น้ำหนัก ปริมาตร ความยาว ฯลฯ
วัดขนาดที่ดิน เหมือนตอนนี้จะวัดกันเป็น ตารางวา กันซะมากกว่า (ในโฉนดที่ดินก็รู้สึกจะเป็นงี้)
แต่ ถนน ที่วิ่งผ่านหน้าที่ดินนั้น วัดระยะทางเป็น เมตร นะ
สร้างบ้าน ใช้ ไม้ เหล็ก น็อต ก็วัดกันเป็น นิ้ว หุน
บ้านเสร็จปุ๊บ พื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร วัดกันเป็น เมตร
แต่ แอร์ (และตู้เย็น) ที่ติดในบ้าน เหมือนจะใช้ ลูกบาศ์กฟุต
ทีวี ก็วัดความกว้างเป็น นิ้ว
ซื้อผ้า ตัดเสื้อ พวกนี้ ใช้ หลา นิ้ว
แต่วัดส่วนสูงคนนี่ เมืองไทยนิยมวัดเป็น เมตร มากกว่า
ฯลฯ
ถ้าทุกๆ อย่างเปลี่ยนมาใช้ระบบ ชั่ง ตวง วัด มาตรฐานเดียวกันหมด
จะทำให้การแลกเปลี่ยน ค้าขาย สะดวดรวดเร็วขึ้นรึเปล่า?
มันเปรียบเทียบง่ายดีน่ะ
ถึงจะบอกว่า มันแปลงไปแปลงมาได้ง่ายๆ ก็จริง มีสูตร
แต่มันก็เท่ากับมีขั้นตอนที่อาจจะไม่จำเป็นเพิ่มขึ้นมาอีก
อาจจะไม่ได้ทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้นมาก
แต่ก็เป็นจุดที่อาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้
ทั้งแปลงพลาดเอง หรือว่าความละเอียดหายไประหว่างการแปลง
ก็ไม่ต้องแปลงมันซะ ใช้หน่วยเดียวกันไปเลยตั้งแต่แรก น่าจะดีกว่ารึเปล่า?
หรือว่ามันชินแล้ว ไม่จำเป็นหรอก ใช้ปนๆ กันนี่แหละดีแล้ว?
เรื่อง ทีวี วัดเป็นนิ้วนี่โอเคนะ มันไม่เกี่ยวกับชาวบ้านเท่าไหร่
แต่อย่างเรื่องก่อสร้าง เรื่องซื้อขายของ หรืออะไรก็ตามที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องเชื่อมต่อกับส่วนอื่นหลายๆ ส่วน
น่าจะทำให้มันใช้ระบบวัดเดียวกันน่ะ เพื่อความสะดวก/ลดความผิดพลาด
คิดว่ายังไงบ้างครับ?
NIST: International System of Units (SI)
Wikipedia: SI base unit, SI derived unit
6 comments:
ถ้าเปลี่ยนจริง คงต้องเปลี่ยนมาตรฐานทุกอย่างใหม่หมดเลย แป๊ป 4 หุน เนี่ย ก็ต้องแปลงเป็น 0.0127 เมตร ซึ่งจำยากกว่ากันเยอะ และอาจจะมี error ด้วย
คือเปลี่ยนน่ะอาจจะเปลี่ยนได้ แต่ต้องกำหนดมาตรฐานทุกอย่างใหม่หมดเหมือนกัน พร้อมตารางเทียบวัสดุมาตรฐานเก่า-ใหม่ด้วย --> สรุปว่า สุดท้ายก็เป็นการเพิ่มหน่วยใหม่เข้าไปในระบบให้วุ่นวายเพิ่มขึ้นอีกเท่านั้นเอง
(เรื่องวัสดุช่างมันอาจจะฝังลึกกับชีวิตประจำวันไปแล้ว อาจจะไม่ได้เปลี่ยนง่ายเหมือนเรื่องใหม่อย่างคอมพิวเตอร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วอย่างซอฟต์แวร์น่ะครับ ตามความเห็นผม)
เหตุผลแรกที่เทพบอก น่าจะเป็นเรื่องของชาวบ้านร้าน
ตลาดนะ เพราะท่อขนาด 1.27 เซนติเมตร ก็ไม่น่าจะมี
ปัญหาอะไร เพราะใช้ ท่อ 1.2 ท่อ 2.5 เพื่อความสะดวก
