ย้ายบล็อกไปที่ bact.cc แล้วนะครับ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
หยุด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ฟรี 2GB จาก Dropbox (sync กับ Windows, Linux, Mac, iPhone, Android ฯลฯ ได้)

2006-01-23

Expert. Who ?

หลายครั้งที่เวลามีการพูดคุย หารือ ระดมความคิด หรือวิพากษ์วิจารณ์ อะไรซักอย่างนึง
สิ่งหนึ่งที่เรามักจะได้ยินบ่อย ๆ ก็คือ "ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า..." เพื่อเสริมน้ำหนักให้กับสิ่งที่เสนอขึ้นมา
หรือในทางกลับกัน เราก็คงได้ยินบ่อย ๆ (โดยเฉพาะช่วงนี้) ว่า คน ๆ นั้นไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นเรื่องนี้ → ดังนั้นความคิดเห็น/การวิเคราะห์ของเขา จึงเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อถือ เชื่อถือไม่ได้ ..

เช่น ถ้ามีใครซักคนให้ความเห็นถึงเรื่องเศรษฐกิจ (หรืออะไรก็ตาม) ไม่ว่าจะแง่มุมไหนก็ตาม
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแง่มุมนั้น ก็มีวิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้ความเห็นนั้น ดูด้อยค่า/ไร้สาระ แค่บอกว่า "คนคนนี้ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์"
หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า "ดิสเครดิต" (ทำให้หมดความน่าเชื่อถือ) น่ะแหละ
— โดยไม่ต้องมีคำอธิบายอื่่นเพิ่มเติมเลย แค่บอกว่าความเห็นนี้ไม่ได้มาจากผู้เชี่ยวชาญ เท่านี้ก็เพียงพอแล้วที่จะ 'เบรก' ความคิดเห็นนั้น ๆ
รวดเร็ว ง่าย สะดวก ... และดูเหมือนว่ามันจะได้ผลซะด้วยสิ

ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ = ไม่น่าเชื่อถือ ?

ผู้เชี่ยวชาญ = น่าเชื่อถือ ?

ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ ผู้เชี่ยวชาญ ?

Between 1984 and 1999, for instance, almost 90 percent of mutual-fund managers underperformed the Wilshire 5000 Index, a relatively low bar. The numbers for bond-fund managers are similar: in the most recent five-year period, more than 95 percent of all managed bond funds underperformed the market. After a survey of expert forcasts and analyses in a wide variety of fields, Wharton professor J. Scott Armstrong wrote, “I could find no studies that showed an important advantage for expertise.” ...
from James Surowiecki's The Wisdom of Crowds (p.40-41)

ในช่วง ค.ศ. 1984-1999 กองทุนรวมและกองทุนพันธบัตรต่าง ๆ (ที่บริหารงานโดย .. แม่นแล้ว .. ผู้เชี่ยวชาญ) ในตลาดสหรัฐ โดยส่วนใหญ่แล้ว ดำเนินงานได้ผลต่ำกว่าที่ตลาดทำได้ คิดเทียบกับดัชนี Wilshire 5000 (ตลาดประกอบไปด้วยคนสารพัด เชี่ยวชาญเรื่องกองทุนบ้าง เชี่ยวชาญเรื่องอื่นบ้าง หรือก็ไม่เชี่ยวชาญอะไรเลย ปน ๆ กัน)
และจากการสำรวจการพยากรณ์และวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ กัน เจ. สก็อตต์ อาร์มสตรอง, ศาสตราจารย์ประจำ Wharton, เขียนไว้ว่า ผมไม่พบการศึกษาใดที่แสดงความได้เปรียบที่สำคัญของความเชี่ยวชาญ
(แต่ผู้ที่กล่าว .. ก็เป็น ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ เช่นกัน บอกไว้ก่อน :P)

ไม่ได้บอกว่า ผู้เชี่ยวชาญ/ความเชี่ยวชาญ ไม่สำคัญ
แต่เราให้ความสำคัญกับมันมากเกินไปรึเปล่า ?
(หรือ ถ้าจะต่อความยาว: “แล้วอย่างไหนถึงเรียก เชี่ยวชาญ ?”)

ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ทุกอย่าง ถ้ามันเป็นเชิงสร้างสรรค์/ติเพื่อก่อ ถึงจะไม่ได้มาจากผู้เชี่ยวชาญ แต่อย่างน้อยก็น่าจะหยุดฟังและพิจารณาบ้าง อาจพบแง่มุมที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายลืม/ไม่ทันนึกก็ได้ ต่างคน ต่างพื้นฐาน ต่างอาชีพ ต่างความสนใจ ความคิดเห็นย่อมหลากหลาย .. และนั่นก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี
อย่าไปตีตราความคิดเห็นใดว่า “ไม่ได้มาจากผู้เชี่ยวชาญ” แล้วก็มองข้ามมันไปเลย นั่นคงดูมักง่ายและน่าเสียดายไปหน่อย

.. หลายครั้งเราสนใจกันแต่ว่า ใครเป็นคนพูด โดยลืมที่จะสนใจว่า เขาพูดอะไร ..

และถึงแม้ ความเชี่ยวชาญจะสำคัญมากแค่ไหน เพียงใด แต่ถ้ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับส่วนรวม เรื่องที่มีผลกระทบต่อสังคม ต่อคนทุก ๆ คน เราก็ไม่น่าจะโยนภาระไว้ให้กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพียงกลุ่มใดกลุ่มนึง
แต่น่าจะเป็นเรื่องที่ “ผู้ไม่เชี่ยวชาญ” ทั้งหลาย (แต่ดันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้น และมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง) สามารถ/ควรจะเข้ามามีส่วนร่วม

อย่างถ้าเป็นบริษัท ผู้ถือหุ้นยังมีสิทธิ์จะดูรายงานการดำเนินงานได้ มีสิทธิ์ซักถามคณะกรรมการบริหารในการประชุมประจำปีได้ .. แน่นอน ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญใด ๆ

เอ๊ะ หรือคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้ถือหุ้น ไทยแลนด์อิงค์ หว่า ? ลืมไป :P


ของแถม: คำขวัญวันเด็กปีนี้
“ อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด (แต่ห้ามเถียงผู้เชี่ยวชาญและนายกนะจ๊ะหนู ๆ) ”

3 comments:

Anonymous said...

พูดงี้ได้ไง คุณไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้เชี่ยวชาญนะ... เออ... ผมก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้เชี่ยวชาญด้านผู้เชี่ยวชาญเหมือนกันนี่หว่า

Beamer User said...

ผู้เชี่ยวชาญน่าจะมีไว้ท้วงติงนะครับ เพราะพวกเขาเหล่านั้น
ย่อมต้องรู้ประวัติศาสตร์ ผลกระทบ หรือกระบวนการต่างๆ
ที่มีการนำเสนอไว้นั้นในอดีตเคยเกิดหรือทำแล้วได้ผลเป็น
อย่างไร

การบริหารงานหรืออะไรนั้นก็อีกเรื่อง เพราะถ้าทำตามผู้
เชี่ยวชาญหมดก็ไม่มีการเสี่ยง แตกแถวยาก เพราะ
ผู้เชี่ยวชาญก็พูดหรือเสนอแนะตามสิ่งที่รู้

แต่กรณีนี้ไม่เหมือนพวกถือแก้วเบียร์แล้วอ้างศีลห้านะครับ

Anonymous said...

วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ก็เกิดมาจากฝีมือของ "เทคโนแครต" ระดับชาติทั้งนั้น...