ผมไม่เคยได้รับรู้มาก่อน
และผมเชื่อว่าน่าจะมีคนจำนวนมาก โดยเฉพาะรุ่นไล่ ๆ กับผม ก็คงไม่เคยได้รับรู้เหมือนกัน
ประวัติศาสตร์นี่ก็เหมือนเครื่องมือล่ะเนอะ
จะตกไปอยู่ในมือใครล่ะ ?
"การไม่พยายามทำความเข้าใจกับลัทธิอาณานิคมให้ดี นอกจากทำให้อดีตถูกบิดเบือนแล้ว ยังทำให้ปัจจุบันถูกบิดเบือนด้วย"
ระบอบอาณานิคม
นิธิ เอียวศรีวงศ์
เซคชั่นกระแสทัศน์ นสพ.มติชนรายวัน
30 มกราคม พ.ศ. 2549
Post a Comment