ก็ได้ (คิดถึงตอนไปซื้อวาว์ล คนขายบอกนี่เค้าเรียกประตู
น้ำยังขำไม่หายเลย)
เหตุที่เค้าไม่เปลี่ยนก็น่าจะมาจากปัญหาระดับชาติมาก
กว่า อย่างหน่วยอังกฤษเนี่ย ใช้กันในอเมริกากับอังกฤษ
เนี่ย ก็คิดว่า ตูจะไปเปลี่ยนให้ยุ่งยากทำไม ในเมื่อตูใช้
ของเดิมได้
ปัญหาการเปลี่ยนหน่วยก็ไปตกกับวิศวกรไป ไม่ใช่เรื่อง
เล็กๆนะ อย่างวิศวเคมีถึงกับมีวิชาเปลี่ยนหน่วยเลย อย่าง
ตอนเรียนกลศาสตร์ของไหล บทที่สองของหนังสือส่วน
ใหญ่ก็อุทิศให้กับเรื่องการเปลี่ยนหน่วยเลย
จริงๆ แล้วหน่อย SI ไม่น่าจะมีไว้เพื่อให้ทุกคนเปลี่ยนมา
ใช้ แต่มีไว้เพื่อเป็นมาตรฐานอ้างอิงมากกว่า
ส่วนเรื่องเปลี่ยนไม่เปลี่ยนเนี่ย
อย่าว่าแต่หน่วยเลย แค่กระดาษที่เค้าใช้ Letter กับ A4
เนี่ย ทุกวันนี้ก็ยังยุ่งอยู่เลยไม่ใช่เหรอ
คิดถึงจิ๋นซีฮ่องเต้
ท่อ 1.2 cm นี่มันก็มี error ต่อกับท่อ 4 หุนไม่สนิทไงครับ หรือถ้าจะใช้ขนาด 4 หุนเท่าเดิม แต่แค่เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น 1.2 cm มันก็ยังไม่ใช่การเปลี่ยนมาตรฐานจริง เป็นแค่เปลี่ยนชื่อเรียก แล้วคนก็คงนิยมเรียกแบบ 4 หุนที่เป็นหน่วยอ้างอิงมากกว่า
ประเด็นคือ มันเป็นความนิยมประจำถิ่น เป็นมาตรฐานที่ฝังรากลึกไปแล้ว ถ้าจะเปลี่ยนก็ต้องใช้เวลา เสียค่าใช้จ่ายสูง เหมือนจะเปลี่ยนปลั๊กไฟในไทยเป็นปลั๊กสามตา ก็ยังต้องใช้เวลาอีกเป็นสิบปี นอกเสียจากจะมีคณะปฏิวัติทีเก่งกาจ หรือเผด็จการแบบจิ๋นซีฮ่องเต้แบบ Mk ว่า
(/me ทำไมพูดถึงจิ๋นซียุคนี้แล้วนึกถึงอเมริกาหว่า :P)
จิ๋นซีก็ทำไรดีเยอะแยะ ทำไมคนจำได้แต่ภาพทรราชย์ก็ไม่รู้
เรื่องท่อ ผมถึงบอกว่าเป็นเรื่องของชาวบ้านร้านตลาดไง
คนที่เป็นช่างจริงๆ เรื่องเปลี่ยนหน่วยไม่มีปัญหา แต่ที่่เค้า
ไม่เปลี่ยนเพราะมันเป็นเรื่องระดับชาติ เครื่องมือจาก
อังกฤษ ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ถ้าเค้ายืนยันว่าจะใช้
หน่วยไหน มันก็เปลี่ยนเค้าไม่ได้
เรื่องปลั๊กสามรูนั้น ในทางปฏิบัติแล้วขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ชาว
บ้านร้านตลาดไม่จำเป็นต้องต่อลงดินจริง ที่เยอรมันตาม
บ้านส่วนใหญ่ก็ยังไม่ต่อเลย มาตรฐานเป้นแค่กฎ จะบังคับ
ใช้ก็ต้องรอกฎหมายแบบค่อยเป็นค่อยไป จริงๆ แล้วมัน
ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยซักเท่าไหร่
ปัญหาคือผู้ผลิตไม่ยอมผิดเพราะค่าใช้จ่ายที่มันสูงขึ้น ตรง
นี้มาตรฐาน สมอ. มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก เท่าที่เคยไป
ร่วมประชุมกับเค้ามา มันติดปัญหาหลายอย่างเช่น ต้องไป
ตีความเป็นภาษาไทย ซึ่งกินเวลานานมาก ที่ช้าไม่ได้ช้า
ที่ สมอ.
Post a Comment